ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2015, 12:27:08 PM »


วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันพุธที่  25  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558



ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ทั่วทุกภาคของประเทศมีฝนลดลง และเริ่มมีอากาศร้อนขึ้นในตอนกลางวัน โดยภาคใต้มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 31 - 34 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ต้นยางให้ผลผลิตลดลงเร็วขึ้นจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและร้อนขึ้น


2. การใช้ยาง


- โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปี 2558 ได้ปรับยอดการผลิตรถยนต์เหลือ 2.15 ล้านคัน จากเดิม 2.20 ล้านคัน หลังจากยอดจำหน่ายในประเทศชะลอตัว โดยคาดว่ายอดจำหน่ายในประเทศอยู่ที่ 9.5 แสนคัน โตขึ้นกว่าร้อยละ 7.0 จากปีก่อน ลดลงจากเป้าเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1 ล้านคัน แต่ในส่วนของยอดส่งออกคาดว่าปีนี้จะทำได้ 1.20 ล้านคัน โตขึ้นกว่าร้อยละ 6.0 จาก 1.12 ล้านคันในปี 2557 โดยยังทำได้ดีทั้งตลาดยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกา ออสเตรเลีย โดยเฉพาะยุโรปโตขึ้นกว่าร้อยละ 30.0 สาเหตุจากการส่งออก ECO Car ได้มากขึ้น


3. เศรษฐกิจโลก


- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) กลุ่มยูโรโซนเดือนมกราคมปรับตัวลดลงแตะร้อยละ -0.6 ไม่เปลี่ยนแปลงจากรายงานเบื้องต้นที่มีการเปิดเผยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2558 และเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการเก็บสถิติในปี 2540 ตอกย้ำถึงความเสี่ยงที่ว่าภูมิภาคกำลังจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืด


- สำนักงานสถิติเยอรมันเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4 ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 0.7 สอดคล้องกับข้อมูลเบื้องต้นที่รายงานไปก่อนหน้านี้ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น


- ผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 57.0 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 และเพิ่มขึ้นจาก 54.2 ในเดือนมกราคม ขณะที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 54.0


- ผลสำรวจของคอนเฟอร์เรนซ์ บอร์ด ชี้ให้เห็นว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์ลดลงมากกว่าที่คาด หลังทะยานแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 7 ปีในเดือนมกราคม โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงสู่ระดับ 96.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2557 หลังจากเพิ่มขึ้นสู่ 103.8 ในเดือนมกราคม


- รัฐมนตรีกระทรวงการคลังยูโรโซนเห็นชอบต่อการขยายมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่อกรีซออกไปอีก 4 เดือน หลังจากที่ได้อนุมัติมาตรการปฏิรูปที่รัฐบาลกรีซได้ยื่นข้อเสนอก่อนหน้านี้ โดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังยูโรโซนได้ทำการประชุมทางโทรศัพท์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง


- การซื้อขายดอกเบี้ยระยะสั้น บ่งชี้ว่าเทรดเดอร์มองว่ามีโอกาสมากขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน หลังจากประธานเฟดแถลงต่อสภาคองเกรสในวันนี้


- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องตามที่เฟดคาดการณ์ไว้ และเฟดจะพิจารณาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยขึ้นอยู่กับการประชุมในแต่ละครั้ง ซึ่งบ่งชี้ถึงความยืดหยุ่นต่อการดำเนินการของเฟด และเป็นการสกัดกั้นปฏิกิริยาของตลาดก่อนถึงวันที่คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.56 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 118.69 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.25 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนเมษายน ปิดตลาดที่ 49.28 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.17 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากการคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ อาจสูงขึ้น หลังจากมีรายงานว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนเมษายน ปิดที่ 58.66 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.24 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคม อยู่ที่ 218.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 216.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.3 เยนต่อกิโลกรัม


- ตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 182.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- เจ้าหน้าที่คณะกรรมาธิการยุโรป (EC.) เปิดเผยว่า ข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปเศรษฐกิจที่รัฐบาลกรีซได้ส่งมอบให้กับรัฐมนตรีกระทรวงการคลังยูโรโซนสอดคล้องกับหลักการต่าง ๆ ที่ทางรัฐมนตรีกระทรวงการคลังยูโรโซนกำหนดไว้ ทำให้มีแนวโน้มว่ากรีซจะได้รับอนุมัติความช่วยเหลือทางการเงินต่อไปอีก 4 เดือน


- ผลสำรวจของสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ และเคส ซิลเลอร์ ระบุว่าราคาบ้านทั่วสหรัฐฯ ปีก่อนมีการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 ปี โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.6 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ในเดือนพฤศจิกายน


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นในช่วงแคบ ๆ เพราะสภาพอากาศที่ร้อนชื้น ทำให้ผลผลิตยางลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูยางผลัดใบ ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายกล่าวว่า ปริมาณยางที่ตกค้างอยู่ในตลาดกลางทั้ง 6 แห่ง ยังคงส่งผลทางจิตวิทยาเชิงลบ


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าโตเกียวปรับตัวสูงขึ้น และนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้กรีซ หลังจากที่ประชุมยูโรโซนมีมติเห็นชอบขยายเวลาเงินกู้ให้กรีซออกไปอีก 4 เดือน รวมทั้งอุปทานยางลดลงในช่วงฤดูยางผลัดใบ ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันยังคงปรับตัวลดลง และข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐฯ และยูโรโซน






ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา