ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 01, 2014, 02:32:52 PM »

ปธ.อุตฯ ภาคใต้ หวั่นราคายางตกวิกฤตหนัก จี้รัฐเพิ่มมูลค่า จัดโซนนิ่งปลูกยาง


        ตรัง - ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ เผยนโยบายแก้ปัญหาราคายางตกต่ำของรัฐบาลชุดใหม่ยังมีแนวทางไม่ชัดเจน เสนอรัฐเร่งเพิ่มมูลค่ายาง หันมาทำตลาดในประเทศแทนการส่งออก เสริมการจัดโซนนิ่งยางพาราแม้จะทำได้ยาก แต่จะแก้ปัญหาราคายางที่เกิดซ้ำซาก ค้านนโยบายแทรกแซงราคายางเพราะเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น เสี่ยงการคอร์รัปชัน


       
       วันนี้ (29 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิถี สุพิทักษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ เผยถึงนโยบายการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำของรัฐบาลชุดใหม่ว่า ขณะนี้ยังมีทิศทางไม่ชัดเจน เนื่องจากยังไม่เห็นตัวบุคคลที่จะเข้ามานั่งในตำแหน่งด้านเศรษฐกิจ เช่น รมว.คลัง รมว.พาณิชย์ รมว.เกษตรฯ ส่วนรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลนโยบายโดยรวมก็คงเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะเข้าใจปัญหาราคายางพารามากน้อยเพียงใด เพราะเป็นเรื่องที่ได้มีการพยายามแก้กันมาหลายรัฐบาลแล้วแต่ก็ยังไม่สัมฤทธิ ผล เนื่องจากปัญหาราคายางพารามีความเกี่ยวข้อง และซับซ้อนมาก จึงต้องใช้ระยะเวลานาน และความต่อเนื่องรวมทั้งดำเนินการอย่างจริงจัง


       
       ทั้ง นี้ สิ่งที่รัฐบาลชุดใหม่ควรจะต้องรีบทำก็คือ การเพิ่มมูลค่ายางพาราด้วยการนำมาใช้ในประเทศให้มากขึ้น แทนที่จะพึ่งพาการส่งออกเพียงอย่างเดียว จากเดิมที่มีสัดส่วนประมาณ 10-15% เปลี่ยนเป็นไม่น้อยกว่า 20-30% ซึ่งจะส่งผลให้ราคายางพาราค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้นมาเอง โดยในส่วนของผู้ประกอบการแม้จะมีผลกระทบบ้าง แต่ก็อยู่ในภาระที่ยอมรับได้ และต้องเปลี่ยนมาทำตลาดในประเทศแทนการส่งออกแทน แต่ตนไม่เห็นด้วยต่อนโยบายแทรกแซงราคายางพารา เพราะเป็นเพียงการแก้ปัญหาในระยะสั้น แต่กลับทำให้กลไกทางตลาดเสียหาย และเสี่ยงต่อการเกิดทุจริตคอร์รัปชัน หรือท้ายสุดผลประโยชน์ก็จะตกไปสู่นายทุนเพียงกลุ่มเดียว


       
       นอกจากนั้นยังเห็นด้วยต่อการแก้ปัญหาด้วยการจัดโซนนิ่งยางพาราเนื่องจากปัจจุบันไม่เฉพาะภาคเหนือ และภาคอีสาน ที่มีการปลูกกันเป็นจำนวนมากแล้วยังมีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านด้วยจนทำให้ยางพาราอยู่ภาวะที่มีปริมาณล้นตลาด หรือมากกว่าความต้องการแม้การจัดโซนนิ่งจะเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่รัฐบาลชุดใหม่ก็ต้องพยายามดำเนินการไม่เช่นนั้นปัญหาราคายางพาราตกต่ำก็จะวกไปวนมาเช่นนี้ไม่รู้จบซึ่งในอนาคตภาคใต้ยังอาจมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีก เมื่อเริ่มเปิด AEC เช่นราคาปาล์มน้ำมันของประเทศไทยที่อาจจะสู้กับประเทศมาเลเซียไม่ได้ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่ต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด




ASTVผู้จัดการออนไลน์