ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 28, 2015, 12:29:03 PM »ย.ยาง...เปลี่ยนไป
โดย ชมชื่น ชูช่อ 28 เม.ย. 2558 05:01
โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง เป็นความล้มเหลวเชิงนโยบาย เพราะใช้เงินกันอย่างสุรุ่ยสุร่าย ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ไปหาซื้อยางมาเก็บเข้าสต็อก พอเงินหมด ถือว่าหมดโปรโมชั่น พวกพ่อค้ารู้ดี เดี๋ยวก็พากันออกมาทุบราคาลงอีก เพราะกองทุนต่างๆจัดการความเสี่ยงไม่ได้
ดร.มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร กล่าวในการเสวนาเรื่อง การสร้างเสถียรภาพอุตสาหกรรมยางพาราไทยอย่างยั่งยืน จัดโดยภาควิชาเศรษฐ? ศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา...พร้อมกับทำนายอีกว่า ในอนาคตปัญหายางจะมีเกิดขึ้นอีกมากมาย เพราะจีนได้ปลูกยางไปแล้วที่สิบสองปันนา
โดยเฉพาะที่เชียงรุ้ง ปลูกไว้ 6 ล้านกว่าไร่ เปิดกรีดไปแล้ว 4.6ล้านไร่ ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง พม่า ลาว และเวียดนามก็ปลูกยางกันทุกที่ แถมยังมีกลุ่มวิสาหกิจเวียดนาม สมาคมยางพาราเวียดนามที่เข้มแข็ง สามารถออกมาต่อรองราคากับผู้ซื้อยางได้อีกด้วย
อินเดียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ไม่น่าเชื่อ ในอดีตเคยแต่ซื้อยางจากบ้านเรา วันนี้เริ่มเอายางออกมาขายในตลาดแล้วมีหลายประเทศปลูกยางมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันการนำยางธรรมชาติไปใช้กลับน้อยลง
อ.อัจฉรา ปทุมนากุล ให้ข้อมูลสถิติการใช้ยางของโลกไว้อย่างน่าสนใจ...จีนเป็นประเทศที่ใช้ ยางพารามากที่สุด 32% รองลงมาเป็นยุโรป 11% ไทย 4% เท่ามาเลเซีย ส่วนประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติไม่ได้ มักจะใช้ยางสังเคราะห์แทน
ในอนาคตอุตสาหกรรมยางล้อมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มทุกปี และจะเปลี่ยนเป็นยางเรเดียลมากขึ้น...แต่การใช้ยางธรรมชาติจะน้อยลง
เพราะเทคโนโลยีการผลิตยางเรเดียลมีการคิดหาวิธีใช้ยางธรรมชาติให้น้อยลง จากเดิมมีการใช้ยางธรรมชาติ 8-10 กก.ต่อเส้น ปัจจุบันได้ลดลงมาเหลือ 5.8 กก.ต่อเส้น
แม้กระทั่งการประกอบรถยนต์หนึ่งคัน เมื่อปี 2544 จะมีการใช้ยางธรรมชาติ 4.31 กก.ต่อคัน ปี 2555 การใช้ยางธรรมชาติลดลงมาเหลือ 0.22 กก.ต่อคัน เพราะมีการใช้ยางสังเคราะห์มากขึ้น.
ชมชื่น ชูช่อ
โดย ชมชื่น ชูช่อ 28 เม.ย. 2558 05:01
โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง เป็นความล้มเหลวเชิงนโยบาย เพราะใช้เงินกันอย่างสุรุ่ยสุร่าย ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ไปหาซื้อยางมาเก็บเข้าสต็อก พอเงินหมด ถือว่าหมดโปรโมชั่น พวกพ่อค้ารู้ดี เดี๋ยวก็พากันออกมาทุบราคาลงอีก เพราะกองทุนต่างๆจัดการความเสี่ยงไม่ได้
ดร.มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร กล่าวในการเสวนาเรื่อง การสร้างเสถียรภาพอุตสาหกรรมยางพาราไทยอย่างยั่งยืน จัดโดยภาควิชาเศรษฐ? ศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา...พร้อมกับทำนายอีกว่า ในอนาคตปัญหายางจะมีเกิดขึ้นอีกมากมาย เพราะจีนได้ปลูกยางไปแล้วที่สิบสองปันนา
โดยเฉพาะที่เชียงรุ้ง ปลูกไว้ 6 ล้านกว่าไร่ เปิดกรีดไปแล้ว 4.6ล้านไร่ ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง พม่า ลาว และเวียดนามก็ปลูกยางกันทุกที่ แถมยังมีกลุ่มวิสาหกิจเวียดนาม สมาคมยางพาราเวียดนามที่เข้มแข็ง สามารถออกมาต่อรองราคากับผู้ซื้อยางได้อีกด้วย
อินเดียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ไม่น่าเชื่อ ในอดีตเคยแต่ซื้อยางจากบ้านเรา วันนี้เริ่มเอายางออกมาขายในตลาดแล้วมีหลายประเทศปลูกยางมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันการนำยางธรรมชาติไปใช้กลับน้อยลง
อ.อัจฉรา ปทุมนากุล ให้ข้อมูลสถิติการใช้ยางของโลกไว้อย่างน่าสนใจ...จีนเป็นประเทศที่ใช้ ยางพารามากที่สุด 32% รองลงมาเป็นยุโรป 11% ไทย 4% เท่ามาเลเซีย ส่วนประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติไม่ได้ มักจะใช้ยางสังเคราะห์แทน
ในอนาคตอุตสาหกรรมยางล้อมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มทุกปี และจะเปลี่ยนเป็นยางเรเดียลมากขึ้น...แต่การใช้ยางธรรมชาติจะน้อยลง
เพราะเทคโนโลยีการผลิตยางเรเดียลมีการคิดหาวิธีใช้ยางธรรมชาติให้น้อยลง จากเดิมมีการใช้ยางธรรมชาติ 8-10 กก.ต่อเส้น ปัจจุบันได้ลดลงมาเหลือ 5.8 กก.ต่อเส้น
แม้กระทั่งการประกอบรถยนต์หนึ่งคัน เมื่อปี 2544 จะมีการใช้ยางธรรมชาติ 4.31 กก.ต่อคัน ปี 2555 การใช้ยางธรรมชาติลดลงมาเหลือ 0.22 กก.ต่อคัน เพราะมีการใช้ยางสังเคราะห์มากขึ้น.
ชมชื่น ชูช่อ