ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 29, 2014, 02:52:41 PM »

กวก. "ใช้งานวิจัยแก้ปัญหาสินค้าเกษตร ยก'ยางพารา'สินค้าเร่งด่วนลดค้างสต็อก

         29 ก.ย.57 นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดสัมมนา YEAR END 2557  ภายใต้หัวข้อ "คืนความสุขให้เกษตรกรไทย ด้วยงานวิจัยและพัฒนา"ของกรมวิชาการเกษตรพร้อมทั้งมอบแนวนโยบายการทำงานให้กับกรมวิชาการเกษตร โดยกล่าวว่า งานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรถือเป็นผลผลิตที่สำคัญ และได้รับการยอมรับในระดับสากล จากที่เคยได้รับการเสนอชื่องานวิจัยเข้าชิงในสาขาพืชจากรางวัลโนเบล ดังนั้น  กรมวิชาการเกษตรจะต้องนำจุดแข็งดังกล่าวมาพัฒนาต่อยอด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการนำงานวิจัยมาช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ทั้งการช่วยแก้ไขปัญหาในระยะ เร่งด่วน ปานกลางและระยะยาว


        สำหรับแนวทางนโยบายที่มอบให้แก่กรมวิชาการรับไปดำเนินการเบ่งเป็น 2 แนวทาง
          1.การวิจัยพัฒนาในเชิงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่กำลังมีปัญหา เช่น กรณีปัญหายางพาราในสต็อก
[/color]กรมวิชาการเกษตรวรจะคิดค้นเทคโนโลยีการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หรือใช้ยางเป็นวัตถุดิบ เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น มากกว่าการสร้างถนนซึ่งใช้ปริมาณยางเพียง  5% เท่านั้น ซึ่งถือเป็นงานวิจัยเร่งด่วนที่[/font]กรมวิชาการเกษตร[/font]จะสามารถพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาให้กับรัฐบาลได้  โดยจะต้องใช้ สินค้าเกษตรในประเทศให้มากขึ้น


          2 .ชุดวิจัยเพื่อการแก้ไขปัญหาให้กับสินค้าเกษตร ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะกลางและระยะยาว อาทิ งานวิจัยเพื่อยืดอายุผลผลิตสินค้าเกษตรให้เก็บได้นานขึ้นซึ่งจะเอื้อต่อการส่งออกของประเทศ หรืองานวิจัยที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงการวิจัยเพื่อแปรรูปพืชเป็นพลังงานให้มากขึ้นในเครื่องจักรกลทางการเกษตร เพื่อลดต้นทุนให้แก่เกษตรกร

      "ทั้งสองแนวทางดังกล่าวนี้หากเกิดขึ้นจริง และปฏิบัติได้จริงชัดเจนเป็นรูปธรรมได้เร็วเท่าไหร่จะทำให้การทำงานของ
กรมวิชาการเกษตรตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรให้แก่รัฐบาลและประเทศมากขึ้น นอกเหนือจากนวัตกรรมต่างๆ ที่กรมวิชาการเกษตรดำเนินการอยู่" นายปีติพงศ์ กล่าว


         ส่วนการกำหนดพื้นที่ เพาะปลูกสินค้าเกษตรฯ หรือ โซนนิ่งด้วยว่า แนวทางดังกล่าวเป็นเพียง การปรับพื้นที่การผลิตสินค้าเกษตรฯให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ดิน และสภาพทางภูมิศาตร์ เพื่อให้ได้ผลิตที่มีความเหมาะสมเท่านั้น ไม่ได้ เลิกการปลูกพืชผลทางการเกษตรหรือ จ้าง เลิกอาชีพการทำเกษตร ซึ่งจะต้องมีตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อส่งเสริมการผลิตสินค้าให้มีความเหมาะสมแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ ต่อเกษตรกรให้มากที่สุด


ที่มา [/font][/size]หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 29 กันยายน 2557)