ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มีนาคม 07, 2015, 08:24:40 AM »

ชาวสวนยางดันตั้งตลาดกลาง-โรงงานยางแท่งครบทุกภาค



ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาสภาเกษตรกรแห่งชาติได้จัดประชุมเกษตรกรชาวสวนยางหลายกลุ่มขึ้นเพื่อทบทวน 16 มาตรการแก้ราคายางตกต่ำในปีการผลิตที่ปิดกรีดไปเมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่ามีจุดบกพร่องที่จะต้องปรับปรุง เพื่อนำไปใช้ในฤดูกาลต่อไปอย่างไรบ้าง และจะนำเสนอต่อ ดร.อำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป


โดยมาตรการแรกที่ควรปรับปรุงคือ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยางวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับอนุมัติสินเชื่อ 3,408 ล้านบาท จำนวน 279 แห่ง ยังไม่เข้าเป้านัก เนื่องจากกลุ่มสหกรณ์ขนาดเล็กหรือกลุ่มเกษตรกร หลายแห่งขาดทุน หรือกู้เงินไปเต็มวงเงินแล้ว หรือหลักทรัพย์เต็มวงเงิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จึงป้องกันความเสี่ยงไว้ก่อน


ที่ประชุมได้มีมติพร้อมเสนอตั้งคณะกรรมการประสานงานในเรื่องนี้ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯแก้ปัญหาต่อไป


มาตรการที่สองคือ โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรเพื่อแปรรูปยางพารา วงเงิน 5,000 ล้านบาท ซึ่งการลงทุนโรงงานยางแท่งขนาดกำลังการผลิต 5 ตัน/ชั่วโมง ต้องลงทุนสูงถึง 150 ล้านบาท ยังไม่รวมเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อยาง ปัจจุบันยางภาคเหนือต้องขนส่งไปขายโรงงานยางแท่งที่อุดรธานี ภาครัฐจึงควรอุดหนุนตั้งโรงงานภาคละไม่ต่ำกว่า 1 แห่ง โดยรัฐเข้าค้ำประกันสินเชื่อที่ขอกู้จาก ธ.ก.ส.ให้ด้วย นอกจากนี้ยังเสนอให้รัฐตั้งคณะกรรมการประสานงานด้วย


มาตรการที่สาม โครงการพัฒนาตลาดตามแผนแม่บทปรับโครงสร้างระบบตลาดยาง รัฐควรจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายส่งมอบจริงเพิ่มอย่างน้อยภาคละ 1 แห่ง รวมทั้งหมด 5 แห่ง ภายในปี 2558 จากปัจจุบันมีตลาดกลาง 6 แห่งที่สถาบันวิจัยยางดูแล ซึ่งอยู่ในภาคใต้ 4 แห่งและภาคอีสาน 2 แห่ง รวมทั้งตลาดซื้อขายยาง 108 แห่งของ สกย.


มาตรการที่สี่ โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางพารา (บัฟเฟอร์ฟันด์) รัฐควรกำหนดนโยบายที่ชัดเจน เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงในการขายยางคุณภาพดีผ่านตลาดกลาง ควรกำหนดให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรขายยางไร่ละไม่เกิน 2 กก. เดือนละ 15 วัน เป็นต้น เนื่องจากขณะนี้ มีแต่พ่อค้าคนกลางบรรทุกยางด้วยรถบรรทุกสิบล้อมารอขายในตลาดกลางจำนวนมาก เกษตรกรรายย่อยเข้าไม่ค่อยถึง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ที่รับซื้อมักตีเกรดคุณภาพยางแผ่นรมควันชั้น 3 เป็นชั้น 4 ทำให้ขายไม่ได้ สุดท้ายต้องขายให้พ่อค้าคนกลางบริเวณตลาดกลาง เพราะไม่อยากเสียค่าขนส่งมาขายหลายรอบ ซึ่งยางที่พ่อค้าคนกลางซื้อจากเกษตรกรรายย่อยไป เมื่อนำมาขายในตลาดกลางอีกครั้ง กลับตีคุณภาพเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่ องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) สามารถรับซื้อได้ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯควรส่งหน่วยเฉพาะกิจมาตรวจสอบการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ นอกเหนือจากทหารที่เข้ามาดูแลให้เกษตรกรรายย่อยได้ขายยางบ้าง


จัดคิวให้เกษตรกรรายย่อย ขายตลาดกลาง


ด้าน นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การระบายสต๊อกยางพาราของรัฐ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ส่งมอบยางให้แก่ บริษัท ไชน่า ไห่หนาน รับเบอร์ฯ เพิ่มแล้ว 1.5 หมื่นตัน จากที่ส่งมอบครั้งแรก 2,000 ตัน ไปเมื่อช่วงสิ้นปี 2557 โดยยางที่ส่งมอบครั้งนี้เป็นยางเก่าในสต๊อกตั้งแต่ปี 2555 แต่เป็นยางคุณภาพดี ได้ราคาพรีเมี่ยม 63 บาท/กก. ตามที่ทำสัญญาซื้อขาย


"ที่ ผ่านมายังไม่ได้มีการส่งมอบยางเพิ่ม เพราะเกรงกันว่าราคายางจะตกลง จึงชะลอออกไปก่อน จากนี้เป็นช่วงปิดกรีดก็จะเร่งส่งมอบยาง แต่จะส่งมอบได้เท่าไหร่นั้นเป็นไปตามกลไกธุรกิจที่ต้องตกลงกันสองฝ่าย ต้องเป็นความต้องการของผู้ซื้อด้วย"


นายอำนวยกล่าวต่อว่า ด้าน 16 มาตรการยางที่ขับเคลื่อนไปแล้วนั้น จะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์เร็ว ๆ นี้ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข โดยการประเมินของกระทรวงเกษตรฯเองนั้น มองว่ามาตรการโครงการมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง หรือบัฟเฟอร์ฟันด์ เป็นมาตรการที่ได้ผลดีแต่โครงสร้างตลาดปรับตัวไม่ทันความต้องการ


"เรา รับทราบแล้วว่ามีปัญหาเรื่องการจัดคิวในตลาดกลาง ครั้งถัดไปถ้ายังมีการใช้มาตรการนี้ต่อ จะจัดคิวจัดระบบการจัดการให้เรียบร้อย เพราะมีแนวคิดแล้วว่าต่อจากนี้เกษตรกรรายย่อยที่มาขายครั้งละไม่เกิน 15 ตันต้องได้ขายก่อน หรืออีกแนวทางหนึ่ง อาจใช้การยกระดับตลาดท้องถิ่น สกย.108 แห่ง เพื่อไม่ให้เกษตรกรรายย่อยต้องขนส่งมาถึงตลาดกลาง"


นาย อำนวยเปิดเผยว่า การจัดการยางพาราฤดูการผลิต 2558/59 จะเป็นการบริหารงานจากระดับจังหวัด ได้สั่งการให้จังหวัดทำแผนจัดการตนเองเกี่ยวกับสินค้ายาง 6 ชนิด ได้แก่ ยางก้อนถ้วย น้ำยางสด ยางแผ่นดิบในตลาดท้องถิ่น ยางแผ่นดิบในตลาดกลาง ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดกลาง และยางที่จำหน่ายให้กลุ่มพ่อค้าส่งออก ซึ่งจังหวัดจะต้องรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับยางทั้งหมดในพื้นที่ เช่น ราคายางในทุกตลาด ปริมาณผลิต โรงงานผลิตและรับซื้อยาง ตลาดซื้อขายยาง ต้นทุนการผลิต ซึ่งจะต้องส่งข้อมูลให้กระทรวงเกษตรฯทั้งหมดภายใน 5 มี.ค.นี้


แหล่ง ข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า การเร่งขับเคลื่อนเรื่องยางในระดับจังหวัด หากจังหวัดใดไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าจะถูกรายงานถึงกระทรวงมหาดไทยและ อาจถูกโยกย้ายตำแหน่ง


สำหรับราคายางวันที่ 25 ก.พ. 58 ราคา FOB ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคา 61.45 บาท/กก. ขณะที่บัฟเฟอร์ฟันด์เข้าซื้อที่ราคา 63 บาท/กก. ราคาน้ำยางสด 47 บาท/กก. ยางก้อนถ้วย 39.50 บาท/กก. และยางแผ่นดิบราคา 58 บาท/กก.


ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ


 
6/3/2015