ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2015, 10:20:52 AM »

แห่ขายยางพาราตลาดกลางบุรีรัมย์ซื้อราคาสูงกว่า 6-8 บาท



เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ชุมนุมสหกรณ์ และผู้ประกอบการที่รับซื้อยางของเกษตรกร จาก 24 จังหวัดทั่วประเทศ แห่นำรถบรรทุกยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควัน มาเข้าคิวรอขายที่ตลาดกลางบุรีรัมย์ที่รับซื้อราคาสูงกว่าท้องตลาด คึกคักวันละกว่า 200 ตัน จนสถานที่จัดเก็บไม่เพียงพอ ต้องหยุดรับชั่วคราว


วันนี้ (24 ก.พ.58) เกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยที่ชะลอนำออกมาขายช่วงราคาตกต่ำ รวมถึงชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง และผู้ประกอบการที่รับซื้อยางพาราของเกษตรกร จากทั่วประเทศทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน อาทิ จ.ตรัง ระยอง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี อุบลราชธานี ศรีสะเกษ พะเยา และจังหวัดอื่นๆ รวม 24 จังหวัด ได้แห่นำรถบรรทุกยางพาราแผ่นดิบ และยางแผ่นรมควันมาเข้าคิวรอขายที่ตลาดกลางยางพารา จ.บุรีรัมย์ ตั้งอยู่ ต.ชุมเห็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ ตาม ?โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง? ซึ่งเป็นหนึ่งใน 16 มาตรการของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือชาวสวนยางที่ประสบปัญหาราคายางตกต่ำ
โดยรับซื้อราคาสูงกว่าท้องถิ่นหรือท้องตลาดทั่วไปเฉลี่ยกิโลกรัมละ 6?8 บาท ซึ่งปัจจุบันยางแผ่นดิบรมควันตลาดกลางจะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 63.15 บาท ยางแผ่นดิบคุณภาพดีกิโลกรัมละ 58.55 บาท ขณะที่ท้องตลาดทั่วไปจะรับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 51 - 55 บาท ทำให้แต่ละวันได้มีเกษตรกร ชุมนุมสหกรณ์ และผู้ประกอบการ แห่นำรถบรรทุกยางพารามาเข้าคิวรอขายเฉลี่ยวันละกว่า 200 ตัน จนทำให้เป็นปัญหาในการตรวจคัดคุณภาพยางเนื่องจากเจ้าหน้าที่มีน้อย ประกอบกับสถานที่จัดเก็บไม่เพียงพอ ทำให้ทางตลาดกลางต้องงดรับคิวของผู้ประกอบการไว้ก่อนชั่วคราว เนื่องจากขณะนี้ยังมียางที่รับซื้อไว้ในโครงการฯ ที่ยังไม่ได้ระบายหรือส่งมอบให้กับบริษัทคู่สัญญามากกว่า 600 ตัน


นายทวีศักดิ์ อนุศิริ เจ้าพนักงานการเกษตร ชำนาญงาน ตลาดกลางยางพาราบุรีรัมย์ กล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง วันที่ 9 ธ.ค.2557 ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ได้มีเกษตรกร ชุมนุมสหกรณ์ฯ และผู้ประกอบการ นำยางพารามาขายที่ตลาดกลางแล้วกว่า 11,389 ตัน คิดเป็นมูลค่าเงินหมุนเวียนในการรับซื้อยางกว่า 667 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ยังมีเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับเงินอยู่กว่า 153 ล้านบาท เนื่องจากยังรอการอนุมัติจัดสรรจากรัฐบาล


อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีเกษตรกรที่ยังเหลือยางเก็บไว้นำมาขายอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะสิ้นสุดโครงการในเดือนเมษายน 2559
ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามรัฐ (วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558)