ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มกราคม 31, 2015, 10:06:29 AM »


นักวิชาการหนุนใช้ยางพาราในประเทศ


การนำยางพาราไปเป็นส่วนผสมกับยางมะตอย ในสัดส่วน 5% ราดถนน ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถทำได้จริง และได้ผลจริง ซึ่งหากมีการนำไปใช้อย่างจริงจัง จะช่วยดูดซับปริมาณยางในประเทศได้ถึง 5 หมื่นตัน


ถนนสายสนามชัย-ท่าตะเกียบ ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะทาง 1,100 เมตร เป็นตัวอย่างความสำเร็จของการนำยางพารา ไปเป็นส่วนผสมราดถนน ผ่านมากว่า 13 ปีแล้ว สภาพถนนยังใช้การได้ดี ไม่ผุพัง และไม่ต้องซ่อมแซมแต่อย่างใด


และล่าสุดกับการก่อสร้างและปรับปรุงถนนที่ชำรุดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 37 เส้นทาง ใน 37 อำเภอ รวมระยะทางกว่า 164 กิโลเมตร ที่รัฐบาลส่งเสริมให้นำยางพารา กว่า 300 ตัน มาเป็นส่วนผสมกับยางมะตอยราดถนน แม้ต้นทุนจะสูงกว่าการใช้ยางมะตอย 15-20% แต่ถ้าเทียบกับอายุการใช้งานที่ทนทานกว่าถนนที่ราดด้วยยางมะตอยถึง 2.9 เท่าตัว จะช่วยประหยัดงบประมาณในการซ่อมแซมได้จำนวนมาก


ซึ่งในเรื่องนี้ นายพิเชษฐ์ พร้อมมูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง ยอมรับว่า ปัจจุบันไทยมีสัดส่วนของถนนที่มาจากการนำยางธรรมชาติผสมยางมะตอยน้อยมาก ทั้งๆ ที่ไทยประสบความสำเร็จในการวิจัยเรื่องนี้มากว่า 64 ปีแล้ว แต่ปัญหา คือ ขาดการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการในประเทศเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิต ขณะเดียวกันสถาบันวิจัยยางได้พัฒนาสูตรการนำยางธรรมชาติมาผสมในสัดส่วนที่มากขึ้นถึงร้อยละ 50 พร้อมๆกับการสื่อสารให้ทั่วโลกเห็นถึงคุณสมบัติของการใช้ยางธรรมชาติมาทำถนน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการการใช้ยางธรรมชาติ


ล่าสุดทางการมาเลเซีย ได้มาขอเทคโนโลยีนี้ไปสร้างถนนทั้งประเทศในเร็วๆ นี้ ขณะที่ประเทศไทย หากมีการนำไปใช้ทั่วประเทศ จะใช้ยางพาราสูงถึง 30,000-50,000 ตัน ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับการปริมาณและการใช้ยางธรรมชาติให้มีเสถียรภาพในระยาว


สอดคล้องกับมุมมมองของนักวิชาการ อย่างนายอัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์เห็นว่า จะต้องเพิ่มการใช้ยางพาราภายในประเทศให้ถึงร้อยละ 40 จากปัจจุบันที่ใช้เพียงร้อยละ 14 ซึ่งถ้าทำได้ ก็เชื่อว่าจะทำให้ราคายางอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 70 บาทได้


นอกจากนี้ จะต้องส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปของสหกรณ์ เข้ารับซื้อและแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าและเพิ่มอำนาจต่อรอง รวมถึงการขยายตลาดกลางยางพารา และอาจถึงขั้นต้องกำหนดปริมาณยางที่จะออกสู่ตลาด หากทำได้ ก็จะทำให้ราคายางพารามีเสถียรภาพได้ในระยะยาว


ที่มา : ครอบครัวข่าว 3


 
30/1/2015