ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 22, 2014, 03:14:11 PM »เทงบ 3.3 หมื่นล. แก้ยางพารา งัด 12 มาตรการ 'อุ๋ย' โวสั่งซื้ออื้อ
รัฐบาล "ประยุทธ์" ไฟเขียวแก้ปัญหายางพาราตก ต่ำปล่อยกู้ 3.3 หมื่นล้านบาท ให้เกษตรกร-สหกรณ์พ่อค้ากระตุ้นตลาด พร้อมผ่าน 4 แนวทางแก้ปัญหา งัด 12 มาตรการเร่งด่วน ระบุ รถไฟสายยางพาราแห่งชาติต้องไม่ตกราง ทำทุกอย่างเป็นขั้นตอน รับปากดันราคาพุ่งตามตลาดโลก ด้าน "หม่อม อุ๋ย" โว ราคายางขึ้นแน่นอน มีออร์เดอร์สั่งซื้อจากต่างประเทศแล้ว ส่วน "เกษตรฯ" เล็ง ลดพื้นที่ปลูกยาง หลังพบข้อมูลมีชาวสวนรุกป่าสงวนปลูกยางถึง 1 ล้านไร่ ตั้งศูนย์ปฏิบัติการสินค้ายางพาราเป็นศูนย์กลางแก้ปัญหายางพาราทั้งระบบ
ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 19 ก.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 2/2557 ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ 4 แนวทาง เพื่อแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบโดยมี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ และม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เข้าประชุม โดยถือเป็นการประชุมในฐานะประธานคณะกรรมการฯครั้งแรกสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่ 1/2557 ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา
สำหรับการหารือ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ จะนำข้อเสนอของกระทรวงหารือกับภาคเอกชนและภาคเกษตรกรใน 4 แนวทาง คือ 1. เร่งรัดการใช้ยางภายในประเทศให้มากขึ้น 2 .ผลักดันและเร่งรัดโครงการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้สถาบันเกษตรกรรับซื้อยางจากเกษตรกรในราคาที่สูงขึ้นและการปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ นำเงินเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อใช้ในการแปรรูปยาง อีกทั้งสนับสนุนให้มีการปล่อยเงินกู้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อเข้าถึงเกษตรกรมากขึ้น 3. สร้างตลาดการซื้อขายยางธรรมชาติโดยเชื่อมโยงให้มีการทำสัญญาซื้อขายและส่งมอบสินค้าจริงระหว่างเกษตรกรชาวสวนยางกับผู้ซื้อและ 4. ร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อกำหนดแนวทางจัดการการเก็บสต๊อกยางร่วมกัน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวภายหลังประชุมว่า เป็นนิมิตหมายที่ดีที่มีการพูดคุยเรื่องปัญหามากมายทั้งหมดวันนี้ได้กำหนดให้เรื่องยางพาราเป็นวาระแห่งชาติ ปัจจุบันราคายางต่ำลงเนื่องจากสาเหตุหลายประการทั้งในด้านเศรษฐกิจโลกวันนี้จึงมีการกำหนดมาตรการต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้าการให้เงินทุนต่าง ๆ ในการบริหารจัดการซื้อยางให้กับสหกรณ์ก็พูดคุยกันรู้เรื่องเรียบร้อย ส่วนการแก้ปัญหาระยะกลางและระยะยาวนั้น มีแผนในการดำเนินการต่อไปแล้ว
"คิดว่าเรื่องปัญหายางพาราต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 ปี ถึงจะแก้ได้ทั้งหมด เพราะปัญหาสะสมมานาน ทั้งเรื่องปัญหาการปลูก การวิจัยพัฒนายาง หรือการเพิ่มมูลค่า โดยสัปดาห์หน้าปลัดกระทรวงเกษตรฯก็จะไปพูดคุยกับประเทศที่ผลิตยาง หรือไตรภาคีต้องหารือร่วมกันว่าจะทำอย่างไรให้ราคายางเราดีขึ้น วันนี้เราหารือในบรรยากาศดีมากผมได้ขอบคุณทุกภาคส่วนทั้งต้นทางที่เป็นผู้ปลูกยางกลางทางคือผู้ที่ไปรับซื้อยางเพื่อนำมาสู่การผลิตในประเทศ และปลายทางคือการส่งขายออกนอกประเทศเราตกลงว่าเราจะขึ้นรถขบวนเดียวกันคือ รถไฟสายยางพาราแห่งชาติเป็นรถไฟขบวนเดียวกัน และต้องไม่ตกราง แต่ต้องเป็นรถด่วนคือแก้ปัญหายางได้สำเร็จโดยเร็ว" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการเฉพาะหน้าในการแก้ไขปัญหาคือ การแก้ปัญหาเรื่องที่ยังค้างคามาคือกองทุนช่วยเหลือยางเกษตรกรไร่ละ 2,520 บาท วันนี้ที่ประชุมได้อนุมัติให้ดำเนินการอย่างรวดเร็ว แต่ก็ได้มีการตรวจสอบและขึ้นทะเบียนด้วยซึ่งเรื่องดังกล่าวเกษตรกรพอใจ เรื่องที่ 2. เรื่องการอนุมัติเงินกู้ 5,000 ล้านบาท ให้สหกรณ์ยางเพื่อให้ปล่อยกู้แล้วนำไปรับซื้อยางไม่เฉพาะให้นายทุนกู้อย่างเดียวต้องให้สหกรณ์ด้วย และ 3.การขยายประเภทสหกรณ์ให้มากขึ้น กระทรวงการคลังก็ต้องไปหารือต่อในเรื่องนี้
เมื่อถามว่ายางพาราที่ยังค้างอยู่ในสต๊อกจะดำเนินการขายเลยหรือไม่ พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวว่า ต้องดำเนินการต่อโดยพิจารณาว่าจะขายหรือไม่ขาย หรือจะขายในราคาเท่าไรมันขึ้นอยู่กับราคาตลาดความจริงมีนโยบายมาหลายรัฐบาลแล้วแต่ยังไม่เคยทำได้วันนี้เรา ต้องทำให้ได้โดยเฉพาะเรื่องการควบคุมพื้นที่ การปลูกยาง ต้องใช้ดาวเทียมของกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตรวจสอบใครอยู่ในพื้นที่กำหนดหรือใครบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนโดยปัญหาวันนี้ของประเทศไทยคือข้อมูลไม่ตรงกันส่วนราคายางนั้นจะพยายามทำให้ขึ้นให้ได้ ส่วนอยู่ที่เท่าไหร่นั้นคงพูดไม่ได้ต้องใกล้เคียงกับราคาตลาดโลก เรื่องนี้ค่อนข้างอ่อนไหวจึงอย่าเพิ่งไปพูดอะไรและไม่ต้องห่วงทุกอย่างจะต้องทำให้เกิดความเข้มแข็ง
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ในการประชุมหารือกันได้เห็นชอบตามข้อเสนอ 4 แนวทางที่กระทรวงเกษตรฯ นำเสนอหลังจากไปหารือกับผู้ประกอบการและผู้ปลูกยางมา ขอย้ำอีกครั้งว่ารัฐบาลนี้ไม่ใช่รัฐบาลปกติดังนั้นเมื่อไม่ได้มีพรรคการเมือง ไม่ได้สังกัดกลุ่มต่าง ๆ ก็ต้องดูแลทุกคนอะไรที่จะออกได้ก็ออกทำได้ก็ทำ อะไรที่เร่งรัดได้ก็ต้องเร่งเพราะยังมีกฎหมายมีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ต่าง ๆ ก็ต้องแก้ทั้งระบบ ที่ผ่านมาเราเคยตั้งศูนย์วิจัยยางพาราซึ่งมีอยู่ศูนย์เดียวแล้วแยกกันทำงานวันนี้ก็ต้องรวมกันและแก้กฎหมายให้เป็นศูนย์ผลิตภัณฑ์วิจัยยางพาราเพื่อที่จะนำไปสู่การผลิตเพื่อยกระดับมูลค่าสินค้าที่จะส่งออกเป็นล้าน ๆ ตันในทุก ๆ ปีมีมูลค่ากว่า 3 แสนล้านแต่ถ้าสามารถเพิ่มมูลค่าการผลิตก็จะสามารถเพิ่มมูลค่าอีก 3-4 เท่า การทำที่นอนยางแผ่นปูถนนต่าง ๆ ก็ต้องช่วยกันทุกคนต้องมีส่วนร่วมรวมทั้งการสนับสนุนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนซึ่งเป็นหน้าที่ของบีโอไอ
"ส่วนนโยบายที่จะลดพื้นที่การปลูกยางนั้น เรื่องนี้ค่อยหารือกันอีกครั้ง อย่างไรก็ตามต้องคุมการปลูกยางให้ได้ก่อนแล้วค่อยมาลด ส่วนกรณีที่เกษตรกรที่ปลูกยางพารา 16 จังหวัด จะเดินทางเข้ามากดดันรัฐบาลในวันที่ 8 ต.ค.นั้น ได้พูดคุยกันเข้าใจแล้วและจะไม่มีการชุมนุมแล้ว เราต้องทำงานกันทีละขั้นตอนไม่ใช่ทั้งหมดจะมากดดันรัฐบาลหรือรัฐมนตรีไม่ได้ขณะนี้ได้วางแผนการทำงานไว้หมดแล้ว" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ที่ทำเนียบรัฐบาล ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า กรณีที่รัฐบาลจะจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางไร่ละ 2,520 บาท ที่ประชุม กนย. ได้อนุมัติเงินช่วยเหลือเกษตรกร รวม 3.3 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นส่วนแรก 1.5 หมื่นล้านบาท ให้ ธ.ก.ส. ปล่อยสินเชื่อให้เกษตรกรนำไปซื้อยางเพื่อนำไปแปรรูปซึ่ง ธ.ก.ส. จะให้สินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร 5,000 ล้านบาทไปใช้ในการรับซื้อยางมากขึ้น ส่วนที่ 2 อีก 15,000 ล้านบาทนั้นให้ธนาคารออมสินนำไปปล่อยกู้ให้กับ ผู้ประกอบการยางเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยาง เช่น ถุงมือยาง เตียงนอนยาง และส่วนที่ 3 อีก 3,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือปัจจัยการผลิตสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ไร่ละ 2,520 บาท ที่ยังจ่ายไม่หมด
"ขอให้ทุกคนสบายใจได้ว่าราคายางลดลงมาถึงจุดต่ำสุดกว่าต้นทุนและจากนี้ไปทุกคนสามารถไปขอสินเชื่อเพื่อซื้อยาง เพราะจากนี้ราคาจะขึ้นแน่นอนเมื่อมีการซื้อมากขึ้นก็จะทำให้ราคาในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ส่วนต่างประเทศนั้น เรากำลังหาคำสั่งซื้อพิเศษจากต่างประเทศเพื่อจะทำให้ราคายางปรับตัวสูงขึ้นซึ่งยังไม่เปิดเผยว่ามีประเทศใดสั่งซื้อบ้าง ส่วนสต๊อกยางของเรามี 210,000 ตัน หากราคายางดีขึ้นเราก็นำออกมาขาย แต่ถ้าราคาไม่ดี เราก็สามารถเก็บไว้ได้ นอกจากนี้จะจัดตั้งคณะอนุกรรมการอีก 1 คณะเพื่อจะนำผลประชุมไปหารือต่อใน ทุก ๆ ประเด็น" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
นายปีติพงศ์ให้สัมภาษณ์หลังประชุม กยน. ว่าบอร์ด กยน .ได้ดำเนินมาตรการเร่งด่วนคืออนุมัติเงินกู้ให้กับสหกรณ์การเกษตรเพื่อซื้อขายยางเข้าสต๊อก วงเงิน 3 หมื่นกว่าล้านบาท รวมทั้งให้เกษตรกรสวนยางกู้ยืมไปทำผลิตภัณฑ์แปรรูปยาง วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาทพร้อมกับเพิ่มวงเงินกู้ให้กับสถาบันธุรกิจไปปรับปรุงโรงงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยางเพิ่มมูลค่าทั้งนี้ได้ขยายเงินกู้ประเภทที่ 1 ให้กับเกษตรกรรายย่อยเพื่อไปทำอาชีพเสริม ในช่วงที่ว่างจากการกรีดยางโดยได้หารือกับ ธ.ก.ส. แล้วเพื่อให้ดำเนินการปล่อยกู้ได้ทันที ในวันที่ 23-25 ก.ย.นี้ จะไปเจรจาในการประชุมรัฐมนตรีเกษตรอาเซียนที่ประเทศเมียนมาร์ เพื่อวางกรอบความร่วมมือทำเป็นสต๊อกยางในอาเซียนเพื่อป้องกันยางราคาตกต่ำ
นายปีติพงศ์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาสินค้ายางพาราอย่างเป็นระบบและจัดตั้งศูนย์บริหารการแก้ไขปัญหายางพาราอย่างครบวงจร หรือวอร์รูมเพื่อนำข้อเสนอเกษตรกร มาแก้ไขเพิ่มเติม 3 ข้อ 1. จะให้ดูแลเกษตรกรทำการเกษตรแบบผสมผสาน 2. อัตราส่วนการปลูกยางทดแทนในกรณีโค่นยางเก่ากำหนดไว้ปีละ 4 แสนไร่ 3. ชะลอการกรีดยางในช่วงที่ยางราคาตกต่ำ และได้รับปากนายกรัฐมนตรี มาหารือกับ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.กระทรวง ทรัพยากรฯ วางแนวทางแก้ไขปัญหาซึ่งพบ ว่ามีการรุกพื้นที่ป่าเข้าไปปลูกสวนยางกว่า 1 ล้านไร่
ต่อมา นายอนันต์ ลิลา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) แถลงหลังการประชุมว่า เป็นการติดตามความก้าวหน้าการพัฒนายางพาราทั้งระบบและรายละเอียดในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำมีแนวทางจัดการแก้ไขปัญหา 12 มาตรการ โดยมาตรการเร่งด่วนคือการจัดการสต๊อกยาง มอบหมายให้องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ไปดำเนินการ ส่วน 11 มาตรการที่เหลือ อาทิ การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกร 1 หมื่นล้านบาท สนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการ 1.5 หมื่นล้านบาท การหาตลาดใหม่เพื่อการส่งออก ส่งเสริมการลงทุนการผลิตยางในประเทศสนับสนุนผู้ประกอบการในการผลิตยางด้วยการยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปีเป็นต้น ได้เร่งดำเนินการแล้ว
ด้านนายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า เตรียมเสนอแนวทางการทำสวนยางเชิงคู่เพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับเกษตรกร ในการลดปริมาณจำนวนยางที่ปลูกในแต่ละไร่ซึ่งจะทำให้ต้นยางแข็งแรงและให้ปริมาณน้ำยางมากขึ้นและนำพื้นที่ที่เหลือใช้ทำอย่างอื่น
นายอภิชาติ พันธุ์พิพัฒน์ นายกสมาคมน้ำยางข้นไทย กล่าวว่า ในการประชุมวันนี้ทางสมาคมได้เสนอต่อที่ประชุม 2 เรื่องด้วยกัน คือ ให้ทบทวนการจัดเก็บเงินสงเคราะห์ปลูกยางพารา (เงินเซสส์) จากผู้ส่งออกเข้ากองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในอัตราคงที่เพื่อให้ ผู้ส่งออกไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้และขอให้จัดหาเงินกู้ให้กับภาคธุรกิจยางพาราในการจัดซื้อยางในช่วงที่มีผลผลิตออกมา ระหว่างเดือน ต.ค.-ม.ค. และบริหารจัดการในช่วงที่มีการปิดหน้ายางได้
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีรับข้อเสนอทุกอย่างของเกษตรกรสวนยางพร้อมกับประกาศให้การแก้ไขยางพาราเป็นวาระแห่งชาติซึ่งมุ่งเน้นช่วยเกษตรกรให้มี ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการประชุมนี้ถือว่า นายกฯมีความตั้งใจเข้ามาวางระบบแก้ปัญหายางให้อยู่ได้อย่างแท้จริง.
ที่มา:::เดลินิวส์
รัฐบาล "ประยุทธ์" ไฟเขียวแก้ปัญหายางพาราตก ต่ำปล่อยกู้ 3.3 หมื่นล้านบาท ให้เกษตรกร-สหกรณ์พ่อค้ากระตุ้นตลาด พร้อมผ่าน 4 แนวทางแก้ปัญหา งัด 12 มาตรการเร่งด่วน ระบุ รถไฟสายยางพาราแห่งชาติต้องไม่ตกราง ทำทุกอย่างเป็นขั้นตอน รับปากดันราคาพุ่งตามตลาดโลก ด้าน "หม่อม อุ๋ย" โว ราคายางขึ้นแน่นอน มีออร์เดอร์สั่งซื้อจากต่างประเทศแล้ว ส่วน "เกษตรฯ" เล็ง ลดพื้นที่ปลูกยาง หลังพบข้อมูลมีชาวสวนรุกป่าสงวนปลูกยางถึง 1 ล้านไร่ ตั้งศูนย์ปฏิบัติการสินค้ายางพาราเป็นศูนย์กลางแก้ปัญหายางพาราทั้งระบบ
ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 19 ก.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 2/2557 ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ 4 แนวทาง เพื่อแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบโดยมี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ และม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เข้าประชุม โดยถือเป็นการประชุมในฐานะประธานคณะกรรมการฯครั้งแรกสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่ 1/2557 ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา
สำหรับการหารือ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ จะนำข้อเสนอของกระทรวงหารือกับภาคเอกชนและภาคเกษตรกรใน 4 แนวทาง คือ 1. เร่งรัดการใช้ยางภายในประเทศให้มากขึ้น 2 .ผลักดันและเร่งรัดโครงการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้สถาบันเกษตรกรรับซื้อยางจากเกษตรกรในราคาที่สูงขึ้นและการปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ นำเงินเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อใช้ในการแปรรูปยาง อีกทั้งสนับสนุนให้มีการปล่อยเงินกู้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อเข้าถึงเกษตรกรมากขึ้น 3. สร้างตลาดการซื้อขายยางธรรมชาติโดยเชื่อมโยงให้มีการทำสัญญาซื้อขายและส่งมอบสินค้าจริงระหว่างเกษตรกรชาวสวนยางกับผู้ซื้อและ 4. ร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อกำหนดแนวทางจัดการการเก็บสต๊อกยางร่วมกัน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวภายหลังประชุมว่า เป็นนิมิตหมายที่ดีที่มีการพูดคุยเรื่องปัญหามากมายทั้งหมดวันนี้ได้กำหนดให้เรื่องยางพาราเป็นวาระแห่งชาติ ปัจจุบันราคายางต่ำลงเนื่องจากสาเหตุหลายประการทั้งในด้านเศรษฐกิจโลกวันนี้จึงมีการกำหนดมาตรการต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้าการให้เงินทุนต่าง ๆ ในการบริหารจัดการซื้อยางให้กับสหกรณ์ก็พูดคุยกันรู้เรื่องเรียบร้อย ส่วนการแก้ปัญหาระยะกลางและระยะยาวนั้น มีแผนในการดำเนินการต่อไปแล้ว
"คิดว่าเรื่องปัญหายางพาราต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 ปี ถึงจะแก้ได้ทั้งหมด เพราะปัญหาสะสมมานาน ทั้งเรื่องปัญหาการปลูก การวิจัยพัฒนายาง หรือการเพิ่มมูลค่า โดยสัปดาห์หน้าปลัดกระทรวงเกษตรฯก็จะไปพูดคุยกับประเทศที่ผลิตยาง หรือไตรภาคีต้องหารือร่วมกันว่าจะทำอย่างไรให้ราคายางเราดีขึ้น วันนี้เราหารือในบรรยากาศดีมากผมได้ขอบคุณทุกภาคส่วนทั้งต้นทางที่เป็นผู้ปลูกยางกลางทางคือผู้ที่ไปรับซื้อยางเพื่อนำมาสู่การผลิตในประเทศ และปลายทางคือการส่งขายออกนอกประเทศเราตกลงว่าเราจะขึ้นรถขบวนเดียวกันคือ รถไฟสายยางพาราแห่งชาติเป็นรถไฟขบวนเดียวกัน และต้องไม่ตกราง แต่ต้องเป็นรถด่วนคือแก้ปัญหายางได้สำเร็จโดยเร็ว" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการเฉพาะหน้าในการแก้ไขปัญหาคือ การแก้ปัญหาเรื่องที่ยังค้างคามาคือกองทุนช่วยเหลือยางเกษตรกรไร่ละ 2,520 บาท วันนี้ที่ประชุมได้อนุมัติให้ดำเนินการอย่างรวดเร็ว แต่ก็ได้มีการตรวจสอบและขึ้นทะเบียนด้วยซึ่งเรื่องดังกล่าวเกษตรกรพอใจ เรื่องที่ 2. เรื่องการอนุมัติเงินกู้ 5,000 ล้านบาท ให้สหกรณ์ยางเพื่อให้ปล่อยกู้แล้วนำไปรับซื้อยางไม่เฉพาะให้นายทุนกู้อย่างเดียวต้องให้สหกรณ์ด้วย และ 3.การขยายประเภทสหกรณ์ให้มากขึ้น กระทรวงการคลังก็ต้องไปหารือต่อในเรื่องนี้
เมื่อถามว่ายางพาราที่ยังค้างอยู่ในสต๊อกจะดำเนินการขายเลยหรือไม่ พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวว่า ต้องดำเนินการต่อโดยพิจารณาว่าจะขายหรือไม่ขาย หรือจะขายในราคาเท่าไรมันขึ้นอยู่กับราคาตลาดความจริงมีนโยบายมาหลายรัฐบาลแล้วแต่ยังไม่เคยทำได้วันนี้เรา ต้องทำให้ได้โดยเฉพาะเรื่องการควบคุมพื้นที่ การปลูกยาง ต้องใช้ดาวเทียมของกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตรวจสอบใครอยู่ในพื้นที่กำหนดหรือใครบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนโดยปัญหาวันนี้ของประเทศไทยคือข้อมูลไม่ตรงกันส่วนราคายางนั้นจะพยายามทำให้ขึ้นให้ได้ ส่วนอยู่ที่เท่าไหร่นั้นคงพูดไม่ได้ต้องใกล้เคียงกับราคาตลาดโลก เรื่องนี้ค่อนข้างอ่อนไหวจึงอย่าเพิ่งไปพูดอะไรและไม่ต้องห่วงทุกอย่างจะต้องทำให้เกิดความเข้มแข็ง
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ในการประชุมหารือกันได้เห็นชอบตามข้อเสนอ 4 แนวทางที่กระทรวงเกษตรฯ นำเสนอหลังจากไปหารือกับผู้ประกอบการและผู้ปลูกยางมา ขอย้ำอีกครั้งว่ารัฐบาลนี้ไม่ใช่รัฐบาลปกติดังนั้นเมื่อไม่ได้มีพรรคการเมือง ไม่ได้สังกัดกลุ่มต่าง ๆ ก็ต้องดูแลทุกคนอะไรที่จะออกได้ก็ออกทำได้ก็ทำ อะไรที่เร่งรัดได้ก็ต้องเร่งเพราะยังมีกฎหมายมีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ต่าง ๆ ก็ต้องแก้ทั้งระบบ ที่ผ่านมาเราเคยตั้งศูนย์วิจัยยางพาราซึ่งมีอยู่ศูนย์เดียวแล้วแยกกันทำงานวันนี้ก็ต้องรวมกันและแก้กฎหมายให้เป็นศูนย์ผลิตภัณฑ์วิจัยยางพาราเพื่อที่จะนำไปสู่การผลิตเพื่อยกระดับมูลค่าสินค้าที่จะส่งออกเป็นล้าน ๆ ตันในทุก ๆ ปีมีมูลค่ากว่า 3 แสนล้านแต่ถ้าสามารถเพิ่มมูลค่าการผลิตก็จะสามารถเพิ่มมูลค่าอีก 3-4 เท่า การทำที่นอนยางแผ่นปูถนนต่าง ๆ ก็ต้องช่วยกันทุกคนต้องมีส่วนร่วมรวมทั้งการสนับสนุนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนซึ่งเป็นหน้าที่ของบีโอไอ
"ส่วนนโยบายที่จะลดพื้นที่การปลูกยางนั้น เรื่องนี้ค่อยหารือกันอีกครั้ง อย่างไรก็ตามต้องคุมการปลูกยางให้ได้ก่อนแล้วค่อยมาลด ส่วนกรณีที่เกษตรกรที่ปลูกยางพารา 16 จังหวัด จะเดินทางเข้ามากดดันรัฐบาลในวันที่ 8 ต.ค.นั้น ได้พูดคุยกันเข้าใจแล้วและจะไม่มีการชุมนุมแล้ว เราต้องทำงานกันทีละขั้นตอนไม่ใช่ทั้งหมดจะมากดดันรัฐบาลหรือรัฐมนตรีไม่ได้ขณะนี้ได้วางแผนการทำงานไว้หมดแล้ว" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ที่ทำเนียบรัฐบาล ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า กรณีที่รัฐบาลจะจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางไร่ละ 2,520 บาท ที่ประชุม กนย. ได้อนุมัติเงินช่วยเหลือเกษตรกร รวม 3.3 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นส่วนแรก 1.5 หมื่นล้านบาท ให้ ธ.ก.ส. ปล่อยสินเชื่อให้เกษตรกรนำไปซื้อยางเพื่อนำไปแปรรูปซึ่ง ธ.ก.ส. จะให้สินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร 5,000 ล้านบาทไปใช้ในการรับซื้อยางมากขึ้น ส่วนที่ 2 อีก 15,000 ล้านบาทนั้นให้ธนาคารออมสินนำไปปล่อยกู้ให้กับ ผู้ประกอบการยางเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยาง เช่น ถุงมือยาง เตียงนอนยาง และส่วนที่ 3 อีก 3,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือปัจจัยการผลิตสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ไร่ละ 2,520 บาท ที่ยังจ่ายไม่หมด
"ขอให้ทุกคนสบายใจได้ว่าราคายางลดลงมาถึงจุดต่ำสุดกว่าต้นทุนและจากนี้ไปทุกคนสามารถไปขอสินเชื่อเพื่อซื้อยาง เพราะจากนี้ราคาจะขึ้นแน่นอนเมื่อมีการซื้อมากขึ้นก็จะทำให้ราคาในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ส่วนต่างประเทศนั้น เรากำลังหาคำสั่งซื้อพิเศษจากต่างประเทศเพื่อจะทำให้ราคายางปรับตัวสูงขึ้นซึ่งยังไม่เปิดเผยว่ามีประเทศใดสั่งซื้อบ้าง ส่วนสต๊อกยางของเรามี 210,000 ตัน หากราคายางดีขึ้นเราก็นำออกมาขาย แต่ถ้าราคาไม่ดี เราก็สามารถเก็บไว้ได้ นอกจากนี้จะจัดตั้งคณะอนุกรรมการอีก 1 คณะเพื่อจะนำผลประชุมไปหารือต่อใน ทุก ๆ ประเด็น" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
นายปีติพงศ์ให้สัมภาษณ์หลังประชุม กยน. ว่าบอร์ด กยน .ได้ดำเนินมาตรการเร่งด่วนคืออนุมัติเงินกู้ให้กับสหกรณ์การเกษตรเพื่อซื้อขายยางเข้าสต๊อก วงเงิน 3 หมื่นกว่าล้านบาท รวมทั้งให้เกษตรกรสวนยางกู้ยืมไปทำผลิตภัณฑ์แปรรูปยาง วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาทพร้อมกับเพิ่มวงเงินกู้ให้กับสถาบันธุรกิจไปปรับปรุงโรงงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยางเพิ่มมูลค่าทั้งนี้ได้ขยายเงินกู้ประเภทที่ 1 ให้กับเกษตรกรรายย่อยเพื่อไปทำอาชีพเสริม ในช่วงที่ว่างจากการกรีดยางโดยได้หารือกับ ธ.ก.ส. แล้วเพื่อให้ดำเนินการปล่อยกู้ได้ทันที ในวันที่ 23-25 ก.ย.นี้ จะไปเจรจาในการประชุมรัฐมนตรีเกษตรอาเซียนที่ประเทศเมียนมาร์ เพื่อวางกรอบความร่วมมือทำเป็นสต๊อกยางในอาเซียนเพื่อป้องกันยางราคาตกต่ำ
นายปีติพงศ์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาสินค้ายางพาราอย่างเป็นระบบและจัดตั้งศูนย์บริหารการแก้ไขปัญหายางพาราอย่างครบวงจร หรือวอร์รูมเพื่อนำข้อเสนอเกษตรกร มาแก้ไขเพิ่มเติม 3 ข้อ 1. จะให้ดูแลเกษตรกรทำการเกษตรแบบผสมผสาน 2. อัตราส่วนการปลูกยางทดแทนในกรณีโค่นยางเก่ากำหนดไว้ปีละ 4 แสนไร่ 3. ชะลอการกรีดยางในช่วงที่ยางราคาตกต่ำ และได้รับปากนายกรัฐมนตรี มาหารือกับ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.กระทรวง ทรัพยากรฯ วางแนวทางแก้ไขปัญหาซึ่งพบ ว่ามีการรุกพื้นที่ป่าเข้าไปปลูกสวนยางกว่า 1 ล้านไร่
ต่อมา นายอนันต์ ลิลา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) แถลงหลังการประชุมว่า เป็นการติดตามความก้าวหน้าการพัฒนายางพาราทั้งระบบและรายละเอียดในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำมีแนวทางจัดการแก้ไขปัญหา 12 มาตรการ โดยมาตรการเร่งด่วนคือการจัดการสต๊อกยาง มอบหมายให้องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ไปดำเนินการ ส่วน 11 มาตรการที่เหลือ อาทิ การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกร 1 หมื่นล้านบาท สนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการ 1.5 หมื่นล้านบาท การหาตลาดใหม่เพื่อการส่งออก ส่งเสริมการลงทุนการผลิตยางในประเทศสนับสนุนผู้ประกอบการในการผลิตยางด้วยการยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปีเป็นต้น ได้เร่งดำเนินการแล้ว
ด้านนายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า เตรียมเสนอแนวทางการทำสวนยางเชิงคู่เพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับเกษตรกร ในการลดปริมาณจำนวนยางที่ปลูกในแต่ละไร่ซึ่งจะทำให้ต้นยางแข็งแรงและให้ปริมาณน้ำยางมากขึ้นและนำพื้นที่ที่เหลือใช้ทำอย่างอื่น
นายอภิชาติ พันธุ์พิพัฒน์ นายกสมาคมน้ำยางข้นไทย กล่าวว่า ในการประชุมวันนี้ทางสมาคมได้เสนอต่อที่ประชุม 2 เรื่องด้วยกัน คือ ให้ทบทวนการจัดเก็บเงินสงเคราะห์ปลูกยางพารา (เงินเซสส์) จากผู้ส่งออกเข้ากองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในอัตราคงที่เพื่อให้ ผู้ส่งออกไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้และขอให้จัดหาเงินกู้ให้กับภาคธุรกิจยางพาราในการจัดซื้อยางในช่วงที่มีผลผลิตออกมา ระหว่างเดือน ต.ค.-ม.ค. และบริหารจัดการในช่วงที่มีการปิดหน้ายางได้
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีรับข้อเสนอทุกอย่างของเกษตรกรสวนยางพร้อมกับประกาศให้การแก้ไขยางพาราเป็นวาระแห่งชาติซึ่งมุ่งเน้นช่วยเกษตรกรให้มี ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการประชุมนี้ถือว่า นายกฯมีความตั้งใจเข้ามาวางระบบแก้ปัญหายางให้อยู่ได้อย่างแท้จริง.
ที่มา:::เดลินิวส์