ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 25, 2014, 09:07:31 AM »

ราคายางพาราขณะนี้ต่ำกว่าต้นทุน และสมาคมผู้ผลิตกำลังหาทางแก้ไขวิกฤติการณ์

iาคายางพาราตกต่ำขณะนี้ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต และกล่าวโทษกันว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศผู้ซื้อลดการนำเข้า

ราคายางพาราตกต่ำขณะนี้ ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต และกล่าวโทษกันว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศผู้ซื้อลดการนำเข้า ในขณะที่นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า ปริมาณการผลิตสูงกว่าความต้องการ

สวนยางในประเทศไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย ป้อนยางพาราเข้าตลาดโลกราวๆ สองในสามของปริมาณที่ซื้อขายกันในแต่ละปี มูลค่าของตลาดยางพาราโลกสูงประมาณ 3 หมื่น 6 พันล้านดอลล่าร์

นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร หรือ CEO ของบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด บอกกับ VOA ว่าสวนยางกำลังกำลังประสบปัญหาราคายางต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ซึ่งสืบเนื่องมาจากราคายางล่วงหน้า หรือราคาในตลาดยาง และว่า ราคาต่ำทำให้ชาวสวนยางบางรายต้องเลิกกรีดยาง และหันไปทำงานอย่างอื่น

ในขณะที่บริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศมีความเห็นว่า ที่ราคายางต่ำเป็นเพราะนักเก็งกำไรทำให้ราคาบิดเบือน เพราะอัตราส่วนระหว่างอุปสงค์กับอุปทานยางไม่สอดคล้องกับราคาที่เป็นอยู่

นักวิเคราะห์บางรายที่ผู้สื่อข่าวของ VOA ได้ไปสัมภาษณ์ ให้ความเห็นว่า พ่อค้ายางกำลังสงวนท่าที ซึ่งสืบเนื่องมาจากการแทรกแซงตลาดโดยรัฐบาลไทย

ประเทศไทยกำลังดำเนินมาตรการกระตุ้นเกษตรกรรมมูลค่ารวม 1 หมื่น 1 พันล้านดอลล่าร์ ซึ่งรวมทั้งการซื้อยางโดยตรงจากผู้ผลิตเป็นมูลค่าเกือบสองพันล้านดอลล่าร์

นายหน้าค้ายางในกรุงโตเกียวผู้หนึ่ง ซึ่งขอสงวนชื่อ เพราะบริษัทของเขาทำธุรกิจกับอุตสาหกรรมยางพาราและรัฐบาลในประเทศไทย ให้ความเห็นว่า การเข้าแทรกแซงตลาดโดยรัฐบาลไทยในลักษณะนั้น ประสบความล้มเหลวเสมอมา

นักค้ายางในโตเกียวผู้นี้บอกกับผู้สื่อข่าว VOA ว่า ที่รัฐบาลไทยควรทำ คือควบคุมปริมาณการผลิต คาดกันไว้ว่าในปีนี้จะมีปริมาณยางมากกว่าความต้องการในตลาดโลกราวๆ สามแสนตันแต่นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ CEO ของบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ บอกว่ารัฐบาลไทยและรัฐบาลของประเทศผู้ผลิตยางอื่นๆ ไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น นอกไปจากการให้ความช่วยเหลือชาวสวนยาง

CEO ของบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ บอกว่าจำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือในทันที สำหรับระยะยาวควรจะมีมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ แต่ในสถานการณ์ที่เป็นอยู่เวลานี้ รัฐบาลไทยไม่มีทางเลือก นอกจากดำเนินมาตรการทุกอย่างเพื่อช่วยชาวสวนยาง

ในอีกด้านหนึ่ง จีนประกาศเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วว่าจะเพิ่มปริมาณการนำเข้าผลิตผลการเกษตรจากประเทศไทย ในปีหน้า ซึ่งรวมทั้งข้าวและยาง

ขณะเดียวกัน The Oxford Business Group เผยแพร่ข้อมูลทางเศรษฐกิจล่าสุดออกมา ซึ่งประมาณการไว้ว่า การลดปริมาณการผลิต และอุปสงค์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นภายในประเทศไทย จะช่วยลดยางที่เก็บสะสมไว้ได้ในปีหน้า ในขณะที่ความต้องการยางในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นด้วย

ที่มา : VOA (วันที่ 24 ธันวาคม 2557)