ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2015, 01:43:09 PM »

ปลูก 'พืชแซมยาง' เสริมรายได้ ทางออกชาวสวนยางอีสานใต้





ทำมาหากิน : ปลูก 'พืชแซมยาง' เสริมรายได้ ทางออกชาวสวนยางอีสานใต้ : โดย...ฉัตรสุดา สุวรรณจตุพร


จากปัญหาราคายางตกต่ำ ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ดังนั้นเกษตรกรชาวสวนยางจำนวนไม่น้อยจึงต้องหันมาปลูกพืชแซมสวนยางเพื่อหาอาชีพเสริมสร้างรายได้ตามนโยบายของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) มาใช้จ่ายให้เพียงพอในการดำรงชีวิตในแต่ละวัน


ทองจันทร์และดวงมี สุทธิวรรค สองสามีภรรยาประกอบอาชีพทำสวนยางในต.จานใหญ่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเลือกเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพเสริมหลังจากการทำสวนยาง เนื่องจากเลี้ยงง่าย ใช้พื้นที่ไม่มากสามารถเลี้ยงในบริเวณบ้านได้ มีรายได้พอสำหรับใช้จ่ายในครัวเรือน และต้นทุนต่ำ โดยเริ่มเลี้ยงจิ้งหรีดมาได้ประมาณ 5 ปีแล้ว เนื่องจากปัญหาราคายางต่ำ โดยเริ่มจากการทำกล่องเลี้ยง ใช้ถาดไข่เป็นรังในการเลี้ยง กล่องหนึ่งใช้ประมาณ 30 ถาด ลงทุนไข่จิ้งหรีด ถาดละ 150 บาท มีตัวประมาณ 3-4 กิโลกรัมต่อถาด เลี้ยงโดยให้อาหารจิ้งหรีดคือ หัวอาหารจิ้งหรีด ใบมันสำปะหลังและเศษอาหารอื่นๆ เช่น ฟักทอง เศษผัก เป็นต้น


"ระยะเวลาในการเลี้ยง ถ้าในอากาศร้อนใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 35-40 วัน และอากาศเย็นใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 50-60 วันถึงสามารถจับขายได้ ขายเป็นแบบสดแล้วนำไปบริโภค ส่งขายกิโลกรัมละ 150 บาท มีรายได้อยู่ที่ประมาณ 5,000-6,000 บาทต่อเดือน สิ่งที่ต้องระวังที่สุดในการเลี้ยงคือ หนู เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการปิดกล่องเลี้ยงให้ดีกันการเข้าทำลาย"


เช่นเดียวกับภู จัทรวงศ์ เกษตรกรชาวสวนยางในอ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษอีกราย ใช้พื้นที่ที่ว่างระหว่างต้นยางในการปลูกไม้ผลต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ควบคู่กันไป โดยมีพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด 14 ไร่ แต่เดิมเป็นสวนเงาะและทุเรียนทั้งหมด เมื่อประสบปัญหาเงาะราคาตกต่ำ จึงโค่นเงาะออกทั้งหมดแล้วหันมาปลูกยางพาราแทน หลังได้ต้นยางสนับสนุนจากโครงการยาง 8 แสนไร่ แต่เนื่องจากยางต้องใช้เวลาประมาณ 5-6 ปีในการปลูกกว่าจะกรีดได้ จึงซื้อไม้ผลมาปลูกแซมเพื่อสร้างรายได้ระหว่างปลูกยางไปด้วย ปัจจุบันไม้ผลที่ปลูกอยู่ก็มีกล้วยไข้, ส้มเขียวหวาน, ทุเรียน, มังคุด, ลองกอง ส่วนรายได้หลักตอนนี้มาจากกล้วยไข่ที่สามารถทำรายได้มากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน


ด้าน ปิยะ วงศ์วิวรรธน์ ผอ.สกย.จ.ศรีสะเกษ ระบุว่า ในจ.ศรีสะเกษประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร สวนยาง ทำนา พืชไร่ จากสถานการณ์ภาวะราคายางตกต่ำ ทำให้รายได้ที่เคยได้ลดลงก็พยายามที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางประกอบอาชีพเสริมต่างๆ เพื่อเป็นทางเลือก หรือเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เพิ่มรายได้ในครัวเรือน ให้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสงบสุขและมีความอยู่ดีกินดีตามอัตภาพ


"ปัจจุบัน สกย.ได้จัดงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อเป็นทุน เรียกว่าเงินทุนหมุนเวียนของเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อทำอาชีพเสริมโดยจะให้กู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 2 บาทต่อปี ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรชาวสวนยางเข้ามาใช้บริการมากขึ้น แต่การกู้จะต้องคำนึงถึงตัวเกษตรกร สภาพพื้นที่และความพร้อมด้วย ว่าเหมาะที่จะทำอะไร เพื่อที่สกย.จะได้มีการให้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่วนมากจะขอกู้ไปใช้ปลูกพืชแซมในแถวปลูกยาง ในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต ทางสกย.ก็มีการสนับสนุนการฝึกอบรมปุ๋ยสั่งตัด ให้ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง?


การปลูกพืชแซมในสวนยาง นับเป็นอีกทางออกสำหรับเกษตรกรชาวสวนยางที่ใช้เป็นแนวทางการหาอาชีพเสริมรายได้ ในช่วงที่มีปัญหาราคายางตกต่ำเป็นอยู่ในขณะนี้ หากเกษตรกรคนใดสนใจจะปลูกพืชแซมยางบ้างสามารถเข้ารับข้อมูลและคำปรึกษาได้ที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางของจังหวัดนั้นๆ


ที่มา คมชัดลึก


 
10/2/2015