ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2014, 12:22:45 PM »

ครม.เคาะ 'แพคเกจ' อุ้มยางขึ้นแอลพีจี 'ขนส่ง' ไม่กระทบแม่สอดนำร่องเขตศก.พิเศษ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -24 ต.ค. 57 10:54 น.


นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้สั่งการให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เร่งจัดทำแนวทางการจ่ายเงินช่วยเหลือคนจน(Negative Income Tax) ว่าจะดำเนินการอย่างไร พร้อมกันนี้ต้องศึกษาดูว่าจะมีระบบตรวจสอบคนจน การจ่ายเงิน เพื่อให้เกิดความรัดกุมย่างไร เพื่อไม่ให้งบประมาณรั่วไหล

                ทั้งนี้ในการเดินทางไปประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลก(เวิลด์แบงก์) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา เมื่อต้นเดือนตุลาคม ได้รับทราบแนวทางช่วยเหลือชาวนาของต่างประเทศ ซึ่งพบว่าหลายประเทศ ต่างมีแนวทางช่วยเหลือชาวนา และเกษตรของตัวเอง ทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป (อียู) หรือแม้แต่มาเลเซีย ซึ่งการช่วยแหลือดังกล่าวไม่ผิดเงื่อนไขขององค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) โดยพบว่าประเทศที่ให้ความช่วยเหลือชาวนานั้นจะมีมาตรการในการตรวจสอบที่ชัดเจน เช่น การตรวจสอบรายได้ว่าจนจริงหรือไม่ รวมถึงตรวจเช็คการใช้จ่ายทั้งเรื่องการซื้อรถยนต์ การซื้อบ้านว่าสอดคล้องกับฐานะหรือไม่ โดยมีแนวคิดที่จะนำแนวทางการตรวจสอบตรงนี้มาตรวจเช็คกับการให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรไทย ทั้งจ่ายเงินชาวสวนยาง จ่ายเงินให้ชาวนาไร่ละ 1,000 บาท

                 ? ในการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนา และคนจนนั้นต้องวางแผนป้องกัน และต้องสร้างกลไกตรวจสอบออกมาควบคู่กัน ซึ่งปัญหาของไทยคือปัญหาเรื่องปฏิบัติที่ไม่ค่อยรัดกุม และเกิดช่องโหว่ให้ทุจริต อย่างไรก็ตามในช่วงแรกคงนำมาตรการในต่างประเทศมาใช้ไม่ทัน ต้องใช้มาตรการตรวจสอบที่มีอยู่แล้วไปก่อน หากมีการช่วยเหลือครั้งต่อๆ ไป จะดูแนวทางการตรวจสอบที่เข้มงวดมากขึ้น และต้องศึกษาดูว่าจะนำแนวทางที่ใช้ในต่างประเทศมาใช้กับไทยได้อย่างไรบ้าง?นายสมหมาย กล่าว

                 รายงานข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า นายสมหมาย สั่งการให้สศค.เร่งร่าง พ.ร.บ. เงินโอน แก้จน คนขยัน หรือจ่ายภาษีให้คนจน เพื่อเสนอไปยังรัฐบาล โดยเตรียมไว้เสนอหลังที่ได้เสนอภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปแล้ว ซึ่งเมื่อเดือนสิงหาคม สศค.ได้เสนอผลการศึกษาเรื่องเงินโอนแก้จนฯ โดยการช่วยเหลือคนจนในลักษณะนี้จะดีกว่าโครงการประชานิยม เพราะเป็นโครงการรัฐสวัสดิการที่ช่วยเหลือคนเฉพาะกลุ่ม เป็นโครงการที่สนับสนุนคนทำงาน เพราะถ้าขี้เกียจไม่มีงานทำก็จะไม่ได้รับเงินจากภาครัฐ ซึ่งการจ่ายเงินนั้นดูตามเกณฑ์รายได้ ผู้ที่มีรายได้ 3 หมื่นบาทต่อปีจะได้รับเงินมากสุดคือ 6,000 บาทต่อปี แต่ถ้าสูงกว่าหรือต่ำกว่า 3 หมื่นบาทจะได้รับเงินลดหลั่นกันไปตามขั้นบันได มีเงื่อนไขว่าหากรายได้ต่ำวกว่า 1 หมื่นบาทต่อปี หรือสูงกว่า 8 หมื่นบาทต่อปีจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ ซึ่งจากข้อมูลพบว่ามีคนจนที่ต้องได้รับการช่วยเหลือประมาณ 18 ล้านคิด คิดเป็นเงินที่รัฐต้องจ่าย 5 หมื่นล้านบาทต่อปี โดยจะพยายามเร่งรัดการจัดทำร่างพ.ร.บ.ให้เสร็จในปีนี้ ขณะนี้คณะที่จัดทำร่างได้มีการประชุมหารือเพื่อดูความคืบหน้าทุก 2 สัปดาห์






เรียบเรียง โดย อิทธิพล พันธ์ธรรม  
                อีเมล์. reporter@efinancethai.com อนุมัติ    โดย อนุรักษ์ ลีประเสริฐสุนทร