ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มีนาคม 03, 2015, 09:46:27 AM »

ทัพภาค 4 ระดมรถบรรทุกนับร้อย ช่วยระบายยางแผ่นจากภาคใต้ไประยอง


วันนี้ (2 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 4 พล.ต.เรืองศักดิ์ สุวรรณนาคะ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ได้เรียกประชุมหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหายางพาราเพื่อเร่งรัด และหาช่องทางในการแก้ไขปัญหาการขนย้ายยางพาราในนครศรีธรรมราช สงขลา และสุราษฎร์ธานี ที่อยู่ในโครงการนำตลาดตามโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนโดยองค์การสวนยางพารา ซึ่งเป็นผู้ประมูลรายใหญ่จากตลาดกลางยางพาราในภาคใต้ โดยองค์การสวนยางได้ขอให้กองทัพเข้าชวยเหลือในการขนย้ายยางพาราแผ่นรมควันอัดก้อนจำนวน 21,479 ตัน จากโรงรมที่กระจายอยู่ในภาคใต้ ไปเก็บไว้ยังโกดังทีเอ็นทีมูนูล่า ในจังหวัดระยองให้แล้วเสร็จภายใน 14 วัน

ขณะที่ นายอรุณ เลิศวิไลย์ กรรมการองค์การสวนยาง ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการองค์การสวนยาง ระบุว่า ขอสนับสนุนรถยนต์บรรทุกจำนวน 150 คัน จากกองทัพภาคที่ 4 เพื่อที่จะขนย้ายยางจำนวนนี้ โดยโครงการมูลภัณฑ์กันชนจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการขนส่ง สำหรับต่อคันต่อเที่ยวจะอยู่ที่ 30 ตัน มีเที่ยวขนส่งรวมประมาณ 350-400 เที่ยว

พล.ต.เรืองศักดิ์ สุวรรณนาคะ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ระบุว่ารถบรรทุกของกองทัพภาคที่ 4 มีไม่เพียงพอ แต่จะต้องระดมรถบรรทุกจากทั้งกองทัพบกเข้าช่วยในการขนย้าย ซึ่งจะต้องเร่งเพื่อให้การดำเนินการของตลาดกลางยาง และโครงการแก้ไขปัญหายางพาราของรัฐบาลเป็นไปได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ตามนโยบาย

สำหรับความล่าช้าที่เกิดขึ้นของโครงการนั้นสืบเนื่องจากองค์การสวนยาง ที่เป็นผู้ประมูลยางรายใหญ่ที่สุดจากตลาดกลางยางพารา ได้ซื้อในราคานำตลาด ทำให้ปริมาณยางที่ไหลเข้าสู่ตลาดกลางที่เป็นตลาดของรัฐมีส่วนแบ่งทางตลาดอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ มียางที่ไหลเข้ามามากกว่า 200 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ยางที่รอเข้าตลาดมีเป็นจำนวนมากขณะที่ตลาดในแต่ละจุดสามารถบริหารจัดการได้เพียง 400-700 ตันต่อวันเท่านั้น และมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ในความล่าช้ากระบวนการขนส่ง และกระบวนการผลิตยางอัดก้อนหรือยางแท่ง และภาคขนส่งมีการต่อรองสูงจึงต้องใช้รถบรรทุกทางทหารเข้าสนับสนุนในการขนส่ง

ที่มา : ASTV ผู้จัดการออนไลน์ (วันที่ 2 มีนาคม 2558)