ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 30, 2014, 12:24:26 PM »

ไทรเบคก้าปั้นฮับผลิตภัณฑ์ยาง

                        "ไทรเบคก้า"ชูแผน 5 ปี ดันนิคมหลักชัยเมืองยางเป็นฮับผลิตภัณฑ์ยาง หลังนักลงทุนจีนแห่ตอบรับการลงทุนผลิตยางล้อรถยนต์ สายพานและชิ้นส่วน คาดขายพื้นที่ 2.21 พันไร่หมด ในปีหน้าก่อให้เกิดการลงทุนกว่า 5 หมื่นล้านบาท สร้างรายได้ให้กับประเทศ 1 แสนล้านบาท พร้อมจ่อขยายเฟส 2 อีก 2.8 พันไร่ จ.ระยอง ในอีก 2 ปีข้างหน้า

                  ดร.หลักชัย กิตติพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทรเบคก้า เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า หลังจากที่บริษัทได้ลงนามสัญญาการจัดตั้งนิคมกับทางการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)ไปตั้งแต่เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ ซึ่งได้เริ่มพัฒนาปรับพื้นที่เพื่อรอการขายที่ดินไปแล้วประมาณ 30-40 % ของพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2.21 พันไร่ และคาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 หรืออย่างช้าสุดไม่เกินต้นปี 2559 ด้วยงบการลงทุนประมาณ 3.2 พันล้านบาท ไม่รวมค่าที่ดิน
           ทั้งนี้ จากการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ขณะนี้ได้มีลูกค้าจากจีนแล้ว 1 ราย ได้แก่ บริษัท เซ็นจูรี่ ไทร์ฯ ผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ของโลก ได้เข้ามาซื้อพื้นที่ประมาณ 138 ไร่ เพื่อก่อสร้างโรงงานผลิตยางรถยนต์ กำลังการผลิต 10 ล้านเส้นต่อปี ด้วยงบลงทุนกว่า 8 พันล้านบาท แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกจะผลิตยางรถยนต์ 5 ล้านเส้นต่อปี เงินลงทุนประมาณ 4 พันล้านบาท และระยะที่ 2 อีก 5 ล้านเส้น เงินลงทุนประมาณ 4 พันล้านบาท คาดว่าการก่อสร้างระยะแรกจะแล้วเสร็จภายในปีหน้า ซึ่งยางรถยนต์ที่ได้จะทำการส่งออกประมาณ 95 % และที่เหลือจะจำหน่ายภายในประเทศนอกจากนี้ ยังมีบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจของจีนอีกประมาณ 2-3 ราย และบริษัทเอกชนประมาณ 4-5 ราย สนใจที่จะเข้ามาตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์และสายพาน เช่นกัน ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาและรอการปรับพื้นที่ให้แล้วเสร็จ ซึ่งยังไม่รวมนักลงทุนจากยุโรป และญี่ปุ่น ที่แสดงความสนใจจะเข้ามาตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ที่มียางเป็นองค์ประกอบ เป็นต้นโดยบริษัทประเมินว่า เมื่อพัฒนาพื้นที่นิคมได้ทั้งหมดแล้ว คาดว่าจะมีลูกค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะลูกค้าจากจีนมากกว่า 60 % จะเข้ามาลงทุนผลิตยางรถยนต์ไม่ต่ำกว่า 5 ราย และอื่นๆ เช่น สายพาน ชิ้นส่วนยานยนต์ หรืออะไหล่รถยนต์ ไม่ต่ำกว่า 10 ราย ซึ่งจะก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนประมาณ 5 หมื่นล้านบาท สร้างรายได้ให้กับประเทศประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยจะมีการใช้ยางพาราประมาณ 2 แสนตันต่อปีดร.หลักชัย กล่าวอีกว่า การจัดตั้งนิคมหลักชัยเมืองยางนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางปลายน้ำขึ้นมา ซึ่งจะเป็นการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและช่วยยกระดับราคายางพาราให้กับเกษตรกร ซึ่งหากผู้ประกอบการรายอื่นๆ สนใจที่จะตั้งนิคมในลักษณะนี้ขึ้นมาได้ 10 แห่ง ก็จะช่วยให้มีการใช้ยางพาราในประเทศได้ถึงปีละ 2 ล้านตัน โดยไม่จำเป็นต้องไปพึ่งการส่งออกแต่อย่างใดอย่างไรก็ตาม จากการพัฒนาพื้นที่นิคมดังกล่าว ในระยะเริ่มต้นนี้บริษัทมองว่าประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากได้รับการตอบรับจากลูกค้าต่างประเทศค่อนข้างมาก โดยตลอดระยะไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ จะมีลูกค้าเข้ามาดูสถานที่ของนิคม ตลอดระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งแต่ละเดือนจะมีนักลงทุนมาประมาณ 4-5 ราย เมื่อมีการตอบรับจากลูกค้ามากขึ้น ทำให้บริษัท ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะเป็นศูนย์กลางลงทุนด้านผลิตภัณฑ์ยาง เพราะหลังจากบริษัทขายพื้นที่นิคม ดังกล่าวได้ 70-80 % ภายในปี 2558 แล้ว ก็จะเริ่มยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอในระยะที่ 2 ต่อไป ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับนิคมหลักชัยเมืองยาง เป็นที่ดินของเครือญาติที่มีอยู่แล้วจะซื้อนำมาพัฒนาเป็นพื้นที่นิคมต่อไป โดยคาดว่าจะเพิ่มพื้นที่นิคมหลักชัยเมืองยางให้ได้ถึงประมาณ 5 พันไร่ ภายในระยะเวลา 5 ปี(2558-2562) ต่อจากนี้ไปนอกจากนี้ เพื่อให้การบริหารสินทรัพย์ของบริษัทที่มีอยู่อีกประมารณ 7 พันไร่ ในอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี จะมีการนำมาพัฒนาเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทั่วไป เพื่อรองรับลูกค้าในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ใกล้กับชายแดนของเมียนมาร์ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าที่ต้องการผลิตสินค้าแล้วส่งออกจากฝั่งอันดามันไปยังประเทศยุโรป และประเทศแถบแปซิฟิกมีความสะดวกและประหยัดต้นทุนค่าขนส่ง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งนิคมอยู่ รวมถึงรอความชัดเจนของการพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวายของเมียนมาร์ว่าจะเป็นรูปร่างเมื่อใด และกำลังดูว่าจะให้เป็นนิคมประเภทไหนในการดึงดูดนักลงทุน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานค่อนข้างมากดังนั้น แผนพัฒนาพื้นที่นิคม ในช่วง 5 ปีดังกล่าว บริษัทอาจจะต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่า 1 หมื่นล้านบาท ในการขยายพื้นที่นิคมหลักชัยเมืองยางและพื้นที่นิคมจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งล่าสุดบริษัทได้ลงนามบันทึกข้อตกลง(เอ็มโอยู) กับทางบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในนิคมหลักชัยเมืองยางไปแล้ว พร้อมกับการก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปาและระบบบำบัดน้ำเสีย ไปเมื่อวันที่ 24 กันยายน ที่ผ่านมา


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,987
วันที่ 28  กันยายน - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557