ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 13, 2015, 07:07:14 PM »

อนาคตยางไทย


โดย ชมชื่น ชูช่อ 13 เม.ย. 2558 05:01


 
 การเสวนา ?ฝ่าวิกฤติยางพารา พัฒนาสู่ความยั่งยืน? ในงานวันยางพาราแห่งชาติ ประจำปี 2558 จบไปแล้ว พร้อมกับหลากหลายความเห็นคงเดิม...แต่ภาคปฏิบัติระดับนโยบาย ยังไม่เป็นรูปธรรม

นายเชาว์ ทรงอาวุธ รองผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ประธานกรรมการอำนวยการจัดงานฯ สรุปผลการเสวนา...นักวิชาการ และ ภาคเอกชน ให้ความเห็นไม่ต่างกัน บ้านเราผลิตยางได้มาก แต่การใช้ในประเทศมีน้อยแค่ 14% ที่เหลือ 86% ส่งออก ทำให้ต่างชาติเป็นผู้กำหนดราคา

ประกอบกับผลผลิตยางของบ้านเราถูกส่งขายไปจีนเป็นหลัก เมื่อเศรษฐกิจจีนชะลอตัว การใช้ยางลดลง และปัจจุบันนี้ จีนได้ปลูกยางพารามากขึ้นในมณฑลยูนนาน รวมทั้งเข้าไปลงทุนปลูกในลาว และกัมพูชา

อนาคตยางพาราไทยจะพึ่งจีนตลาดเดียวไม่ได้อีกแล้ว การกำหนดยุทธศาสตร์เพื่ออนาคต นอกจากจะต้องเพิ่มการใช้ยางในประเทศแล้ว จะต้องมีการขยายตลาดไปยังประเทศใหม่ๆด้วย

ด้านเกษตรกร แสดงความเห็น การทำสวนยางพาราในอนาคตจะปลูกยางอย่างเดียวเหมือนเดิมไม่ได้แล้ว จะต้องปลูกพืชผสมผสานในสวนยาง ดังนั้นการกำหนดยุทธศาสตร์ รัฐบาลจะต้องกำหนดมาตรการส่งเสริมการทำ สวนยางพาราแบบผสมผสาน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว

รอง ผอ.สกย.บอกอีกว่า จากนี้ไป สกย.จะรวบรวมความคิดเห็นมาสรุปส่งให้รัฐบาล เพื่อจัดทำแผนพัฒนายางพาราไทยทั้งระบบต่อไป แต่สิ่งไหนที่สามารถทำได้เลย สกย.จะดำเนินการทันที เช่น แก้ไขระเบียบเรื่องการให้ทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จากที่กำหนดให้ปลูกยางไร่ละ 70-80 ต้น ลดเหลือไร่ละ 40 ต้น แต่ยังได้รับทุนสงเคราะห์เท่าเดิม ไร่ละ 16,000 บาท เพื่อเกษตรกรจะได้มีพื้นที่เพียงพอต่อการทำสวนยางผสมผสาน

พร้อมทั้งแก้ระเบียบการให้สินเชื่อช่วยเหลือชาวสวนยางที่ต้องการประกอบ อาชีพเสริม จากเดิมให้เฉพาะเกษตรกรที่มีสวนยางมีอายุไม่เกิน 6 ปีครึ่ง ขณะนี้ได้แก้ระเบียบสามารถให้สินเชื่อสวนยางพาราอายุเกินกว่า 6 ปีครึ่งได้แล้ว รายละไม่เกิน 50,000 บาท แต่ถ้ารวมกลุ่มทำอาชีพเสริมจะให้กลุ่มละไม่เกิน 500,000 บาท คิดดอกเบี้ยเท่าเดิม ร้อยละ 2 ต่อปี

ส่วนโครงการมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง จะรวบรวมความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเกษตรกร ต้องการโครงการนี้ต่อไปหรือไม่ เพื่อนำเสนอรัฐบาลก่อนจะกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจนต่อไป.

ชมชื่น ชูช่อ