ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มกราคม 24, 2015, 09:37:08 AM »

"พล.อ.ประวิตร" เตรียมดันราคายางพาราให้ได้80บาท/กก. เผยผู้ประการรับซื้อไม่จำกัด


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558 พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับผู้ประกอบการยางพารารายใหญ่ 5 แห่งว่า ผู้ประกอบการพร้อมให้ความร่วมมือในการรับซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยาง ให้ได้ราคากิโลกรัมละ 80 บาท ตามความต้องการของเกษตรกร โดยจะรับซื้อไม่จำกัดจำนวนและพยายามผลักดันราคายางให้ได้กิโลกรัมละ 80 บาทโดยเร็วที่สุด และเชื่อว่าหลังจากนี้คงจะไม่มีการชุมนุมเรียกร้องในเรื่องราคายางอีก เพราะถือว่าได้คำรับยืนยันจากภาคเอกชนโดยตรงที่จะช่วยเหลือเกษตรกร

ด้าน พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า การหารือในวันนี้ (21ม.ค.) ได้ติดตามมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ยังไม่สามารถ ดำเนินการได้เต็มที่ ทั้งการให้วงเงินสินเชื่อจากธนาคารกรุงไทยในการสนับสนุนผู้ประกอบการรับซื้อน้ำยางจากเกษตรกร และการให้สินเชื่อจากธนาคารออมสิน เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงงานยางพาราสามารถนำไปขยายโรงงาน ปรับปรุงโรงงาน หรือปรับปรุงเครื่องจักร ซึ่งหลังจากการพูดคุยจะมีการปรับปรุงเงื่อนไขของธนาคารในบางเรื่องเพื่อให้ ธนาคารให้วงเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการได้อย่างเต็มที่โดยผู้ประกอบการที่ เข้าร่วมประกอบด้วย บริษัท ศรีตรัง รับเบอร์แอนด์แพลนเทชั่น จำกัด ซึ่งมีนายชัยยศ สินเจริญกุล ในฐานะนายกสมาคมยางพาราไทยเป็นเจ้าของกิจการ, บริษัท เซาท์แลนด์ รับเบอร์ จำกัด, บริษัท ยางไทยปักษ์ใต้ จำกัด, บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเทคซ์คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด และบริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด

พ.อ.วินธัย กล่าวว่า ในส่วนงบประมาณที่ใช้นั้น เป็นงบที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว แต่ติดขัดเรื่องการนำไปใช้ โดยการดำเนินการดังกล่าวจะใช้งบประมาณทั้งหมดกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท  โดยเป็นเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตร และธนาคารออมสินกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่อีก 1 หมื่นล้านบาท มาจากธนาคารกรุงไทยกว่า 2,000 ล้านบาท และที่เหลือมาจากธนาคารอื่นๆ และจากงบประมาณของคณะกรรมการนโยบายยางพาราแห่งชาติ

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์