ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2015, 08:42:41 AM »

ผลิตเครื่องสำอางจากน้ำยางพารา

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.วิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่าหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาลคือ การผลักดัน งานวิจัยและพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้นำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ อันเกิดจากเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทย ด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เน้นการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของพันธุ์ไม้ต่าง ๆ และมุ่งเน้นการนำ วทน. มารวมกับภูมิปัญญา ไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานเทียบเท่าสากล

มีหลายหน่วยงานในกระทรวงวิทยาศาสตร์ อาทิ ศูนย์นาโนเทคโนโลยี (นาโนเทค) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วว.) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) พัฒนางานวิจัยใช้ประโยชน์ในกลุ่มสมุนไพรทั้งผลิตเครื่องสำอาง เวชสำอาง อาหารเสริมและยา ดำเนินการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง



นอกจากนี้ยังรวมถึงการก่อสร้างโรง งานผลิตเครื่องสำอางต้นแบบ โรงงานผลิตสารสกัดสมุนไพร ตามมาตรฐาน GMP เพื่อยกระดับมาตรฐานภาคธุรกิจเพื่อการส่งออก สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยเฉพาะมูลค่าส่งออกเครื่องสำอางไทยคาดว่าจะสูงถึงกว่า 21,200 ล้านบาท คาดว่าจะลดการนำเข้าวัตถุดิบสารสกัดได้ถึง 2,000 ล้านบาท อีกทั้งยังสามารถสร้างงานและรายได้ ให้คนไทยในอนาคต



หนึ่งในโครงการเพิ่มมูลค่าพืชเศรษฐ กิจที่เข้ากับกระแสมากที่สุดคือ โครงการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเซรั่มน้ำยางพาราเพื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางมูลค่าสูงสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นผลงานของTCELS ซึ่งขณะนี้ได้พัฒนาโรงงานต้นแบบในการผลิตสารสกัดตามมาตรฐาน GMP ตลอดจนพัฒนาสารสกัดเป็นสูตรต้นตำรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมูลค่าสูงมากมายหลายชนิด



ในปีที่ผ่านมามีภาคเอกชน รายย่อยและ SMEs สนใจนำสารสกัดไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดแล้วแต่ด้วยกำลังผลิตของโรงงานต้นแบบที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับการผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ TCELS จึงวางแผนจัดทำแผนการขยายผลการผลิตสารสกัดยางพารามูลค่าสูงสู่เชิงพาณิชย์ ลงสู่ท้องถิ่น 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้



ซึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือจากสหกรณ์สวนยางเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 4 แห่ง ขณะนี้ TCELS ได้รับสิทธิบัตรแล้วใน 4 ประเทศคือ ไทย สิงคโปร์ จีน และอินโดนีเซีย
ซึ่งนอกจากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสารสกัดยางพาราแล้ว ยังมีอาหารเสริมทางการแพทย์ และเป็นสารตั้งต้นสำหรับเป็นยารักษาโรคมะเร็งได้อีกด้วย
และในระยะต่อไปทางโครงการฯ จะรับซื้อน้ำยางสดจากชาวสวนในมูลค่าสูงกว่าราคายางในท้องตลาด 10% สำหรับสัดส่วนการใช้น้ำยางสด 200 ลิตร ผลิตสารสกัดได้  1 กิโลกรัม เพื่อให้สามารถรองรับการผลิตส่งให้บริษัท SME 2 บริษัท/ปี ต้องการสารสกัด 140 กิโลกรัม/ปี โดยน้ำยางสด 700 ลิตร/ไร่/ปี จึงต้องใช้น้ำยางสด 28,000 ลิตร/ปี หรือเนื้อที่ต้นยางประมาณ 40 ไร่

ด้วยปัจจัยความต้องการในท้องตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สามารถกระตุ้นให้เกิดบริษัทภายในประเทศได้ไม่ต่ำกว่า 10 บริษัท เพื่อให้เกิดการจำหน่าย ซื้อและขายให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ คาดว่าจะต้อง การสวนยางเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 200 ไร่ขึ้นไป



ทั้งนี้ยังไม่รวมการผลิตเพื่อจำหน่ายในระดับนานาชาติ ซึ่งจะมีความต้องการขยายฐานผลิตมาสู่ระดับอุตสาหกรรมเพื่อให้เพียงพอต่อการรองรับความต้องการ จึงสามารถเกิดโรงงานผลิตสารสกัดได้ 2 ระดับ คือ 1. โรงงาน SME เพื่อรองรับการผลิตให้แก่ 2 บริษัท จำนวน 5 โรง กระจาย อยู่ใกล้สวนยาง สำหรับผลิตเครื่องสำอาง 2. โรงงานที่ได้มาตรฐาน (GMP/PICs) ซึ่งสามารถรองรับการผลิตสารสกัดเพื่อเป็นอาหารเสริมกันมะเร็ง และผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นผล พลอยได้



คาดว่าเมื่อเกิดการหมุนเวียน การผลิตและจำหน่ายแล้ว มีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นให้เกิดการลงทุนให้ครบวงจร ซึ่งโครงการนี้จะดำเนินกิจกรรมเพื่อกระตุ้นตลาดยางพาราตลอดวงจรได้ดีอยู่ไม่น้อย