ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2015, 03:11:44 PM »

ซื้อน้ำยางสดแค่ 42 บาท/กก.เสนอครม.ของบ4,000 ล้าน

"อำนวย"ยืนยันรับซื้อน้ำยาสด 42 บาท/กก.จนถึงช่วงปิดกรีดเข้า ครม.อังคารนี้ เบิกวงเงินบัฟเฟอร์ฟันด์เพิ่ม 4000 ล้านบาท สกย.คาดการณ์ปริมาณน้ำยางสด ก.พ.-มี.ค.นี้ออก 6 หมื่นตัน

นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า มาตรการที่จะใช้วงเงินในโครงการกองทุนมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง(บัฟเฟอร์ฟันด์) เพื่อรับซื้อน้ำยางสดโดยตรงจากชาวสวนยางที่ราคา 40 บาท/กก. ซึ่งสูงกว่าราคาที่เอกชนรับซื้ออยู่ขณะนี้ จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในวันที่ 10 ก.พ.นี้ รวมถึงการขอเบิกงบประมาณ รอบที่สองของบัฟเฟอร์ฟันด์ ซึ๋งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอขอจำนวน 4000 ล้านบาท

นายอำนวยกล่าว่า การรับซื้อน้ำยางสดจะดำเนินการเพียงระยะสั้นในช่วงก่อนปิดกรีดฤดูกาลนี้ หลังจากเปิดกรีดแล้วจะมีมาตรการอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโดยองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) เมื่อรับซื้อแล้วจะจัดจ้างโรงานเอกชนเพื่อแปรรูป

ด้านการเจรจาซื้อขายยางแบบรัฐต่อรัฐกับประเทศรัสเซีย นายอำนวยกล่าวว่า ทางการรัสเซียยังต้องการซื้อยางพารา 8 หมื่นตันจากไทยโดยยังไม่ระบุชนิดยาง แต่รัสเซียมีความต้องการจำหน่ายยุทธภัณฑ์ทางทหารให้ไทย ซึ่งจะไม่ใช้ลักษณะการแลกเปลี่ยนโดยตรง แต่เป็นสัญญาซื้อขายแยกกัน

นายประสิทธิ์ หมีดเส็น รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง( สกย)กล่าวว่า สกย.มีจุดรับซื้อน้ำยางสดกว่า 200 จุด และคาดการณ์ว่าในเดือน ก.พ.-มี.ค.นี้จะมีน้ำยางสดออกประมาณ 6หมื่นตัน

"อสย.มีศักยภาพรับน้ำยางสดเพื่อแปรรูปเองได้ 300-400 ตัน/วัน ขณะที่การรับซื้อของเราเฉลี่ย 1000 ตัน/วันดังนั้น ส่วนเกินที่เหลือหากจะนำไปแปรรูป อ.ส.ย. จะต้องจัดจ้างโรงงานเอกชนเตรียมไว้ เพราะน้ำยางสดไม่สามารถเก็บได้นาน ต้องแปรรูปทันทีก็ตจะต้องรอ ครม.อนุมัติก่อน" นายประสิทธิ์กล่าว


ที่มา  ประชาชาติธุรกิจ (ข่าวเกษตร)