ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: สิงหาคม 13, 2014, 12:14:35 PM »

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  13  สิงหาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย ขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนมาพาดผ่านประเทศเมียนมาร์ ลาว และเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนกระจายเป็นแห่ง   ๆ ร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- รายงานของคณะกรรมการอินเดียเมื่อวันที่   7 สิงหาคม 2557 ระบุว่าเดือนกรกฎาคม อินเดียนำเข้ายางธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ   14.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 36,997 ตัน เนื่องจากความต้องการของอุตสาหกรรมยางล้อในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานระบุว่าเดือนกรกฎาคมปริมาณการใช้ยางเพิ่มขึ้นเป็น   88,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.5 ขณะที่ปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติของอินเดียเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 59,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3
- อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเปิดเผยว่า   กรมฯ ยังคงตัวเลขเป้าหมายการส่งออกสินค้ายานยนต์ของไทยปีนี้ไว้ที่ร้อยละ 10.0 เช่นเดียวกับการส่งออกสินค้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 10.0 เนื่องจากแนวทางของอุตสาหกรรมยานยนต์มีทิศทางที่ดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจ
 
3. สต๊อคยาง
 
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 8 สิงหาคม   2557 ลดลง 413 ตัน หรือลดลงร้อยละ 0.27 อยู่ที่ 153,038 ตัน จากระดับ 153,451 ตัน เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2557
- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ลดลง   798 ตัน หรือลดลงร้อยละ 4.63 อยู่ที่ 16,444 ตัน จาก 17,242 ตัน เมื่อวันที่ 20   กรกฎาคม 2557
 
4. เศรษฐกิจโลก
 
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า   ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 2.3   เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นตัวเลขเท่ากับการขยายตัวในเดือนมิถุนายน
- สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือนกรกฎาคมความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นติดต่อกันเป็นเดือน ที่ 3 ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าผลกระทบเชิงลบจากการขึ้นภาษีการบริโภคเมื่อวันที่ 1 เมษายน คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ   รายงานว่า ยอดสต๊อคสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนมิถุนายนขยายตัวร้อยละ 0.3 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ และอาจส่งผลต่อการประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 2
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ   เปิดเผยว่า ประสิทธิภาพการผลิตนอกภาคการเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้นแข็งแกร่งเกินคาดในไตรมาส 2   โดยรายงานระบุว่าประสิทธิภาพการผลิตปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 4.5 ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นอัตราการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2524
- ธนาคารกลางฝรั่งเศสคาดการณ์ว่า   ไตรมาส 3 เศรษฐกิจฝรั่งเศสจะขยายตัวร้อยละ 0.2 ซึ่งเท่ากับการขยายตัวในไตรมาส 2
- ข้อมูลสถิติล่าสุดบ่งชี้ว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของฝรั่งเศสปรับตัวเพิ่มขึ้น สูงกว่าที่คาดการณ์ในเดือนมิถุนายน ถึงแม้ว่าจะยังไม่มากพอที่จะฉุดรั้งไม่ให้ผลผลิตไตรมาส 2 ต้องหดตัวลงก็ตาม โดยรายงานระบุว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของฝรั่งเศส ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2   ในกลุ่มยูโรโซน ขยายตัวร้อยละ 1.3 ในเดือนมิถุนายน
- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 หดตัวลงร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี และหากเทียบเป็นรายไตรมาสพบว่า GDP ไตรมาส 2 หดตัวลงร้อยละ 1.7 เป็นผลมาจากมาตรการปรับขึ้นภาษีการบริโภคเมื่อเดือนเมษายน ส่วนการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวลดลงร้อยละ 5.0
 
5. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 31.98 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.34 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 102.30 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.40 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
6. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายน ปิดตลาดที่ 97.37 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.71 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA.) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกปี 2557
- สำนักงานพลังงานสากล (IEA.) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกปี 2557 ลงเหลือ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา
- องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันของ   OECD เดือนมิถุนายนปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.8 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 2,671 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2556
 
7. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน 2557 อยู่ที่ 189.9 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 199.2 เยนต่อกิโลกรัม   ลดลง 1.9 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 185.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ลดลง 2.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
8. ข่าว
 
- นายกรัฐมนตรียูเครนเผยแผนการคว่ำบาตรรัสเซีย เพื่อตอบโต้ที่อีกฝ่ายให้การสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดน โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่างกฎหมายเพื่อการคว่ำบาตรแล้ว นับเป็นครั้งแรกที่ยูเครนใช้มาตรการเข้มงวดกับต่างประเทศ
 
9.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางปรับตัวลดลง 1 บาท เพราะยังคงขายยากหากเสนอราคาตามตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ โดยผู้ซื้อจะเสนอซื้อในราคาต่ำก็จะขายได้หมด แต่ผู้ประกอบการหลายรายไม่ขายเพราะขาดทุน โดยเฉพาะรายที่มีเงินทุนหมุนเวียนมากจะไม่ขาย แต่รายที่มีเงินทุนน้อยก็ต้องขายออกบ้าง   เพื่อนำเงินมาหมุนเวียน
 
   แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคา น้ำมัน รวมถึงความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่น หลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 หดตัวลงร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี ประกอบกับกระแสความขัดแย้งทางการเมืองในยูเครน อิรัก และฉนวนกาซ่า นอกจากนี้นักลงทุนยังระมัดระวังในการซื้อขายเพื่อรอดูข้อมูลเศรษฐกิจเดือน กรกฎาคมที่สำคัญของจีนและสหรัฐฯ ที่จะเปิดเผยในวันนี้
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]