ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2014, 11:39:05 AM »

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  29  กรกฎาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 40 - 70 ของพื้นที่ โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ ตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดระนอง   พังงา และภูเก็ต เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ   ณ นครชิคาโก ประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ปี 2558 แนวโน้มส่งออกยางรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกของไทยจะเพิ่มขึ้น และมีโอกาสเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในสหรัฐฯ เพราะกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ไต่สวนการนำเข้ายางรถจากจีนที่จำหน่ายในราคาต่ำเกินไป จนกระทบต่ออุตสาหกรรมยางรถยนต์ในสหรัฐฯ และเตรียมประกาศเก็บภาษีโต้ตอบการทุ่มตลาด (AD) ยางรถนำเข้าจากจีนในอัตราร้อยละ 45.80 - 87.99 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2557 ทำให้สินค้านำเข้าและยางรถจีนในสหรัฐฯ มีราคาสูงขึ้น ทั้งนี้พบว่า 5 เดือนแรกไทยส่งออกกลุ่มรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 61.00 มีมูลค่า 222 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
 
3. สต๊อคยาง
 
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 25 กรกฎาคม   2557 เพิ่มขึ้น 376 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25
 อยู่ที่ 153,255 ตัน จากระดับ 152,879 ตัน เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2557

 
4. เศรษฐกิจโลก
 
- กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยว่า ช่วงครึ่งปีแรกการค้าบริการของจีนขยายตัวร้อยละ 15.3 อยู่ที่ 2.85 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ การส่งออกบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 อยู่ที่ 1.13 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 13.6 อยู่ที่ 1.72 แสนดอลล่าร์สหรัฐ สำหรับยอดขาดดุลการค้าบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6
- สหรัฐฯ   จะเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 วันพุธนี้ ซึ่ง   แบงค์ ออฟ อเมริกา เมอร์รัล ลินซ์ คาดว่า GDP สหรัฐฯ จะขยายตัวแข็งแกร่งถึงร้อยละ 3.5 หลังจากที่หดตัวลงร้อยละ 2.9 ในไตรมาสแรก เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ   เปิดเผยว่า เดือนมิถุนายนยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.2 ในเดือนก่อน ซึ่งอัตราการขยายตัวยังไม่แน่นอน แต่พอที่จะบอกได้ว่าการลงทุนภาคเอกชนยังจำเป็นต้องได้รับปัจจัยสนับสนุนมาก ขึ้น   เพื่อกระตุ้นการขยายตัว
- กระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจของยูเครนคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจยูเครนจะทรุดตัวลงร้อยละ 6.0 ในปีนี้ ก่อนที่จะฟื้นตัวในอัตราร้อยละ 2.0 ในปีหน้า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มไต่ระดับขึ้นแตะที่ร้อยละ 19.0 ท่ามกลางวิกฤตการณ์ที่เลวร้ายในขณะนี้
- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า   ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เบื้องต้นไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 0.8   จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- สถาบัน Ifo   ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมันเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมันเดือนกรกฎาคมลดลงสู่ระดับ 108.0 จุด จาก   109.7 จุดในเดือนมิถุนายน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 109.4 จุด
- ผลสำรวจโดยบริษัท Gfk ชี้ให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเยอรมันเดือนสิงหาคมปรับตัวขึ้นแตะ 9.0 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 8 ปี จาก 8.9 จุดในเดือนกรกฎาคม
[/size]- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นสำหรับปี 2557 หลังจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเหนือคาดการณ์เมื่อช่วงต้นปี ก่อนที่มีการปรับเพิ่มภาษีการบริโภค โดยจากการปรับปรุงตัวเลขในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก IMF. คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 1.6 ในปี 2557
[/size]- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำสถิติขยายตัวเป็นเดือนที่ 13 ติดต่อกัน เป็นผลมาจากการปรับขึ้นภาษีการบริโภคเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
[/size]- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมมีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยอัตราการขยายตัวดังกล่าวแตะระดับสูงสุดระดับใหม่ในปีนี้
[/size]- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนกรกฎาคมของสหรัฐฯ อยู่ที่ 61.0 จุด ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจข้อมูลในเดือนตุลาคม 2552 หรือในรอบ 4 ปีครึ่ง
 
[/size]5. อัตราแลกเปลี่ยน
 
[/size]- เงินบาทอยู่ที่ 31.82 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 101.88 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.06 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
[/size]6. ราคาน้ำมัน
 
[/size]- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายน ปิดตลาดที่ 101.67 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.42 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขายก่อนที่สหรัฐฯ จะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ รวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)   ไตรมาส 2 และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนกรกฎาคม
 
[/size]7. การเก็งกำไร
 
[/size]- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 198.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น   3.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 208.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น   4.1 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 199.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   (เป็นราคาปิดวันที่ 25 กรกฎาคม 2557)
 
[/size]8. ข่าว
 
[/size]- กระทรวงทรัพยากรมนุษย์และประกันสังคมจีนเปิดเผยว่า จำนวนผู้มีงานทำในเขตเมืองช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้น 7.37 ล้านราย อัตราว่างงานยังคงอยู่ที่ร้อยละ 4.08 การจ้างงานเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้น 7.25 ล้านราย- สำนักงานสถิติสเปนระบุว่า   ช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน จำนวนคนว่างงานในสเปนลดลง 310,400 ราย อยู่ที่   5,622,900 ราย ขณะที่กระทรวงแรงงานระบุว่าจำนวนผู้ว่างงานสเปนอยู่ที่ร้อยละ 24.47 เมื่อเทียบกับร้อยละ 25.93   ในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ   เปิดเผยว่า ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเดือนมิถุนายนปรับตัวลดลงร้อยละ 1.1 สู่ระดับ 102.7 จุด   สวนทางกับที่คาดการณ์ และเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน   นับเป็นสัญญาณว่าการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ ยังไม่ราบรื่น
 
[/size]9.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
[/size]- ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดต่างประเทศที่นักลงทุนเข้าซื้อเพื่อ เก็งกำไร   อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการกล่าวว่า ราคายางยังขึ้นอยู่กับกระแสข่าวรายวันที่นักลงทุนในตลาดล่วงหน้าพยายามปล่อย ข่าว   โดยถ้าต้องการให้ราคาขึ้นก็ปล่อยข่าวในด้านบวก หากต้องการให้ราคาลงก็ปล่อยข่าวในด้านลบ ทำให้ผู้ประกอบการบางรายต้องรอดูสถานการณ์ที่ชัดเจนว่าราคาจะสูงขึ้นจริง หรือไม่
 
   [/size]แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เพราะได้รับแรงหนุนจากเงินเยนอ่อนค่า และข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ เช่น ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น และภาคอุตสาหกรรมของจีนมีกำไรเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในปีนี้ นอกจากนี้สต๊อคยางจีน ณ ท่าเรือชิงเต่าปรับลดลงจาก 305,500 ตัน (30 มิถุนายน 2557) มาอยู่ที่ 289,800 ตัน (15 กรกฎาคม 2557) ชี้ให้เห็นว่าจีนอาจจะซื้อยางเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยสต๊อคยางที่ปรับตัวลดลง อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีปัจจัยกดดันจากนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขาย ก่อนที่สหรัฐฯ จะเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ในวันพุธนี้
[/size]
[/size]
[/size]
[/size]ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]