ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 02, 2014, 11:40:07 AM »


วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันอังคารที่  2  ธันวาคม  พ.ศ. 2557


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส สำหรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่ปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนกระจายเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ หลายพื้นที่ฝนทิ้งช่วง กรีดยางได้เพิ่มขึ้น


2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้ค้ายานยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ของญี่ปุ่นเดือนพฤศจิกายนลดลงร้อยละ 9.0 จากปีก่อน อยู่ที่ 416,139 คัน โดยเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 เนื่องจากการปรับขึ้นภาษีการบริโภคในเดือนเมษายนยังคงส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค


3. เศรษฐกิจโลก


- สำนักงานสถิติแห่งชาติอิตาลีเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 จากไตรมาสก่อน และหดตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตอกย้ำว่าเศรษฐกิจอิตาลีได้เข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่ปี 2551


- สถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตเดือนพฤศจิกายนลดลงสู่ระดับ 58.7 จุด จาก 59.0 จุดในเดือนตุลาคม แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตของสหรัฐฯ ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย


- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตสหรัฐฯ เดือนพฤศจิกายนลดลงแตะ 54.8 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี จาก 55.9 จุดในเดือนตุลาคม แต่ขยับขึ้นเล็กน้อยจากข้อมูลเบื้องต้นที่ 54.7 จุด


- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า รายได้จากการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลอาจแตะระดับสูงสุดในรอบ 17 ปี ในปีงบประมาณ 2557 โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยคาดว่ารายได้จากการเก็บภาษีจะอยู่ที่ราว 51.5 ล้าน-
ล้านเยน ซึ่งเพิ่มขึ้น 1 ล้านล้านเยนจากที่คาดไว้เมื่อเดือนธันวาคม 2556


- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยผลสำรวจเดือนพฤศจิกายน ดังนี้


ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตยูโรโซนปรับตัวลงแตะ 50.1 จุด จาก 50.6 จุดในเดือนตุลาคม และลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นเดือนพฤศจิกายนที่ 50.4 จุด ชี้ให้เห็นว่าภาคการผลิตยูโรโซนเข้าสู่ภาวะชะงักงัน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตสเปนเพิ่มขึ้นแตะ 54.7 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเทียบกับ 52.6 จุดในเดือนตุลาคม
ภาคการผลิตของอิตาลีทรงตัวที่ 49.0 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน และไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนตุลาคม แสดงให้เห็นว่าภาวะธุรกิจของอิตาลียังอยู่ในภาวะซบเซา
ภาคการผลิตของเยอรมันแตะที่ 49.5 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน หลังจากแตะระดับ 51.4 จุดในเดือนตุลาคม ถือเป็นสัญญาณว่าสภาวะการดำเนินงานในภาคการผลิตของเยอรมันกลับเข้าสู่ภาวะหดตัวอีกครั้ง
ภาคการผลิตฝรั่งเศสปรับตัวลดลงแตะ 48.4 จุด จาก 48.5 จุดในเดือนตุลาคม เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน บ่งชี้ว่าภาวะการดำเนินธุรกิจของประเทศยังคงย่ำแย่ะ
4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.79 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.12 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 118.46 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.35 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 ปิดตลาดที่ 69.00 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.85 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไร หลังจากสัญญาณน้ำมันดิบลดลงติดต่อกันหลายวันทำการ เนื่องจากที่กลุ่มโอเปคตัดสินใจคงเพดานการผลิตในการประชุมครั้งล่าสุด


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 ปิดที่ 72.54 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.39 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 189.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2558 อยู่ที่ 199.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น  3.3 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 154.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 2.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือหนืรัฐบาลญี่ปุ่นลง 1 ขั้น อยู่ที่  A1 จาก Aa3 เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถของญี่ปุ่นในการฟื้นฟูสถานะการคลัง


- สถาบันวิจัยอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของจีนเปิดเผยว่า ราคาบ้านโดยเฉลี่ยใน 100 เมืองปรับตัวลดลงในเดือนพฤศจิกายน ทั้งเทียบเป็นรายเดือนและรายปี โดยราคาบ้านลดลงร้อยละ 0.438 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และลดลงร้อยละ 1.57 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 และลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 3


- ผลสำรวจของสหพันธ์ค้าปลีกแห่งชาติสหรัฐฯ (NRF) เปิดเผยว่า การใช้จ่ายในช่วงเทศกาลขอบคุณพระเจ้าปรับตัวลดลงเป็นครั้งที่ 2 นับตั้งแต่ปี 2551 เนื่องจากเศรษฐกิจที่ปรับตัวดาขึ้นได้เปลี่ยนรูปแบบการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค เป็นการซื้อขายแบบออนไลน์


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางมีแนวโน้มผันผวน โดยเฉพาะราคายางแผ่นดิบที่ประมูลในราคาสูง (เมื่อเทียบกับราคาตลาดสิงคโปร์) น่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยผู้ประกอบการกล่าวว่า ในระยะนี้ยังคงขายยากถ้าเสนอในราคาสูงจะขายไม่ได้ ประกอบกับผู้ส่งออกประสบกับภาวะขาดทุนมานาน ทำให้ต้องซื้อในราคาต่ำเพื่อลดภาระดอกเบี้ยตอนสิ้นปีด้วย


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุนเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรหลังราคาปรับลดลงติดต่อกันหลายวัน อย่างไรก็ตาม ราคายางยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก หลังจากที่ข้อมูลเศรษฐกิจทั่วโลกส่งสัญญาณอ่อนแรงลง โดยเฉพาะจีนและยูโรโซน




ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา