ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มีนาคม 06, 2015, 04:40:13 PM »

รมว.เกษตรฯ ชี้ ศก.โลกชะลอตัว ฉุดราคาข้าว-ยาง ปีนี้ไม่กระเตื้อง


สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -6 มี.ค. 58 13:34 น.


นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ภายในระยะเวลา 1 ปีนี้ราคาข้าว และ ยางพารา คงไม่ปรับตัวขึ้นสูงได้มากกว่าที่เป็นอยู่ เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกอาจมีการซึม หรือเคลื่อนไหวแบบไซด์เวย์ในกรอบแคบๆ ในช่วง 2 ปีนับจากนี้ ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวตามไป ประกอบกับเงินบาทแข็งค่าขึ้น ไม่เป็นผลดีต่อราคาสินค้าเกษตรที่ส่งออก   ดังนั้นภาคเกษตรไทยต้องพยุงตัวเองไปก่อน ที่ผ่านมารัฐบาลก็มีการผลักดันโครงการชดเชยรายได้ให้เกษตรกร รายละ 1,000 บาท/ไร่ รายละไม่เกิน 15 ไร่ หรือ 15,000 บาท ในพื้นที่ที่แล้งซ้ำซาก พร้อมปล่อยเงินให้ประกอบอาชีพชุมชนละ 1 ล้านบาท ครอบคลุม 3,052 ตำบล  กระทรวงเกษตรสั่งให้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ประเมินผลของมาตรการที่รัฐบาลช่วยเหลือภาคเกษตรในหลายมติ ลงลึกไปถึงรายได้ รายจ่ายของเกษตร ในแต่ละวันว่ามีความสมดุล หรือเกษตรกรอยู่กินกันอย่างไร เพื่อนำผลของมาตรการของรัฐมาหามาตรการช่วยเหลือ ในการเติมเงินและสร้างรายได้ให้ภาคเกษตร จากงบประมาณที่ตั้งไว้เดิมอีกประมาณ 5 หมื่นล้านบาท แต่การจะเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร จะนำเงินใส่เข้าไปในกระเป๋าเลย โดยไม่เกิดผลผลิตและพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร กระทรวงเกษตรคงไม่ดำเนินการแน่ เพราะถือเป็นภาระให้กับรัฐบาล 

                อย่างไรก็ตามเบื้องต้น จากการสำรวจการนำเงินจากโครงการชดเชยรายได้ แก่เกษตรกรชาวสวนยางและชาวนาข้าว 1,000 บาท/ไร่ รายละไม่เกิน 15 ไร่ หรือ 15,000 บาท พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เก็บเงินไว้เพื่อใช้ในการซื้อปุ๋ยและอุปกรณ์ และปัจจัยการผลิตในฤดูกาลถัดไป ประมาณ 40-60% ของเงินที่รัฐบาลจ่ายเพื่อชดเชยรายได้ ซึ่งน่าจะเป็นสัญญานที่ดีต่อภาคเกษตร แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรไทย อยู่อย่างพอเพียง รู้เก็บรู้ใช้ มีการวางแผนเพื่อเพราะปลูกในฤดูกาลถัดไป อาจเป็นสัญญานให้เห็นว่าเกษตรกรไทยมีความเข้มแข็งขึ้น รู้จักวางแผนเพื่อการลงทุน เก็บเงินไว้เพื่อใช้ในฤดูกาลผลิตถัดไป  ทั้งนี้หลังจากรัฐบาลเข้ามาทำงานประมาณ 6 เดือนได้ผลักดันมาตรการช่วยเหลือรายได้และปัจจัยการผลิตไปหลายมาตรการแล้ว แต่สิ่งที่มองว่าเป็นตัวการถ่วงการพัฒนาและปรับโครงสร้างภาคเกษตร ทั้งข้าว หรือยางพารา คงเป็นเรื่องของหนี้สินเกษตรกร ที่ในส่วนของธ.ก.ส.ที่ผ่านการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เศรษฐกิจ รวมไปถึงเรื่องหนี้สินที่อยู่ในกองทุนในสังกัดกระทรวงเกษตร ที่ขณะนี้ได้คุยกับกระทรวงการคลังเรียบร้อยแล้วรอ เหลือเพียงให้ ครม.ชุดใหญ่พิจารณา คาดว่าเร็วที่สุดน่าจะเป็นสัปดาห์หน้า

                 "งบประมาณ 5 หมื่นล้านตามที่เคยขอกระทรวงคลังไว้ จะนำมาช่วยเหลือและฟื้นฟูภาคเกษตร เมื่อผลักดันหลายๆมาตรการออกมา เริ่มเห็นผล เห็นสัญญานความแข็งแรงของภาคเกษตร การปรับโครงสร้างน่าจะมาถูกทางแล้ว จากนี้จะผลักดันมาตรการที่ต้องใช้เงินจำนวนมากๆ ออกมา ก็อยากให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลต่อการปรับโครงสร้าง เพื่อให้ภาคเกษตรเข็มแข็งและยั่งยืน จึงต้องเช็คสุขภาพภาคเกษตร เกษตรกรในทุกด้าน เพื่อให้รู้ว่ามีจุดอ่อนตรงไหนที่ภาครัฐจะเข้าไปดูแล"นายปีติพงศ์ กล่าว  สำหรับปัญหาน้ำแล้งปี 2558 คาดว่าจะกระทบต่อภาคเกษตร ประมาณ 0.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) แต่ผลกระทบมากที่สุด คงเป็นกระทบต่อชาวนาผู้ปลูกข้าว เพราะเป็นเกษตรกรจำนวนมากที่สุดของไทย โดยภาวะน้ำแล้งส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร เพราะขณะนี้ในพื้นที่ชลประทานเหลือพื้นที่ปลูกข้าว 3.61 ล้านไร่ ที่ยังไม่เก็บเกี่ยว ในส่วนนี้น่ากังวลว่าจะเกิดความเสียหาย โดยในช่วงฤดูแล้ง มีการเพาะปลูกข้าวนาปรังเขตชลประทานทั่วประเทศ 4.99 ล้านไร่ เก็บเกี่ยว 1.19 ล้านไร่ เบื้องต้นเสียหายสิ้นเชิง 1.77 แสนไร่






เรียบเรียง โดย อิทธิพล พันธ์ธรรม  
                อีเมล์. reporter@efinancethai.com อนุมัติ    โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน