ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มีนาคม 07, 2015, 08:23:39 AM »

7กระทรวงชงแผนเพิ่มใช้ยาง



7 กระทรวงผุดโปรเจ็กต์นำยางในสต๊อกรัฐบาลลาดถนน-ปูพื้นลู่วิ่ง-ลานกรีฑา-คอก ปศุสัตว์ เผยเพิ่มการใช้ยางในประเทศได้เพียง 1.67 หมื่นตัน เป้า 1 แสนตันปีนี้ส่อวืด! ด้านธ.ก.ส.หนุนเงินกู้อ.ส.ย.ใช้บริหารจัดการแปรรูปยางอีก 1 พันล้าน ขณะสกย.เสนอเก็บเงินเซสส์ใหม่เป็นอัตราเดียวแทนขั้นบันไดที่ 2.50 บาท/กก. ลดความเสี่ยงรายได้ผันผวน ผู้ส่งออกค้านทันควัน


แหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าหลังจากที่พล.อ.ประยุทธ์ได้ประชุมกนย. เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และส่วนราชการได้ไปสำรวจปริมาณการใช้ ยางพาราของแต่ละหน่วยงานโดยเร็วและให้จัดทำแผนการใช้ยางพาราในประเทศมานำ เสนอ ล่าสุดได้รับข้อมูลจาก 7 กระทรวง จากทั้งหมด 13 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงคมนาคม


ทั้งนี้แผนการใช้ยางที่ 7 กระทรวงที่เสนอแผนมา มีทั้งทำลู่ และลานกรีฑาระดับท้องถิ่น บล็อกยางปูถนน สนามเด็กเล่น สนามฟุตซอล งานบูรณะทางผิวแอสฟัลต์ งานฉาบผิวถนน งานสร้างถนนลาดยาง ผลิตล้อยาง ผลิตแผ่นยางธรรมชาติปูพื้นคอกปศุสัตว์ และใช้ยางธรรมชาติแทนวัสดุรองพื้นรถขนย้ายสัตว์ และอื่นๆ โดยคาดจะมีการใช้ยางรวมประมาณ 1.67 หมื่นตัน งบประมาณที่ใช้ 1.19 หมื่นล้านบาท


แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับแผนการใช้งบประมาณเพื่อการดังกล่าวจะบรรจุวาระในปีงบประมาณ 2559 เป็นงบประมาณปกติ โดยกระทรวงที่ใช้งบสูงสุด ได้แก่ กระทรวงเกษตรฯรองลงมาคือกระทรวงคมนาคม และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นอกจากนี้ ทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้สนับสนุนเงินกู้ให้องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) เพื่อใช้ในการบริหารจัดการโครงการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ยางใช้ในประเทศ 1 พันล้านบาท


อย่างไรก็ดี จากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์เป็นประธาน ได้เห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้มีการกู้เงินจำนวน 4 หมื่นล้านบาท เพิ่มเติมจากงบประมาณปกติเพื่อนำมาซ่อมแซมและบูรณะถนนทั้งทางหลวงจังหวัดและ ทางหลวงชนบท คาดว่าจะใช้ยางปริมาณ 3 หมื่นตัน จากเป้าหมายแผนการใช้ยางในประเทศของรัฐบาลในปีนี้ที่ 1 แสนตันซึ่งใช่ว่าจะสามารถทำได้ง่ายๆ แต่ส่วนหนึ่งจะช่วยส่งผลด้านจิตวิทยาต่อตลาดยางให้ปรับตัวสูงขึ้น จากที่เวลานี้โลกรับรู้ยางในสต๊อกของรัฐบาลไทยมีมาก


"การระบายยางในสต๊อกอย่าไปมองเรื่องขาดทุนกำไร เพราะในการเข้ารับซื้อแทรกแซงสินค้าเกษตรชนิดใดก็ตาม รัฐบาลไม่เคยได้กำไร ดังนั้นมองว่าเป็นผลดี อยากให้รีบระบายออกให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะช่วงนี้เหมาะสมที่สุดไม่กระทบกับเกษตรกร เพราะเป็นช่วงปิดกรีด และการบริหารสต๊อกที่ดีที่สุดคือระบายสต๊อกเดิมควบคู่กับการซื้อยางใหม่ เพื่อไม่ให้เพิ่มซัพพลายในตลาด"


ขณะที่แหล่งข่าวจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ได้เสนอให้จัดเก็บเงินสงเคราะห์เกษตรกรจากผู้ส่งออกยางหรือเงินเซสส์ ในอัตราคงที่ กิโลกรัมละ 2.50 บาท ซึ่งจะทำให้การประมาณการรายได้ความแน่นอน และสามารถวางแผนทำงานได้ชัดเจน ขณะที่ปัจจุบันการเก็บเงินเซสส์ กิโลกรัมละ 1.40 บาท จากอัตราการจัดเก็บเงินสงเคราะห์จากผู้ส่งออกยางออกนอกราชอาณาจักร โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้ปรับปรุงเงินสงเคราะห์ใหม่และประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 โดยได้กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ออกเป็น 5 ระดับ คือ


1.ราคายางไม่เกินกิโลกรัมละ 40 บาท เก็บเงินเซสส์ในอัตรากิโลกรัมละ 90 สตางค์ 2.ราคายางเกินกิโลกรัมละ 40 บาท แต่ไม่เกิน 60 บาท เก็บเงินเซสส์กิโลกรัมละ 1.40 บาท 3.ราคายางเกินกิโลกรัมละ 60 บาทแต่ไม่เกิน 80 บาท เก็บเงินเซสส์กิโลกรัมละ 2 บาท 4.ราคายางเกินกิโลกรัมละ 80 บาท แต่ไม่เกิน 100 บาท เก็บเงินเซสส์กิโลกรัมละ 3 บาท และ 5.ราคายางเกินกิโลกรัมละ 100 บาท เก็บเงินเซสส์กิโลกรัมละ 5 บาท


ด้านนายวรเทพ วงศาสุทธิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็กซ์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เห็นด้วยที่จะมีการปรับอัตราเซสส์ใหม่ให้เป็นอัตราคงที่ จะได้มีการบริหารจัดการได้ ส่วนราคานั้นเสนอให้ไม่เกินกิโลกรัมละ 1.40 บาท เทียบเท่าอินโดนีเซีย ขณะที่มาเลเซียไม่เก็บเงินเซสส์


แหล่งข่าวผู้ส่งออกรายใหญ่รายหนึ่ง กล่าวว่า การดำเนินการในเรื่องเงินเซสส์ของสกย.ล่าช้าเกินไป เนื่องจากการเก็บเงินเซสส์ ขณะนี้เก็บอยู่ที่กิโลกรัมละ 1.40 บาท หากปรับอัตราค่าธรรมเนียมผู้ส่งออกจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทันที จึงไม่เห็นด้วย


ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ


 
6/3/2015