ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 19, 2014, 03:02:41 PM »


รัฐบาลเตรียมดันแก้ยางเป็นวาระแห่งชาติ เห็นชอบ4ข้อเสนอกระทรวงเกษตรฯแก้ปัญหาทั้งระบบ
วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557 เวลา 13:05:20 น.
 




วันที่ 19 กันยายน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ หรือ กนย. ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรว่า เตรียมกำหนดการดำเนินการเรื่องยางให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อแก้ไขปัญหายางทั้งระบบ ซึ่งในวันนี้ที่ประชุมเห็นชอบ 4 แนวทางแก้ปัญหาราคายางตามที่กระทรวงเกษตรเสนอ คือ การเร่งรัดการใช้ยางภายในประเทศให้มากขึ้น รวมถึงการผลักดันและเร่งรัดโครงการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้สถาบันเกษตรกรรับซื้อยางจากเกษตรกรในราคาที่สูงขึ้น และการปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ นำเงินเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อใช้ในการแปรรูปยาง






อีกทั้ง สนับสนุนให้มีการปล่อยเงินกู้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อเข้าถึงเกษตรกรมากขึ้น ขณะเดียวกันได้สนับสนุนการสร้างตลาดการซื้อขายยางธรรมชาติ โดยเชื่อมโยงให้มีการทำสัญญาซื้อขายและส่งมอบสินค้าจริง ระหว่างเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ซื้อ และต่างประเทศ เพื่อกำหนดแนวทางจัดการเก็บสต๊อกยางร่วมกัน โดยทั้ง 4 แนวทางจะเริ่มดำเนินการทันที พร้อมกับการอิงราคาในตลาดโลก


นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังเตรียมหารือกับประเทศที่ผลิตยางในจำนวนมากถึงแนวทางในการกำหนดราคาและเพื่อไม่ให้เกิดปัญหายางค้างสต๊อค


ขณะเดียวกันจะเร่งจ่ายเงินช่วยเหลือให้เกษตรกรจำนวน 2,520 บาทต่อไร่ ที่ยังคงค้างจากรัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งจะดำเนินการควบคู่กับการปล่อยเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส.จำนวน 5,000 ล้านบาท เพื่อให้เกษตรกรซื้อยางไว้เพื่อเก็บเป็นสต็อค ส่วนอีก 10,000 ล้านบาทให้กู้เพื่อเป็นทุนในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางให้ทันสมัย และอีก 15,000 ล้านบาท ให้กู้จาก ธนาคารออมสิน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา


โดยเบื้องต้นได้สั่งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใช้ดาวเทียมสำรวจพื้นที่เพราะปลูกยางพาราเพราะที่ผ่านมาข้อมูลแต่ละกระทรวงไม่สอดคล้องกัน


ก่อนมอบหมายให้รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรลงพื้นที่ไปพูดคุยกับผู้ประกอบการและผลิตยางพาราในสัปดาห์หน้า


ทั้งนี้จากการพูดคุยกลุ่มเกษตรมีความพอใจในแนวทางและยืนยันว่าจะไม่มีการชุมนุมเพื่อเรียกร้องในวันที่ 8 ตุลาคม 2557 ตามกำหนดเดิม พร้อมให้เวลารัฐบาลในการดำเนินการ