วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557
[/t] วิเคราะห์ | 1. สภาพภูมิอากาศ | - มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ และตรัง | 2. การใช้ยาง | - สำนักงานสถิติของอินโดนีเซีย (BPS) เปิดเผยว่า ช่วงครึ่งปีแรกมูลค่าการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางของเกาะสุมาตราตอนเหนือ อยู่ที่ 8.15 ร้อยล้านดอลล่าร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 1.12 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 27.38 เนื่องจากความต้องการอ่อนตัวลง | 3. สต๊อคยาง | - สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2557 เพิ่มขึ้น 2,408 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.57 อยู่ที่ 155,446 ตัน จากระดับ 153,038 ตัน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2557 | 4. เศรษฐกิจโลก | - สำนักข่าวรอยเตอร์และมหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงานว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือนสิงหาคมลดลงแตะ 79.2 จุด จากเดือนกรกฎาคมที่ 81.8 จุด ผลการสำรวจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลที่มีต่ออนาคตของกลุ่มผู้ บริโภคสหรัฐฯ ขณะที่ดัชนีคาดการณ์ลดลงแตะ 66.2 จุดในช่วงต้นเดือนสิงหาคม จากเดือนกรกฎาคมที่ 71.8 จุด - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของการผลิต ชิ้นส่วนรถยนต์และการผลิตรถยนต์ บ่งชี้ถึงภาวะการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง โดยรายงานระบุว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 0.4 ในเดือนกรกฎาคม นับว่าขยายตัวเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวมชะลอตัวลงในเดือนสิงหาคม หลังจากที่ปรับตัวขึ้นอย่างมากในเดือนกรกฎาคม โดยดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวมปรับตัวลดลงแตะ 14.69 จุดในเดือนสิงหาคม - สำนักงานสถิติอังกฤษเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปลายปี 2550 | 5. อัตราแลกเปลี่ยน | - เงินบาทอยู่ที่ 31.85 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ - เงินเยนอยู่ที่ 102.31 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.18 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | 6. ราคาน้ำมัน | - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายน ปิดตลาดที่ 97.35 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.77 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากที่สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนปะทุขึ้นอีกครั้ง ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนตุลาคมที่ตลาดลอนดอนเพิ่มขึ้น 1.4 ดอลล่าร์สหรัฐ ปิดที่ 103.53 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล | 7. การเก็งกำไร | - ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน 2557 อยู่ที่ 186.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 195.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.2 เยนต่อกิโลกรัม - ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 180.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | 8. ข่าว | - นักลงทุนเกิดความกังวลระลอกใหม่จากกระแสข่าวกองทัพยูเครนได้โจมตีและทำลาย ยานยนต์หุ้มเกราะที่ข้ามชายแดนจากฝั่งรัสเซียเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ในบริเวณที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนครอบครองอยู่ โดยระบุว่าไม่มียานยนต์หุ้มเกราะข้ามแดนไปแต่อย่างใด | 9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ | - ราคายางปรับตัวลดลง เพราะไม่มีปัจจัยบวกที่ชัดเจนกระตุ้นราคา โดยเฉพาะข้อมูลเศรษฐกิจหลายประเทศยังมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ผู้ซื้อยังกังวลเกี่ยวกับการใช้ยางที่ชะลอตัว ทำให้ผู้ประกอบการไม่มั่นใจในทิศทางของราคา | แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียว เนื่องจากไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ กระตุ้นตลาด และนักลงทุนไม่มั่นใจในทิศทางของราคายาง หลังจากสหรัฐฯ และจีน รายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความต้องการใช้ยางที่ชะลอตัว ประกอบกับเงินบาทแข็งค่า ขณะที่สต๊อคยางจีน ณ ตลาดล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.57 อยู่ที่ 155,446 ตัน (15 สิงหาคม 2557)
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา |
[/td][/tr][/table]