ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 20, 2015, 04:26:49 PM »'หม่อมอุ๋ย' เชื่อไตรมาส 2-3 ดีดตัว เท 3 พันล. แก้แล้ง - ปล่อยกู้อุ้มยาง
17 เม.ย. 58 ม.ล.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ กล่าวในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย คาดการณ์ถึงสภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปีนี้ ว่า น่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากที่เป็นอยู่ เนื่องจากมี 3 ปัจจัยเป็นตัวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ คือ การลงทุนของภาครัฐในโครงการต่างๆ อาทิ การสร้างถนน สร้างโรงเรียน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นตัวสำคัญในไตรมาสที่ 2 ให้โตเพิ่มขึ้นถึง 5 % , การลงทุนของเอกชนที่ยังขยายตัวต่อไปในอัตรา 4% และการส่งออกบริการหรือการท่องเที่ยว รายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 15% แม้ตัวเลขดังกล่าวจะเป็นเพียงการประมาณการณ์แต่ก็ถือว่าใกล้เคียงที่สุด
ขณะ ที่การส่งออกสินค้าแม้จะติดลบ 4% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและต่างชาติลดกำลังซื้อ แต่การลงทุนภาครัฐการ ภาคเอกชน และการส่งออกบริการ เพิ่มสูงขึ้นก็ดุลยชดเชยการส่งออกสินค้าที่ลดลงไปได้ โดยรวมแล้วเชื่อว่าทำได้สูงกว่า 3% และเชื่อว่าพอถึงไตรมาสถัดไปจะดีขึ้น เนื่องจากจีนได้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดดอกเบี้ยมาถึง 2 ครั้ง และยุโรปได้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มมาตรการ QE เข้ามาในระบบ 3 เดือนติดต่อกันแล้ว
"โดย ภาพรวมแล้วยอดการส่งออกสินค้าคงไม่ลดลงอีก และถ้าปัจจัยอื่นๆ เช่นการลงทุนภาครัฐภาคเอกชน และการท่องเที่ยว ยังขยายตัวต่อไป เนื่องจากมีแรงส่งจากนักท่องเที่ยวยุโรป อันเรื่องมาจากการยกเลิกกฎอัยการศึก เชื่อว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปีนี้ น่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากที่เป็นอยู่" ม.ล.ปรีดิยาธร กล่าว
ด้าน นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้มายื่นขอ รง.4 กว่า 4-5 พันโครงการ เป็นเงินลงทุนกว่า 5.5 แสนล้านบาท ซึ่งจะเกิดอัตราการจ้างงานประมาณ 2 แสนอัตรา โดยทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้อนุมัติไปแล้วประมาณ 3,500 โรงงาน ดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว จนถึงมีนาคมปีนี้ เป็นเงินลงทุนกว่า 3.5 แสนล้านบาท เกิดอัตราการจ้างงานทั้งสิ้น 1.3 แสนอัตรา ซึ่งในส่วนนี้ยังไม่รวมนิคมอุตสหกรรมอีกประมาณ 5 หมื่นกว่าล้าน หากรวมกันจะมียอดลงทุนทั้งหมดประมาณ 4 แสนล้านบาท และมีการจ้างงานประมาณ 1.3-1.4 แสนอัตรา
นอกจาก นี้ยังได้มีการอนุมัติประทานบัตรเหมืองแร่อีก 195 ราย คิดเป็นเงินลงทุน 4.4 หมื่นล้านบาท และหากคำนวณแร่ที่เกิดจากการลงทุนที่อนุมัติไปจะมีเม็ดเงินสะพัดอีกกว่า 2 แสนล้านบาท
ขณะที่ นายปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงมาตรการเยียวยาเกษตรกรชาวนาและชาวสวนยางว่า ในส่วนของมาตรการแรกที่เข้าไปดำเนินการเกี่ยวกับข้าวคือ มาตรการเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ซึ่งขณะนี้จ่ายเงินให้ไปแล้ว 3 ล้าน 5 แสนครัวเรือน วงเงิน 38.8 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีมาตรการทางอ้อมอื่นๆ เช่น การจ้างเพื่อปรับปรุงระบบการชลประทาน การฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร การสนับสนุนให้มีการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ซึ่งทั้งหมดเป็นมาตรการที่พยายามช่วยเหลือชาวนาในเรื่องของราคาพืชผลที่ตกต่ำ
นายปิติพงษ์ กล่าวอีกว่า แต่ปัญหาอีกส่วนหนึ่งก็เกิดจากปัญหาภัยแล้ง ซึ่งขณะนี้รัฐได้มีมาตรการให้การช่วยเหลือแล้ว โดยจะใช้เงินเข้าช่วยเหลือตำบลต่างๆ จำนวน 3,051 ตำบล เพื่อให้ไปปรับปรุงพื้นที่ อาชีพ และผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีการจ่ายเงินไปแล้วกว่า 6,590 กว่าโครงการ วงเงินกว่า 3 พันล้านบาท แต่จากสถิติ 51% ของตำบลเหล่านี้อยากได้เงินไปพัฒนาแหล่งน้ำของตัวเอง
ส่วน ของยางพารา ได้มีการแก้ไขปัญหาระยะสั้นซึ่งพยายามอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเพื่อช่วยเหลือ เกษตรกรชาวสวนยาง ไร่ละ 1,000 บาท เช่นเดียวกัน โดยอนุมัติจ่ายไปแล้ว 767,000 ครัวเรือน เป็นเงินกว่า 7 พันล้านบาท นอกจากนี้พยายามที่จะให้สหกรณ์มีบทบาทในการช่วยเหลือราคายางมากขึ้น ด้วยการให้เงินกู้หมุนเวียนเพื่อซื้อยางแก่สถาบันเกษตรกร วงเงินหมื่นล้านบาท เบิกไปแล้ว 3 พันกว่าล้านบาท ซึ่งในส่วนของสินเชื่อเพื่อการปรับโครงสร้างระยะยาวสำคัญที่สุด โดยเกษตรกรสามารถขอสินเชื่อรายละไม่เกิน 1 แสนบาท โดยมีการยื่นขอกู้แล้วถึง 1.1 แสนราย และมีการอนุมัติปล่อยกู้ไปแล้วจำนวนหนึ่ง
ทั้งหมดนี่เป็นเรื่องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ในช่วงระยะเวลาต่อไปนี่เราคงจะต้องมีการปรับโครงสร้าง ในการพัฒนาการเกษตรให้มากยิ่งขึ้นกว่านี้ เพื่อทำให้ความมั่นคงในแง่ของรายได้ของเกษตรกรมีมากขึ้น
"ถาม ว่าโครงการทั้งหมดนี้มีผลหรือไม่ เท่าที่เราสำรวจ ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ตั้งแต่วันที่ 1-7 มีนาคม เทียบกับปีที่แล้ว รายได้สุทธิของเกษตรกร ลดลงไปประมาณ 600 บาท ต่อครัวเรือน ถ้าเผื่อโครงการ 3 พันกว่าล้านที่ช่วยพื้นที่ภัยแล้งมีประสิทธิภาพ แล้วเอาไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมเชื่อว่าส่วนต่างตรงนี้จะลดลงไปอีก แล้วตอนนี้ก็ใกล้จะถึงฤดูกาลเพาะปลูกใหม่แล้ว โครงการต่างๆ ก็จะทำให้รายได้ของเกษตรกรน่าจะเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง" นายปิติพงษ์ กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า
17 เม.ย. 58 ม.ล.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ กล่าวในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย คาดการณ์ถึงสภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปีนี้ ว่า น่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากที่เป็นอยู่ เนื่องจากมี 3 ปัจจัยเป็นตัวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ คือ การลงทุนของภาครัฐในโครงการต่างๆ อาทิ การสร้างถนน สร้างโรงเรียน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นตัวสำคัญในไตรมาสที่ 2 ให้โตเพิ่มขึ้นถึง 5 % , การลงทุนของเอกชนที่ยังขยายตัวต่อไปในอัตรา 4% และการส่งออกบริการหรือการท่องเที่ยว รายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 15% แม้ตัวเลขดังกล่าวจะเป็นเพียงการประมาณการณ์แต่ก็ถือว่าใกล้เคียงที่สุด
ขณะ ที่การส่งออกสินค้าแม้จะติดลบ 4% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและต่างชาติลดกำลังซื้อ แต่การลงทุนภาครัฐการ ภาคเอกชน และการส่งออกบริการ เพิ่มสูงขึ้นก็ดุลยชดเชยการส่งออกสินค้าที่ลดลงไปได้ โดยรวมแล้วเชื่อว่าทำได้สูงกว่า 3% และเชื่อว่าพอถึงไตรมาสถัดไปจะดีขึ้น เนื่องจากจีนได้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดดอกเบี้ยมาถึง 2 ครั้ง และยุโรปได้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มมาตรการ QE เข้ามาในระบบ 3 เดือนติดต่อกันแล้ว
"โดย ภาพรวมแล้วยอดการส่งออกสินค้าคงไม่ลดลงอีก และถ้าปัจจัยอื่นๆ เช่นการลงทุนภาครัฐภาคเอกชน และการท่องเที่ยว ยังขยายตัวต่อไป เนื่องจากมีแรงส่งจากนักท่องเที่ยวยุโรป อันเรื่องมาจากการยกเลิกกฎอัยการศึก เชื่อว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปีนี้ น่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากที่เป็นอยู่" ม.ล.ปรีดิยาธร กล่าว
ด้าน นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้มายื่นขอ รง.4 กว่า 4-5 พันโครงการ เป็นเงินลงทุนกว่า 5.5 แสนล้านบาท ซึ่งจะเกิดอัตราการจ้างงานประมาณ 2 แสนอัตรา โดยทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้อนุมัติไปแล้วประมาณ 3,500 โรงงาน ดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว จนถึงมีนาคมปีนี้ เป็นเงินลงทุนกว่า 3.5 แสนล้านบาท เกิดอัตราการจ้างงานทั้งสิ้น 1.3 แสนอัตรา ซึ่งในส่วนนี้ยังไม่รวมนิคมอุตสหกรรมอีกประมาณ 5 หมื่นกว่าล้าน หากรวมกันจะมียอดลงทุนทั้งหมดประมาณ 4 แสนล้านบาท และมีการจ้างงานประมาณ 1.3-1.4 แสนอัตรา
นอกจาก นี้ยังได้มีการอนุมัติประทานบัตรเหมืองแร่อีก 195 ราย คิดเป็นเงินลงทุน 4.4 หมื่นล้านบาท และหากคำนวณแร่ที่เกิดจากการลงทุนที่อนุมัติไปจะมีเม็ดเงินสะพัดอีกกว่า 2 แสนล้านบาท
ขณะที่ นายปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงมาตรการเยียวยาเกษตรกรชาวนาและชาวสวนยางว่า ในส่วนของมาตรการแรกที่เข้าไปดำเนินการเกี่ยวกับข้าวคือ มาตรการเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ซึ่งขณะนี้จ่ายเงินให้ไปแล้ว 3 ล้าน 5 แสนครัวเรือน วงเงิน 38.8 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีมาตรการทางอ้อมอื่นๆ เช่น การจ้างเพื่อปรับปรุงระบบการชลประทาน การฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร การสนับสนุนให้มีการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ซึ่งทั้งหมดเป็นมาตรการที่พยายามช่วยเหลือชาวนาในเรื่องของราคาพืชผลที่ตกต่ำ
นายปิติพงษ์ กล่าวอีกว่า แต่ปัญหาอีกส่วนหนึ่งก็เกิดจากปัญหาภัยแล้ง ซึ่งขณะนี้รัฐได้มีมาตรการให้การช่วยเหลือแล้ว โดยจะใช้เงินเข้าช่วยเหลือตำบลต่างๆ จำนวน 3,051 ตำบล เพื่อให้ไปปรับปรุงพื้นที่ อาชีพ และผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีการจ่ายเงินไปแล้วกว่า 6,590 กว่าโครงการ วงเงินกว่า 3 พันล้านบาท แต่จากสถิติ 51% ของตำบลเหล่านี้อยากได้เงินไปพัฒนาแหล่งน้ำของตัวเอง
ส่วน ของยางพารา ได้มีการแก้ไขปัญหาระยะสั้นซึ่งพยายามอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเพื่อช่วยเหลือ เกษตรกรชาวสวนยาง ไร่ละ 1,000 บาท เช่นเดียวกัน โดยอนุมัติจ่ายไปแล้ว 767,000 ครัวเรือน เป็นเงินกว่า 7 พันล้านบาท นอกจากนี้พยายามที่จะให้สหกรณ์มีบทบาทในการช่วยเหลือราคายางมากขึ้น ด้วยการให้เงินกู้หมุนเวียนเพื่อซื้อยางแก่สถาบันเกษตรกร วงเงินหมื่นล้านบาท เบิกไปแล้ว 3 พันกว่าล้านบาท ซึ่งในส่วนของสินเชื่อเพื่อการปรับโครงสร้างระยะยาวสำคัญที่สุด โดยเกษตรกรสามารถขอสินเชื่อรายละไม่เกิน 1 แสนบาท โดยมีการยื่นขอกู้แล้วถึง 1.1 แสนราย และมีการอนุมัติปล่อยกู้ไปแล้วจำนวนหนึ่ง
ทั้งหมดนี่เป็นเรื่องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ในช่วงระยะเวลาต่อไปนี่เราคงจะต้องมีการปรับโครงสร้าง ในการพัฒนาการเกษตรให้มากยิ่งขึ้นกว่านี้ เพื่อทำให้ความมั่นคงในแง่ของรายได้ของเกษตรกรมีมากขึ้น
"ถาม ว่าโครงการทั้งหมดนี้มีผลหรือไม่ เท่าที่เราสำรวจ ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ตั้งแต่วันที่ 1-7 มีนาคม เทียบกับปีที่แล้ว รายได้สุทธิของเกษตรกร ลดลงไปประมาณ 600 บาท ต่อครัวเรือน ถ้าเผื่อโครงการ 3 พันกว่าล้านที่ช่วยพื้นที่ภัยแล้งมีประสิทธิภาพ แล้วเอาไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมเชื่อว่าส่วนต่างตรงนี้จะลดลงไปอีก แล้วตอนนี้ก็ใกล้จะถึงฤดูกาลเพาะปลูกใหม่แล้ว โครงการต่างๆ ก็จะทำให้รายได้ของเกษตรกรน่าจะเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง" นายปิติพงษ์ กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า