วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557
[/t] วิเคราะห์ | 1. สภาพภูมิอากาศ | - ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้ากับมีฝนเล็กน้อยในบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนกระจาย ร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่งผลให้หลายพื้นที่ฝนทิ้งช่วง เริ่มกรีดยางได้บ้าง | 2. การใช้ยาง | - ออดี้ ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมันเปิดเผยว่า บริษัทได้ทำยอดจำหน่ายรถยนต์ในจีนปีนี้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 415,704 คัน ทั้งนี้สำนักงานสถิติจีนระบุว่าช่วง 9 เดือนของปีนี้ (มกราคม - กันยายน) ความต้องการรถยนต์ออดี้รุ่นต่าง ๆ ที่ส่งออกจากเยอรมันมายังจีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก | 3. สต๊อคยาง | - สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 30 กันยายน 2557 ลดลง 323 ตัน หรือลดลงร้อยละ 2.61 อยู่ที่ 12,042 ตัน จากระดับ 12,365 ตัน เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2557 | 4. เศรษฐกิจโลก | - รัฐมนตรีกระทรวงการคลังกลุ่มประเทศ G20 เริ่มประชุมที่กรุงวอชิงตัน โดยคาดว่าที่ประชุมจะหารือเกี่ยวกับแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และความเสี่ยงที่อาจทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง โดยเฉพาะเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ยูโรโซนจะเผชิญกับภาวะเงินฝืด หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อในภูมิภาคปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราว่างงานยังอยู่ในระดับสูง และกระแสความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการคว่ำบาตรรัสเซีย นอกจากนี้คาดว่าที่ประชุมจะหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ อาจเริ่มใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงิน - สำนักงานศุลกากรฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าในเดือนสิงหาคมปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 5.78 พันล้านยูโร เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ขาดดุล 5.53 พันล้านยูโร - สำนักงานสถิติแห่งขาติเยอรมันรายงานว่า ยอดการส่งออกเดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ซึ่งเป็นการปรับตัวลงรายเดือนที่รุนแรงที่สุดในรอบกว่า 5 ปี นับเป็นอีกข้อมูลที่สะท้อนว่าเศรษฐกิจเยอรมันกำลังเผชิญกับอุปสรรค ส่วนยอดนำเข้าเดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ 1.3 ภายหลังหดตัวลงร้อยละ 1.4 ในเดือนกรกฎาคม - รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ในเดือนสิงหาคมเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ขณะที่ทางการญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มประเมินการสั่งซื้อเครื่องจักร ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ความแข็งแกร่งของตัวเลขการใช้จ่ายต้นทุน | 5. อัตราแลกเปลี่ยน | - เงินบาทอยู่ที่ 32.44 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ - เงินเยนอยู่ที่ 107.72 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.48 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | 6. ราคาน้ำมัน | - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดตลาดที่ 85.77 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.54 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากความกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอาจส่งผลให้ความต้องการ พลังงานปรับตัวลดลงด้วย ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 1.33 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 90.05 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล | 7. การเก็งกำไร | - ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2557 อยู่ที่ 175.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ 182.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.2 เยนต่อกิโลกรัม - ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 157.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | 8. ข่าว | - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 4 ตุลาคม 2557 ปรับตัวลดลง 1,000 ราย อยู่ที่ 287,000 ราย ใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงินในปี 2550 - 2552 และเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานสหรัฐฯ - ธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยว่า ธนาคารได้ร่างแผนเพื่อผ่อนคลายการคุมเข้มการ บลงทุน โดยเตรียมอนุญาตให้ชาวจีนในโครงการนักลงทุนรายย่อยในประเทศที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมสามารถเข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ในต่างแดนได้ แต่ยังไม่ได้เปิดเผยกำหนดการหรือจำนวนโควตาแต่อย่างใด | 9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ | - ราคายางทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางรายยังต้องซื้อยางเข้าโรงงานบ้าง เพื่อให้คนงานมีงานทำ แม้ว่าจะต้องซื้อในราคาสูงเมื่อเทียบกับราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ เพราะจากภาวะฝนตกทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยมาก และชาวสวนไม่เร่งกรีด หลังจากราคาปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง | แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมันที่แตะ ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555 หรือในรอบเกือบ 2 ปี ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจยูโรโซน หลังจากเยอรมันรายงานยอดส่งออกเดือนสิงหาคมปรับตัวลดลงมากที่สุดในรอบ 5 ปี อย่างไรก็ตาม ราคายางยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบจำกัด เพราะยังมีแรงหนุนจากอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย ผู้ประกอบการในประเทศบางส่วนยังมีความต้องการซื้อ ขณะที่นักลงทุนรอดูความชัดเจนกรณีที่หลายหน่วยงานพยายามหาแนวทางกระตุ้นให้ ราคายางฟื้นตัว รวมทั้งการประชุมของผู้ผลิตรายใหญ่เพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาราคายางภายใน เดือนนี้
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา |
[/td][/tr][/table]