ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 18, 2014, 02:40:21 PM »

รมว.เกษตรฯ ถก กนย. สัปดาห์หน้าพิจารณา 4 ข้อเสนอแก้ปัญหาราคา, ยันไม่แทรกแซง



        นาย ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับ นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางแห่งประเทศไทย (สกยท.) พร้อมด้วยผู้แทนภาคเกษตรกร อุตสาหกรรมด้านยางพาราทั้งระบบว่า ทุกฝ่ายได้มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ซึ่งจากการหารือและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้แทนภาคเกษตรกร และอุตสาหกรรมด้านยางพาราทั้งระบบ มีข้อคิดเห็นตรงกันในการแก้ไขปัญหายางพาราใน 4 ประเด็นหลัก คือ


1. ต้องเร่งวางมาตรการทำให้ยางพาราที่ค้างอยู่ในประเทศใช้ให้หมดโดยเร็ว โดยรัฐบาลต้องส่งเสริมในการนำยางพาราไปใช้ในกิจการต่างๆของรัฐ ทั้งโครงการสร้างถนน ระบบการป้องกันน้ำท่วม หรือกิจการอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้ยางพารา ขณะเดียวกันในเรื่องการโค่นยางเพื่อลดอุปทานยาง ต้องวางระบบการดำเนินงานให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ทั้งเรื่องการเคลื่อนย้ายต้นยาง และกระบวนการช่วยเหลือเกษตรกรภายหลังการโค่นยางแล้ว เป็นต้น


2. สำหรับมาตรการระยะสั้น ต้องผลักดันให้เกิดการขายยางพาราได้จริง โดยรัฐบาลจะดูแลในเรื่องราคา เนื่องจากขณะนี้ตลาดอุตสาหกรรมขายกระดาษราคาตกต่ำลงมาก ดังนั้น ต้องหาผู้ซื้อจากตลาดที่มีการขายพาราให้มากยิ่งขึ้น


3. โครงการสนับสนุนสินเชื่อควรขยายไปถึงกลุ่มเกษตรกรอื่นๆ นอกจากสหกรณ์ เช่น วิสาหกิจชุมชน เพื่อส่งเสริมให้วิสาหกิจชุมชนนำยางพารามาแปรรูปมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งสนับสนุนการซื้อยางพาราภายในประเทศ เพื่อผลักดันให้ราคาสูงขึ้น และ


4.สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดต่างประเทศให้ มากขึ้น รวมถึงการกำหนดราคายางร่วมกันกับต่างประเทศ และการเก็บสต๊อกยางพาราร่วมกันกับต่างประเทศ เพื่อผลักดันให้ราคายางพาราสูงขึ้น




รม ว.เกษตรฯ กล่าวว่า ข้อเสนอทั้ง 4 ประเด็นดังกล่าว จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ชุดใหม่ในสัปดาห์หน้า โดยการวางมาตรการแก้ไขปัญหายางพารายืนยันว่า จะไม่เน้นในเรื่องการแทรกแซงราคา และจะนำข้อเสนอแนะที่ได้รับฟังปัญหาจากตัวแทนกลุ่มเกษตรกรและสถาบันยางที่ เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหายางทั้งระบบอย่างมีประสิทธิภาพ


"การ ดำเนินงานในทั้ง 4 ประเด็น คาดว่า จะเห็นผลในการดำเนินงานภายใน 2-3 เดือน โดยรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกยางพาราอย่างเต็มที่และ จะเร่งผลักดันให้ราคายางพาราเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาจากตัวแทนกลุ่มเกษตรกรและสถาบันยางที่ เกี่ยวข้องมีจำนวนมาก จึงต้องดำเนินการไปทีละเรื่อง ทั้งเรื่องจัดการสต๊อกยางพารา การโค่นยางพารา การสนับสนุนสินเชื่อโครงการให้กับเกษตรกร และการนำยางพาราไปใช้ในกิจการของรัฐด้านต่างๆ ซึ่งต้องศึกษารายละเอียดเพื่อนำไปสู่การดำเนินการต่อไป"นายปีติพงศ์กล่าว






สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)