ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มกราคม 19, 2015, 07:48:20 PM »

"ยางพารา" วูบหนัก ใกล้ 3 กิโล100บาทอีก

18 มกราคม 2558 เวลา 17:43 น


ราคายางพารายางร่วง ใกล้ 3 กิโลกรัม 100 บาท สหกรณ์พัทลุงเผยชาวสวนแห่นำน้ำยางสดมาขายจนเกินกำลังผลิตเมื่อวันที่ 18 ม.ค.เจ้าของสวนยางพาราหมู่ 2  บ้านทุ่งเหรียง เทศบาลตำบลควนเสาธง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่าในระยะ 3 วันนี้ ยางพาราเฉพาะน้ำยางสด ราคาร่วงวันละ 2 บาท จาก 40 บาท  มาเหลือที่ 38 บาท และวันนี้อยู่ที่ 36 บาท  ซึ่งกำลังจะถึงจุดเดิมที่อยู่ 32 บาท / กก. ที่ราคา 3 กิโลกรัมไม่ถึง 100 บาท


นายไพรัช เจ้ยชุมระธานเครือข่ายชาวสวนยางจังหวัดพัทลุง  เปิดเผยว่า วันนี้บ่อน้ำยางสด  ของเอกชน บริษัท  รับซื้ออยู่ที่ 37 บาท / กก.  ขณะนี้สถาบันเกษตรกร เช่น สหกรณ์รับซื้อน้ำยางสดอยู่ที่ 45 บาท จนสหกรณ์ต่าง ๆ  มีชาวสวนยางแห่กันมาขายสหกรณ์จนไม่สามารถรองรับ โดยเกินกำลังการผลิต ของสหกรณ์ จนต้องเทน้ำยางสดไปขายให้กับบ่อน้ำยาง  จนสหกรณ์ต้องประสบกับภาวะขาดทุน ซื้อ 45 บาท ขาย 37 บาท / กก.  สำหรับสหกรณ์กลุ่มตน สามารถรับได้วันละ 6 ตัน



ประเด็นสำคัญคือสมาชิกสหกรณ์กลับพ่วงเอาน้ำยางสดของคนที่ไม่ใช่สมาชิกเข้ามาขายด้วย  เป็นการสวมเบอร์สมาชิกสหกรณ์  ขณะนี้เกิดการสวมเบอร์  มีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์   เพราะคนที่ไม่ใช่เป็นสมาชิกสหกรณ์ เขาจะเสียโอกาส หากไม่ทำเช่นนั้น?


นายไพรัชยังกล่าอีกว่า ตอนนี้โครงการมูลภัณฑ์กันชน  ที่รัฐบาลซื้อชี้น้ำราคา จนราคายางแผ่นรมควันมาอยู่ที่ 62 บาทเศษๆ / กก.  เงินงบประมาณนี้ใกล้จะหมดแล้ว โดยล๊อตแรกจำนวน 6,000 ล้านบาท   แต่เมื่อหมดเงินโครงการมูลภัณฑ์กันชนแนวโน้มทิศทางที่ราคาจะลงมาอยู่ที่ 3 กิโลกรัม 100 บาทอีก


โครงการมูลภัณฑ์กันชน   เป็นโครงการเข้าทางกลุ่มการค้ายางขนาดใหญ่   เสียประมาณ  80  เปอร์เซ็นต์ ส่วนสถาบันเกษตรกร มีส่วนได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์โดยยางพาราส่วนใหญ่จะมาจากภาคใต้ตอนบนเสียมาก?นายไพรัชกล่าว.





ที่มา โพสต์ทูเดย์