ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2015, 10:13:55 AM »

สวนยางแย่นายทุนดักซื้อฟันกำไรกันคึกคัก



พัทลุง * เผยปัญหายางพาราวิกฤติ เครือข่ายสวนยางร้องขายที่ตลาดกลางแล้วยังไม่ได้เงิน ขณะที่นายทุนใช้รถขนาดใหญ่กว้านซื้อคึกคัก ได้กำไรส่วนต่าง วอนให้รัฐบาลตรวจสอบ


นายไพรัช เจ้ยชุม ประธานเครือข่ายชาวสวนยางพารา จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ขณะนี้สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางพาราประสบปัญหาหนัก สำหรับพัทลุงยางพาราจมอยู่หลายร้อยล้านบาทที่ยังไม่สามารถระบายออกสู่ตลาดได้ เฉพาะในสถาบันกลุ่มของตนขายยางพาราที่ตลาดกลางตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ.58 จนถึงวันนี้ยังไม่ได้รับเงิน และยางพาราอีก 3 คันรถบรรทุก 6 ล้อ 20,000 กก. จอดอยู่ที่ตลาดกลางยางพารามา 15 วัน ก็ยังไม่สามารถนำยางออกขายในตลาดกลางได้ คราวนี้ปัญหายางพาราหนักกว่ารัฐบาลที่แล้วมาก หากไม่มีกฎอัยการศึกคงได้พบกับชาวสวนยางพาราทั้งประเทศแล้ว


นายไพรัชกล่าวว่า ขณะนี้โดยภาพรวมขาดสภาพคล่อง ไม่มีเงินจ่ายให้กับสมาชิกที่นำยางพารามาขาย จนต้องขายให้กับพ่อค้าคนกลางขนาดใหญ่ที่นำรถบรรทุกเทรลเลอร์หัวลากจูงขนาด 30 ตันมาซื้อกับสถาบันเกษตรกรเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ในราคา 54 บาท/กก. และ 55 บาท/กก. แล้วนำไปขายให้ตลาดกลางได้ราคา กก.ละ 63 บาท สถาบันเกษตรกรจำเป็นต้องขายเพื่อลงทุนและบริหารจัดการจ่ายเงินให้กับสมาชิก


"ขณะนี้โครงการมูลภัณฑ์กันชนล็อต 2 อีกจำนวน 6,000 ล้านบาท ตอนนี้กลุ่มนายทุนใหญ่เตรียมการอย่างขนานใหญ่เพื่อเข้ามากว้านซื้ออีกระลอก สถาบันเกษตรกรจำนวนมากแต่ละวันมีพ่อค้ารายใหญ่ประสานติดต่อหลายรายที่จะขอซื้อเพื่อนำเข้าสู่โครงการมูลภัณฑ์กันชนรอบ 2 รัฐบาลและคณะผู้รับผิดชอบเรื่องยางพาราสามารถลงไปตรวจสอบได้ที่ตลาดกลางยางพาราทุกแห่ง จะพบว่าเป็นของใคร ที่ว่าเป็นของชุมนุมสหกรณ์เป็นส่วนใหญ่นั้น ข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งเนื่องจากสถาบันเกษตรกรขาดสภาพคล่อง ขายยางพาราแล้วไม่ได้รับเงินมาตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ.จนถึงขณะนี้ ไปจอดรอคิว 15 วันแล้วยังไม่ได้ลงเข้าสู่ตลาดกลาง ไม่มีเงินหมุนเวียนจึงต้องขายให้พ่อค้ารถหัวลากจูงขนาด 30 ตัน เพื่อนำเงินสดมาจ่ายให้กับสมาชิก และค่าบริหารจัดการและจัดซื้อยางพาราวันต่อไป.


ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558)