ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มีนาคม 30, 2015, 08:15:15 PM »

เกษตรฯขันน็อตแก้ปัญหายางพารา


30 มีนาคม 2558 เวลา 18:22 น.



"อำนวย"ให้นโยบายบริหารจัดการสินค้ายางพารา รองรับปีผลิต  58-59 หลังแต่ละโครงการอืด ไม่คืบหน้า


เมื่อวันที่ 30 มี.ค. นายอำนวย  ปะติเส  รมช.เกษตรและสหกรณ์   กล่าวในการให้นโยบายการบริหารจัดการสินค้ายางพารา รอบการผลิตปี 2558/59 ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายส่งเสริมให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็ง สามารถเข้าถึงแหล่งทุน และผลิตสินค้าจำหน่ายได้ทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ซึ่งจากการดำเนินมาตรการโครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา และ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยางพารา ที่ผ่านมา พบว่า มีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรบางแห่งประสบความสำเร็จได้ผลกำไรจากการดำเนินโครงการฯ พร้อมทั้งขอให้ขยายเวลาดำเนินการอีก 1 ปี  และขยายท้องถิ่นเพิ่ม  ในขณะที่บางโครงการยังได้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ   


ทั้งนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลประมาณการของแผนการรวบรวมยางพารา เพื่อเตรียมความพร้อมด้านบริหารจัดการของธุรกิจยางพาราของสถาบันเกษตรกร ที่จะออกสู่ตลาดในฤดูกาลผลิตปี 2558/2559 โดยมีการสำรวจประเภทยางก้อนถ้วย น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ยาแผ่นรมควัน เป็นต้น พบว่า แผนการรวบรวมของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มีความสอดคล้องกับแผนการจำหน่าย โดยสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มีแผนการจำหน่ายยางพารา  คิดเป็น  80.56%  ของแผนการรวบรวม


สำหรับผลการดำเนินการที่ผ่านมา ในปี 2557 มีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินธุรกิจรวบรวบยางพาราใน 59 จังหวัด รวม 738 แห่ง ซึ่งในการส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรยางพารา มีการบริหารจัดการด้านการผลิตและตลาด ตั้งแต่สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร (ต้นน้ำ) การพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ (กลางน้ำ) และการตลาดยางพารา (ปลายน้ำ) และมีสมาชิกปลูกยาง 502,249 ราย พื้นที่ปลูก 4.75 ล้านไร่ ผลผลิต 726,246 ตัน คิดเป็น 16.60% ของประเทศ


โดยผลการดำเนินงานโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยางพารา วงเงิน 10,000 ล้านบาท มีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับอนุมัติเงินกู้แล้ว 297 แห่ง วงเงิน 3,610 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 281 แห่ง วงเงิน 2,907 ล้านบาท รวบรวมยางได้ 442,872 ตัน มูลค่า 16,765 ล้านบาท และจำหน่าย 389,527 ตัน มูลค่า 16,147 ล้านบาท และโครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา วงเงิน 5,000 ล้านบาท ได้รับอนุมัติ 32 แห่ง วงเงิน 286  ล้านบาท


สำหรับสินเชื่อเพื่อกู้สร้างและปรับปรุงโรงงานยางพารา มีเป้าหมายในแผนงานที่วางไว้ 209 สหกรณ์ ขอกู้เงิน 5,064.22 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา สหกรณ์ได้รับอนุมัติ เงินกู้แล้ว 32 สหกรณ์ วงเงิน 286 ล้านบาทเศษ โดยจะมีการสร้างโรงงานใหม่ จำนวน 11 แห่ง วงเงิน 163 ล้านบาท ปรับปรุงโรงงานเดิม จำนวน 21 แห่ง วงเงิน 123 ล้านบาท และรอการอนุมัติ 16 สหกรณ์  วงเงิน 21.87 ล้านบาท


ทั้งนี้ในการประชุมเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2558 ได้ข้อสรุปการเร่งรัดการพิจารณาการให้สินเชื่อ ดังนี้ 1) มีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่ได้ข้อยุติชัดเจนสามารถอนุมัติได้ภายในเดือนเม.ย.  2558 จำนวน 74 สหกรณ์ วงเงิน 3,272 ล้านบาท มีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่คุณสมบัติไม่ผ่านและขอถอนเรื่อง 29 สหกรณ์ มีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 58 สหกรณ์ ที่ไม่เสนอคำขอกู้ มีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ขอเข้าร่วมโครงการเพิ่ม 15 สหกรณ์ วงเงินสินเชื่อ 795 ล้านบาท โดยสรุปมีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร อยู่ระหว่างการพิจารณา 89 สหกรณ์ วงเงิน 4,067 ล้านบาท ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์จะได้เร่งรัดการติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการฯ ต่อไป