ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2015, 10:37:20 AM »

สนช. ผ่าน พ.ร.บ.สวนป่า ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ตัดไม้ยางพารา ออกจากบัญชีแนบท้าย


วันศุกร์ที่ 06 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 08:43 น.


สนช. ผ่าน พ.ร.บ.สวนป่า เปิดช่อง ให้เกษตรกรขึ้นทะเบียนสวนป่าตามสมัครใจ  แก้ ?โทษปรับ-อาญา? เป็นโทษทางปกครองแทน พร้อมตัดไม้ยางพารา ไม้เศรษฐกิจ ออกจากบัญชีแนบท้าย



เมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ รัฐสภา พล.อ.ดนัย มีชูเวท ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.)การเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะประธานคณะกมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.สวนป่า (ฉบับที่) พ.ศ... แถลงว่า ที่ประชุมสนช.มีมติเห็นชอบในวาระ 3 ในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว โดยมีสาระที่สำคัญในมาตรา 3 เรื่องการนิยามคำว่า ?สวนป่า? ซึ่งหมายความว่า ที่ดินที่ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อทำการปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มและถอนรายชื่อต้นออกจากบัญชีแนบท้ายได้โดยให้ออก เป็นพระราชกฤษฎีกา จากเดิมที่นำเข้าไปแต่ไม่สามารถนำออกได้ ทั้งนี้ ได้มีการตัดรายชื่อต้นไม้ที่อยู่ในบัญชีแนบท้ายพ.ร.บ.จำนวน 8 รายการจากที่ครม.เสนอเข้ามาจำนวน 66 รายการ อาทิ ยางพารา มะฮอกกานี โกงกาง ยูคาลิปตัส กระถิน สนประดิพัทธิ์ เสม็ด เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตเกษตรกรและเพื่อความเหมาะสม ส่วนผู้ที่ต้องการขึ้นทะเบียนตามพ.ร.บ.สวนป่า เป็นไปตามด้วยความสมัครใจ โดยหากขึ้นทะเบียนแล้วก็จะได้รับสิทธิ์ต่างๆโดยไม่ต้องเสียค่าทะเบียน สามารถตัดโค่น แปรรูปไม้หรือเคลื่อนย้ายได้ โดยได้รับการยกเว้นไม่เสียค่าบำรุงหรือค่าภาคหลวง ซึ่งจะไม่กระทบกับประชาชนโดยทั่วไปหรือผู้ทำสวนป่ารายย่อย หรือเกษตรกรชาวสวนที่จะรื้อ โค่ย ตัด สวนยางเพื่อปลูกใหม่ แต่จะกระทบกับผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายเท่านั้น
พล.อ.ดนัย กล่าวต่อว่า สำหรับโทษผู้ที่ฝ่าฝืนจากเดิมมีทั้งโทษอาญา ทั้งจำคุกและปรับ กมธ.เห็นว่า กฏหมายฉบับนี้เป็นการส่งเสริมดังนั้นควรจะให้มีบทลงโทษทางปกครองแทน โดยดูเรื่องเจตนาเป็นหลัก หากมีการละเมิดก็ใช้วิธีการตักเตือน และที่สุดคือการถอนการขึ้นทะเบียนสวนป่า โดยผู้ทำสวนป่าไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย โดยไม่จัดทำบัญชีแสดงชนิดจำนวนไม้ที่ปลูกตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด ซึ่งกมธ.ได้ตัดโทษจำคุกออกเหลือเพียงโทษปรับ 10,000 บาท หรือหากทำบัญชีเป็นเท็จต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ส่วนกรณีความผิดจากการค้า มีไว้ในครอบครอง หรือนำไม้มาสวมตอ จะมีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ


ที่มา : มติชน  วันที่ 05 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 18:01:04 น.