วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557
[/t] วิเคราะห์ | 1. สภาพภูมิอากาศ | - ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นและอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ส่วนภาคใต้มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง | 2. การใช้ยาง | - นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหารบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCo) ได้เชิญนายกสมาคมยางพารา 5 ประเทศ ประกอบด้วย สมาคมยางพาราไทย (TRA) สมาคมยางพาราประเทศอินโดนีเซีย (GAPKINDO) คณะกรรมการยางพาราประเทศมาเลเซีย (MRB) สมาคมยางพาราประเทศเวียดนาม (VRA) และสมาคมยางพาราประเทศกัมพูชา (ARDC) เข้าร่วมประชุมเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557 ณ เมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย โดยการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือเรื่องสถานการณ์ราคายางที่ตก ต่ำในปัจจุบัน และร่วมกันพิจารณาหามาตรการเพื่อบริหารจัดการราคายางให้อยู่ในระดับที่เหมาะ สมและเป็นธรรมทั้งต่อผู้ผลิตและผู้ใช้ยาง | 3. เศรษฐกิจโลก | - ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป หรือ ZEW เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักวิเคราะห์ในเยอรมันที่มีต่อสภาพ เศรษฐกิจของประเทศเดือนตุลาคมลดลงแตะ 3.6 จุด จาก 6.9 จุดในเดือนกันยายน โดยปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน และแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555 หรือในรอบเกือบ 2 ปี - ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาชิคาโก กล่าวเตือนว่า การที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไปจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่รุนแรงที่ สุดต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในขณะนี้ - ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า ราคาขายส่งเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.5 ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 สะท้อนให้เห็นว่าต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบสูงขึ้น - การประชุมยูโรกรุ๊ปมุ่งเน้นส่งเสริมการลงทุน พร้อมเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเร่งดำเนินนโยบายต่อไปอย่างเร่งด่วน - ธนาคารกลางฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดพุ่งขึ้นในเดือนสิงหาคม เนื่องจากฝรั่งเศสขาดดุการค้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก - สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปรายงานว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซนเดือนสิงหาคมปรับตัวลดลงร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน - รัฐบาลเยอรมันคาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะขยายตัวร้อยละ 1.2 ในปีนี้ ลดลงจากร้อยละ 1.8 โดยให้เหตุผลถึงวิกฤตการณ์ทางการเมืองในหลายภูมิภาคของโลกและเศรษฐกิจโลกที่ อ่อนแอ - สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐฯ รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดเล็กปรับตัวลดลงในเดือนกันยายน อยู่ที่ 95.3 จุด จาก 96.1 จุดในเดือนสิงหาคม เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจ โดยแผนการใช้จ่ายด้านทุนและตำแหน่งที่เปิด รับสมัครได้ปรับตัวลดลงอย่างมาก - สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า [/size]- ดัชนี ราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบเป็นรายปี ชะลอตัวลงรุนแรงมากกว่าที่คาดไว้ และแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี (ตั้งแต่มกราคม 2553)
- ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อระดับค้าส่ง เดือนกันยายนปรับตัวลดลงร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี
| [/size]4. อัตราแลกเปลี่ยน | [/size]- เงินบาทอยู่ที่ 32.53 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.14 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 107.09 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.10 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | [/size]5. ราคาน้ำมัน | [/size]- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดตลาดที่ 81.48 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 3.90 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งปรับตัวลดลงอย่างมาก เป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 หลังจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA.) ปรับลดคาดคาการณ์ความต้องการน้ำมันทั่วโลก- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ลดลง 3.85 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 85.04 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- สำนักงานพลังงานสากล (IEA.) เปิดเผยในรายงานประจำเดือนว่า คาดว่าปีนี้ทั่วโลกจะใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นประมาณ 650,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์คราวก่อน 250,000 บาร์เรล- มอร์แกนสแตนลีย์ระบุในรายงานการวิจัยล่าสุดว่า แม้น้ำมันเบรนท์และ WTI ได้ปรับลงสู่ตลาดระยะขาลง แต่ราคาน้ำมันจะปรับตัวขึ้นภายในช่วงปลายปีนี้ และยังคงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2558 และ 2559 | [/size]6. การเก็งกำไร | [/size]- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2557 อยู่ที่ 178.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.1 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ 183.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.0 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 159.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | [/size]7. ข่าว | [/size]- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กส่งมอบเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 4.3 ดอลล่าร์สหรัฐต่อออนซ์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.35 ปิดที่ 1,234.3 ดอลล่าร์สหรัฐต่อออนซ์ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังคงเป็นแรงกระตุ้นให้นักลง ทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำ ซึ่งเป็นสินค้าที่ปลอดภัย | [/size]9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ | [/size]- ราคายางปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการต้องการซื้อเพราะขาดแคลนวัตถุดิบป้อนโรงงาน และเพื่อให้คนงานมีงานทำ อย่างไรก็ตาม ยังคงขายยากเพราะผู้ซื้อไม่ซื้อ และต้องการซื้อในราคาต่ำ | [/size] [/size] แนวโน้ม[/size] ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากผลผลิตยางออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่ผู้ประกอบการในประเทศยังมีความต้องการซื้อ เพราะขาดแคลนวัตถุดิบป้อนโรงงาน ประกอบกับเงินบาทอ่อนค่า ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกปรับตัวลดลง[/size]แตะ ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 และความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ล่าสุดมีรายงานว่าอัตราเงินเฟ้อแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ในวันพรุ่งนี้ว่าจะมีมาตรการสำคัญอย่างไรในการแก้ไขปัญหา[/size]ราคายาง
[/size] [/size] [/size] [/size]ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา [/size] [/list] |
[/tr][/table][/td][/tr][/table]