ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มกราคม 14, 2015, 01:40:28 PM »

"บิ๊กตู่" รับปัญหายาง เป็นระเบิดเวลา (14/01/2558)


เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่ตัวแทนชาวสวนยางเสนอให้ คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อยกเลิก พ.ร.บ.สวนป่าแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เพื่อให้การแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ยุติลง ว่า กฎหมายฯ ดังกล่าวอยู่ในระหว่างที่ สนช.กำลังพิจารณา แต่คนข้างนอกกลับตีกัน ก็ต้องดูในรายละเอียด โดยกฎหมายที่จะออกมา ต้องไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ซึ่งจะบอกไปยัง สนช.ให้พิจารณาในส่วนนี้ด้วย ทั้งนี้การเรียกร้องของชมรมชาวสวนยาง อยากให้รวมตัวกันให้ได้ เพราะเมื่อเรียกประชุมบางคนเห็นด้วย บางคนไม่เห็นด้วย คนเหล่านี้เป็นคนของกลุ่มการเมืองทั้งสิ้น การจะชอบใครตนห้ามไม่ได้ แต่ถ้ารวมตัวกันได้ เราจะได้ช่วยได้ถูก ส่วนความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาราคายางพารานั้น รัฐบาลทำมาตลอด โดยได้มีการหารือกับประเทศมาเลเซียแล้วว่า จะทำอย่างไรให้ยางมีราคาสูงขึ้น


 "อย่าบอกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะผมเข้ามาบริหาร มันเป็นระเบิดเวลามานานแล้ว ที่เรียกว่ากับดักประชาธิปไตย ที่ทุกคนเลือกมาจะต้องบริหารจัดการทำให้เกิดประโยชน์ ถ้าทำได้ดีเหมือนที่ผมเข้ามา ก็ไม่ต้องเหนื่อยแบบนี้ ต้องวางอนาคตให้ดี อย่ารังเกียจผม เพราะผมเข้ามาก็ต้องรับทุกเรื่องอยู่แล้ว จะดีหรือไม่ไม่รู้ แต่ผมคิดที่จะทำ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว


 ทางด้าน นายอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงความคืบหน้าการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางและการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ ว่า ขณะนี้รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งราคายางปัจจุบันอยู่ที่กิโลกรัมละ 62 บาท โดยตั้งเป้าว่าภายใน 2 เดือน ราคายางจะสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 65 บาท เชื่อว่าสามารถทำได้ ก็จะเป็นผลดี ส่วนการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้นั้น เกษตรกรต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ โดยการรับซื้อผ่านตลาดกลางที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ขณะเดียวกันเกษตรกร ก็อยากให้มีการปรับปรุงสภาพการซื้อขาย ซึ่งทางกระทรวงฯ กำลังดำเนินการช่วยเหลือในเรื่องนี้ โดยขณะนี้มีตลาดกลางทั้งหมด 10 แห่ง และเครือข่ายจำนวน 108 แห่งทั่วประเทศ ที่สามารถทำให้เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย จากนั้นก็จะขยายจากตลาดกลางสู่ตลาดท้องถิ่นต่อไป.


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (วันที่ 13 มกราคม 2558)