ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2015, 09:59:03 AM »

?อำนวย? ประชุมทางไกลแก้ปัญหายางพาราช่วงปิดกรีดยาง



?อำนวย? ประชุมทางไกลร่วมจังหวัด แจงการบริหารจัดการแก้ไขปัญหายางพาราในช่วงปิดกรีดยาง พร้อมหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระดับพื้นที่ เตรียมปรับแผนการผลิตและจำหน่ายยางในฤดูกาลผลิตหน้า


นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุม Video Conference ว่า เนื่องจากขณะนี้จะเข้าสู่ฤดูกาลปิดกรีดยาง จึงได้มีการประชุมชี้แจงการบริหารจัดการแก้ไขปัญหายางพาราด้วยกลไกคณะกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาสินค้ายางพาราอย่างเป็นระบบครบวงจร ระดับจังหวัด ทั้ง 69 จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสื่อสาร 2 ทางระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งคณะกรรมการที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาสินค้ายางพาราในระดับจังหวัด โดยได้มอบหมายให้แต่ละจังหวัดจัดทำแผนการผลิตและจำหน่ายยางพาราในฤดูกาลผลิตปี  2558/2559 ทั้ง 12 เดือน มายังส่วนกลาง ประกอบด้วย รายงานข้อมูลประมาณการสมดุลยางพาราของจังหวัด โครงสร้างอุตสาหกรรมยางของจังหวัด และระบบตลาดยางในจังหวัด ราคาและปริมาณยางพาราในตลาดของจังหวัด รวมทั้งวิเคราะห์สถานการณ์ยางของจังหวัด เพื่อนำมาวางแผนการผลิตและจำหน่ายยางพาราของประเทศโดยรวม โดยให้ส่งข้อมูลในวันที่ 5 มีนาคม 2558 และคาดว่าจะนำแผนมาปฏิบัติได้ประมาณเดือนพฤษภาคม 2558 เมื่อผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) แล้ว


พร้อมกันนี้ ได้รับฟังสภาพปัญหา และข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหายางพาราในพื้นที่ของแต่ละจังหวัด เช่น ต้องการให้สนับสนุนขยายตลาดกลางให้กว้างขวางขึ้น การปรับระบบเงินหมุนเวียนที่อยู่ในสภาพตลาด การขึ้นทะเบียนของเกษตรกรที่จะเข้ามาขายยางในตลาดควรแบ่งเกรดออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น ผู้เข้ามาขายยางรายใหญ่ รายปานกลาง และรายเล็ก เพื่อแยกการบริหารจัดการให้เกิดความชัดเจน ซึ่งเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ ทั้งนี้ ข้อมูลจากการรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหายางพาราจากจังหวัดต่างๆ ในครั้งนี้ จะนำไปปรับกลไกการการบริหารจัดการแก้ไขปัญหายางพาราในฤดูกาลผลิตหน้าให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น


ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558)