วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557
[/t] วิเคราะห์ | 1. สภาพภูมิอากาศ | - มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจาย ร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง | 2. การใช้ยาง | - ม.ร.ว.ปริติยากร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) กล่าวว่า เนื่องจากสถิติสต๊อคยางโลกและไทยมีปริมาณยางลดลง ปีที่แล้วปริมาณยางโลกอยู่ที่ 2.9 ล้านตัน ขณะที่ปีนี้มีปริมาณอยู่ที่ 2.3 - 2.5 ล้านตัน เช่นเดียวกับปริมาณยางไทยปีที่แล้วอยู่ที่ 5.3 แสนตัน ขณะที่เดือนกันยายนปีนี้ ปริมาณลดลงเหลือเพียง 4.4 แสนตัน ทำให้เชื่อว่าราคายางของไทยจะเพิ่มสูงขึ้น | 3. เศรษฐกิจโลก | - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า การผลิตในภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ เดือนกันยายนทำสถิติปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี จากกิจกรรมการผลิตที่ขยายตัว ซึ่งเป็นสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ - สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า เงินเฟ้อของยูโรโซนปรับตัวลดลงแตะร้อยละ 0.3 ในเดือนกันยายน จากร้อยละ 0.4 ในเดือนสิงหาคม โดยเงินเฟ้อเดือนกันยายนถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังคงมีการขยายตัวทุกภูมิภาคในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง - กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยว่า ตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เดือนกันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะระดับ 9.01 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ - กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลงบประมาณสหรัฐฯ ปีงบประมาณ 2557 ลดลงสู่ระดับ 4.8335 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี และลดลงร้อยละ 28.9 จากปีงบประมาณก่อน | 4. อัตราแลกเปลี่ยน | - เงินบาทอยู่ที่ 32.43 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ - เงินเยนอยู่ที่ 106.37 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.36 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | 5. ราคาน้ำมัน | - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดตลาดที่ 82.70 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.92 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนช้อนซื้อเพื่อเก็งกำไร หลังจากราคาน้ำมันลดลงอย่างมากในสัปดาห์นี้ กอปรกับข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐฯ ที่มีการเปิดเผยเมื่อวานนี้ - ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดที่ 84.47 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.69 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล - สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 ตุลาคม 2557 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ได้ประเมินไว้ โดยสต๊อคน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 8.9 ล้านบาร์เรล เทียบกับคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ว่าจะเพิ่มขึ้น 2.2 ล้านบาร์เรล | 6. การเก็งกำไร | - ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2557 อยู่ที่ 181.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 5.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ 188.9 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 6.5 เยนต่อกิโลกรัม - ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 159.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง | 7. ข่าว | - สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านสำหรับครอบครัวเดี่ยวปรับตัวลดลงแตะ 54.0 จุดในเดือนตุลาคม หลังจากที่พุ่งขึ้นแตะ 59.0 จุดในเดือนกันยายน นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 - บทความเขียนโดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของจีนในหนังสือพิมพ์คิวซีเจอร์นัล ระบุว่า จีนจะเร่งออกกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอสังหาริมทรัพย์ และบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวในช่วงเวลาที่เหมาะสม - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุด ในรอบ 14 ปี ในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ตุลาคม 2557 นับเป็นสัญญาณบวกที่ช่วยคลายความสงสัยในเรื่องความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ สหรัฐฯ โดยรายงานระบุว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 23,000 ราย แตะที่ 264,000 ราย ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2543 | 8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ | - ราคายางปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 1 บาท ตามตลาดต่างประเทศ และผลผลิตมีน้อยมาก หลายโรงงานขาดแคลนวัตถุดิบ อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้อยังไม่ซื้อ ขณะที่ผู้ขายก็ไม่ขาย และผู้ประกอบการไม่แน่ใจทิศทางราคายางว่าจะสูงขึ้นต่อเนื่องหรือไม่ ต้องรอดูสถานการณ์ต่อไป | แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เพราะได้รับปัจจัยบวกจากเงินเยนอ่อนค่า และนักลงทุนขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ รวมทั้งผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ที่ออกมาชัดเจนขึ้นในการประชุมเมื่อวานนี้ ประกอบกับโดยภาพรวมสต๊อคยางโลกและสต๊อคยางไทยลดลงในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนและยุโรปยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อราคายางได้ในระดับหนึ่ง
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา |
[/td][/tr][/table]