ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 04, 2014, 10:54:57 AM »

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
[/size]วันพฤหัสบดีที่  4  ธันวาคม  พ.ศ. 2557
[/size]
[/size]ปัจจัย[/size]
[/size]วิเคราะห์[/size]
[/size]1. สภาพภูมิอากาศ[/size]
[/size]- ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็น ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนบนของภาค ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง[/size]
[/size]2. การใช้ยาง[/size]
[/size]- สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์เยอรมัน (VDA) คาดการณ์ว่า กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์เยอรมันจะผลิตรถยนต์ได้มากกว่า 15 ล้านคันเป็นครั้งแรกในปี 2558 เนื่องจากอุปสงค์รถยนต์จากตลาดจีนและสหรัฐฯ[/size]- ออโต้ดาต้า คอร์ป บริษัทวิจัยด้านยานยนต์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ตลาดสหรัฐฯ เดือนพฤศจิกายน ซึ่งรวมรถยนต์นั่งโดยสารและรถบรรทุกน้ำหนักเบา อยู่ที่ 1,302,043 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบเป็นรายปี ปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 ขณะที่ยอดจำหน่ายโดยรวมอยู่ที่ 17.2 ล้านคัน และนับเป็นเดือนที่ 9 ที่ยอดจำหน่ายโดยรวมอยู่เหนือ 16 ล้านคัน[/size][/font]
[/size]- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานนอกภาคเกษตรที่มีการปรับทบทวนแล้ว ไตรมาส 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ต่อปี เมื่อเทียบกับเบื้องต้นที่รายงานว่าขยายตัวร้อยละ 2.0 อย่างไรก็ดี ยังคงถือว่าอ่อนแอและต่ำกว่าที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5[/size]- สถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการเดือนพฤศจิกายนขยายตัวสู่ 59.3 จุด จาก 57.1 จุดในเดือนตุลาคม ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแตะ 57.6 จุดเท่านั้นะ[/size][/font]
[/size]3. เศรษฐกิจโลก[/size]
[/size]- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจเดือนพฤศจิกายน ดังนี้[/size]
    • [/size]ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและบริการของยูโรโซนลดลงแตะ 51.1 จุด จาก 52.1 จุดในเดือนตุลาคม และจากตัวเลขเบื้องต้นเดือนพฤศจิกายนที่ 54.1 จุด โดยกิจกรรมในภาคธุรกิจของยูโรโซนเดือนพฤศจิกายนชะลอตัวแตะระดับต่ำสุดในรอบ 16 เดือน เป็นผลมาจากแนวโน้มที่อ่อนแอลงของคำสั่งซื้อใหม่ ส่วนการจ้างงานยังคงใกล้ภาวะชะงักงัน[/size]
    • [/size]ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเยอรมันแตะที่ 52.1 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน จาก 48.3 จุดในเดือนตุลาคม[/size]
    • [/size]ดัชนีภาคบริการฝรั่งเศสลดลงแตะ 47.9 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน จาก 48.3 จุดในเดือนตุลาคม[/size]
    • [/size]ดัชนีภาคบริการอิตาลีเพิ่มขึ้นแตะ 51.8 จุด จาก 50.8 จุดในเดือนตุลาคม ปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน[/size]
    • [/size]ดัชนีภาคบริการสเปนลดลงมาอยู่ที่ 52.7 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในปีนี้ จาก 55.9 จุดในเดือนตุลาคม[/size]
    • [/size]ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายอยู่ที่ 56.2 จุด ต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ 56.3 จุด และลดลงจาก 57.1 จุดในเดือนตุลาคม[/size]
    [/list]
    [/table][/tr][/table]
    [/size]4. อัตราแลกเปลี่ยน[/size]
    [/size]- เงินบาทอยู่ที่ 32.88 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.09 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ[/size]- เงินเยนอยู่ที่ 119.81 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 1.35 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ[/size][/font]
    [/size]5. ราคาน้ำมัน[/size]
    [/size]- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 ปิดตลาดที่ 67.38 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.50 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลดลง สวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ทำให้นักลงทุนมีมุมมองเป็นบวกว่าอุปสงค์พลังงานในสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง[/size]- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 ปรับตัวลดลงอย่างหนัก โดยสต๊อคน้ำมันดิบลดลง 3.7 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรล[/size][/font]
    [/size]6. การเก็งกำไร[/size]
    [/size]- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 188.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2558 อยู่ที่ 200.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.9 เยนต่อกิโลกรัม[/size]- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 154.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 2.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม[/size][/font]
    [/size]7. ข่าว[/size]
    [/size]- สถาบันวิจัยและวางแผนด้านอุตสาหกรรมจีนคาดว่า อุตสาหกรรมเหล็กของจีนจะยังคงเผชิญกับปัญหากำลังการผลิตส่วนเกิน เนื่องจากอุปสงค์ในปี 2558 มีแนวโน้มคาดว่าจะอยู่ที่ 720 ล้านตัน ซึ่งชะลอตัวลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี จากการชะลอตัวลงของภาคอุตสาหกรรมปลายน้ำ ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องจักร ก่อสร้าง และยานยนต์ ที่เป็นสาเหตุหลักทำให้การใช้เหล็กปรับตัวลดลง[/size]- ADP บริษัทวิจัยแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯ เดือนพฤศจิกายน ปรับตัวขึ้น 208,000 ตำแหน่ง สอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลง[/size][/font]
    [/size]8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ[/size]
    [/size]- ราคาทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อยตามตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมผู้ประกอบการกล่าวว่า ยังขายออกยาก ผู้ซื้อถามซื้อในราคาต่ำ ต้องรอดูสถานการณ์จากภาวะฝนทิ้งช่วงในช่วงแรก ๆ อาจส่งผลลบต่อราคา แต่หากภาวะแห้งแล้งเร็วขึ้นก็อาจส่งผลดีต่อราคาในระยะต่อไป[/size]
    [/size]แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนอ่อนค่าและราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับนักลงทุนขานรับข้อมูลที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยลบมาจากภาวะฝนทิ้งช่วงทางภาคใต้ของไทย ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และในภาพรวมเศรษฐกิจหลายประเทศยังส่งสัญญาณชะลอตัว โดยเฉพาะจีนและยูโรโซน
    [/size]
    [/size]ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา