ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มกราคม 28, 2015, 01:18:46 PM »

เกษตรบูรณาการ : เกษตรวันนี้... สุดสถานีที่บางอ้อ


หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- จันทร์ที่ 26 มกราคม 2558 06:00:00 น.

สงสัยกันมานานข้ามปี ถึงสถานการณ์ราคายางพารา ที่จนถึงวันนี้ แม้รัฐบาลจะมีมาตรการออกมามากมายแต่สุดท้ายก็ยังไม่ถึง 60 บาทต่อกิโลกรัมเสียที ย้อนหลังมาดูก่อนสิ้นปี 2557 ที่ผ่านเหตุการณ์มากมายที่รัฐบาลประกาศลั่นว่าจะเดินหน้าแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร ได้ลืมตาอ้าปาก ฉีกยิ้มได้เสียที และสุดท้ายก่อนสิ้นปี เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 ที่ครม. ส่งมือดี  ?อำนวย ปะติเส? เข้ามาเป็นรมช.ที่บอกว่าเก่งนักเก่งหนา มาช่วยแก้ปัญหาเรื่องราคายางพารา


ต้องบอกว่าที่พูดมาไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะการเดินหน้าแก้ปัญหายางพาราของกระทรวงเกษตรฯ น่าจะสะดุดและทำไม่ได้ ตามที่รัฐบาลประกาศเอาไว้เพราะดูเอกสารการทำสัญญาซื้อขายยางพารา ระหว่างเอกชนจีนและไทย จำนวน 2 แสนตัน ที่ ?อำนวย? อ้างนักอ้างหนาว่าจะทำให้ยางพาราขยับราคาสูงขึ้นให้ได้ที่ 60 บาทต่อกิโลกรัม ภายใน 1 สัปดาห์ หลังวันที่รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เพราะได้ลงนามขายยางพาราให้กับเอกชนจีน กิโลกรัมละ 62.50 บาท และ 63 บาทบ้าง ซึ่งก็ไม่เคยตรงกัน และถามใคร ในกระทรวงฯก็ไม่มีความชัดเจน ล้วนแต่ตอบคลุมเครือ


ถึงวันนี้เอากันให้ชัดในสัญญาที่ระบุตามเลขหนังสือสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ยาง สัญญาเลขที่ กษ.002/2557 ระบุวันที่ทำสัญญาคือ 21 พฤศจิกายน 2557 ระหว่างองค์กรสวยยาง โดย ชัยชนะ เปล่งศิริวัธน์ ผอ.องค์การสวนยางในขณะนั้น ก่อนจะถูกออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา กับทาง CHINA HAINAN  โดยตกลงซื้อยาง เป็นยางพาราในช่วง ค.ศ.2011-2012 เป็นจำนวนยางแผ่นรมควัน 176,000 ตัน ในราคา 63.56 บาทต่อกิโลกรัม และยาง STR อีก 32,000 ตัน ในราคา 55.50 บาทต่อกิโลกรัม และหักค่าดำเนินการอีก 3.30 บาทต่อกิโลกรัม ส่งมอบยางทั้งหมด ภายใน 10 เดือน เดือนละ 20,000 ตัน นั่นยังไม่รวมการตัดเรื่องคุณภาพ ที่ต้องลดลงอีกซึ่งเป็นที่น่าแปลกว่าในการกำหนดในสัญญาอีกว่า สำหรับคุณภาพให้ทั้งสองฝ่ายตั้งคณะกรรมการมากำหนดร่วมกัน และใช้เกณฑ์คุณภาพตามราคาอีกครั้ง แถมยังมีการกำหนดการค้ำประกันสัญญาที่ร้อยละ 1 ซึ่งเท่ากับซื้อของ 100 บาทแค่ 1 บาท ซึ่งถือว่าเสี่ยงที่จะเบี้ยวไม่รับยางได้ทันที เหมือนที่เคยทำมาโดยปกติจะไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5  คือซื้อยางจำนวน 2 แสนตัน วงเงินค้าขาย เป็นเงินเกือบ 2 หมื่นล้านบาท มีหลักทรัพย์ ค้ำประกัน 120 ล้านบาท


นั่นยังไม่หนำใจ ยังมีการสอดไส้สัญญาเอกสารแนบท้าย สัญญาผนวก 2 หลักเกณฑ์การกำหนดคุณภาพ การปรับลดตามคุณภาพ โดยใช้เกณฑ์ปรับลดต่อกิโลกรัม โดยระบุยางเสียรูปทรง ลดลงอีก 0.28 บาท ยางที่มีราสนิม และความชื้นปรับลด 0.97 บาท และยางที่มีราสีขาว และมีความชื้นสูง ปรับลด 4.48 บาท แถมยังกำหนดฐานราคายางที่นำมาคิดเป็นราคารับซื้อในเอกสารแนบท้ายนี้ให้ใช้ราคา FOB  กรุงเทพฯ  ณ วันที่ลงนาม ในหนังสือสัญญาแสดงเจตนา  ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2557 ระบุราคารับซื้อที่ยางแผ่นรมควันที่ 50.95 บาทต่อกิโลกรัม ล่าสุดส่งยางให้จีนได้เพียง 377 ตัน ในราคาเกรดยางต่ำสุด ที่หักแล้วเหลือที่กิโลกรัมละ 46.47 บาท หรือถ้าเขาบอกว่ายางเราดีสุดก็แค่กิโลกรัมละ 49.98 บาท นั่นไม่รวมเอกสารแนบท้ายผนวก 4 ที่ซ่อนเงื่อนเอาใจเอกชนจีนสุดๆ ที่สามารถทิ้งสัญญา เหมือนที่เคยทำกับเรื่องข้าวกับกระทรวงพาณิชย์ได้เลย ทราบหรือยังครับท่านว่าทำไม เข็นอย่างไร ทำไมราคายางมันไม่ขยับ แล้วการที่จะขอให้เอกชน ที่เขาค้ายางมาช่วยซื้อในราคาที่กิโลกรัมละ 60 บาท แล้วใครจะซื้อ ก็รัฐบาลขายให้ต่างประเทศ ที่ทำสัญญาเอาไว้  อย่างดีสุดก็ไม่เกินกิโลกรัมละ 50 บาท แล้วอย่างนี้จะเรียกว่าสุดสายที่บางอ้อได้หรือยังท่านรัฐมนตรี และ ครม. ทั้งคณะ ถ้าแน่จริงเปิดสัญญาให้เกษตรกรชาวสวนยางและคนทั้งประเทศ เห็นสิครับและบอกมาว่าที่ว่ามาทั้งหมด มันไม่จริง ระวังว่าแต่เขาอิเหนาจะเป็นเองนะท่าน


ข้าวประดับดิน