ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มกราคม 22, 2015, 08:45:37 AM »

รบ.ทุ่ม 2.5 หมื่นล.อุ้มชาวสวนยาง หวังดันราคาขึ้นโลละ 80บ.



รัฐบาล ทุ่มงบฯ 2.5 หมื่นล้าน ให้ผู้ประกอบการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทำจากยางพารา หวังอุ้มชาวสวนยาง "บิ๊กป้อม" ฟุ้ง 1 เดือน ราคาแตะ 80 บ./กก.


วันที่ 21 ม.ค. เมื่อเวลา 15.00 น.ที่อาคารรับรองเกษะโกมล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมเพื่อติดตามการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ โดยมีนายไชยยศ สินเจริญกุล นายกสมาคมยางพารา ผู้ประกอบการภาคเอกชน เกษตรกร เข้าร่วมประชุม จากนั้น พล.อ.ประวิตร ได้แถลงว่า ในการประชุมร่วมกับนายกสมาคมยางพารา ภาคเอกชน เกษตรกร เพื่อแก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำ โดยได้ข้อสรุปว่า ราคายางพาราจะปรับขึ้นราคาตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป คาดว่า ภายใน 1 เดือน ราคาจะไปอยู่ที่ 80 บาท ต่อกิโลกรัม เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ตนมองว่า ถ้าราคายางพาราไม่ถึงกิโลกรัมละ 80 บาท จะทำให้เกษตรกรชาวสวนยางลำบาก และต่อไปจะไม่มีม็อบยางพาราอีกต่อไป


"ผมยืนยัน ว่าสามารถทำได้จริง การปรับราคายางในกิโลกรัมละ 80 บาท เป็นเรื่องกล้วยๆ ถ้าทำไม่ได้ผมจะมาแถลงข่าวได้อย่างไร แต่ราคายางต้องค่อยๆ ปรับตัวขึ้น โดยจะเริ่มตั้งแต่วันนี้ และมั่นใจว่าภายใน 1 เดือนราคาจะอยู่ที่ 80 บาท แน่นอน" พล.อ.ประวิตร กล่าว


ด้านนายไชยยศ สินเจริญกุล นายกสมาคมยางพารา กล่าวว่า การปรับขึ้นราคายางจะเป็นไปตามกลไกตลาด ทั้งนี้หากเกษตรชาวสวนยาง จะระงับการขายยางพาราในระยะนี้ เพื่อรอให้ราคายางปรับขึ้นถึง 80 บาท ต่อกิโลกรัมก็เป็นเรื่องของเกษตรกรจะตัดสินใจ ยืนยันว่า ทางผู้ประกอบการจะรับซื้อยางพาราไม่อั้น


พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคสช. กล่าวว่า รัฐบาลให้การสนับสนุนภาคเอกชน โดยให้ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมปล่อยสินเชื่อโดยใช้งบประมาณ 25,000 ล้านบาท ให้ผู้ประกอบการในส่วนของธนาคารออมสิน จะให้สินเชื่อในการปรับปรุงเครื่องมือด้านอุตสาหกรรม ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเหลือปรับปรุงกิจการที่มีเครื่องมือในการจัดทำผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางพารา เช่น ถุงมือ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ส่วนธนาคารกรุงไทย ให้ออกสินเชื่อกับเอกชน หรือผู้ประกอบการ พ่อค้า ในการรับซื้อน้ำยางสดจากเกษตรกร


ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (วันที่ 22 มกราคม 2558)