ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2014, 12:50:01 PM »คาด...ความต้องการถุงมือยางของโลกจะเพิ่มขึ้น
มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2557 ความต้องการถุงมือยางของโลกจะเติบโตร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับปี 2556 และมีปริมาณการส่งออกประมาณ 178.6 พันล้านชิ้น
มาเลเซีย คือผู้นำในการผลิตและส่งออกถุงมือยางของโลก มีส่วนแบ่งตลาดสูงถึงร้อยละ 63 และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันมาเลเซียเป็นผู้ผลิตและขายถุงมือยางเพียงรายเดียวใน 120 ประเทศ จากที่ส่งออกทั้งหมด 196 ประเทศ และยังนำหน้าคู่แข่งอย่างประเทศไทยและอินโดนีเซียเนื่องจากมีเทคโนโลยีการ ผลิตก้าวหน้าและต้นทุนการผลิตที่ต่ำ
ในปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกถุงมือยางของมาเลเซียมีมูลค่าสูงถึง 10.5 พันล้านริงกิต และคณะกรรมการส่งเสริมการส่งออกยางของมาเลเซีย (MREPC) คาดว่า ยอดจำหน่ายในปีนี้จะสูงถึง 12 พันล้านริงกิต
ความต้องการถุงมือยางเกิดจากความตระหนักทางด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นและ การปฏิรูประบบสาธารณสุข ที่ทำให้มีกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นหลังจากมีการระบาดของโรค เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ H1N1 และโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจที่พบในเขตตะวันออกกลางเมื่อไม่กี่ปีมา นี้
ประชากรโลกร้อยละ 11 มีการใช้ถุงมือยางถึงร้อยละ 70 ของปริมาณถุงมือยางทั้งหมด และจะยังคงมีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก
นาย Lee Kim Meow ประธานจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการด้านถุงมือยางนานาชาติ (IRGCE) ครั้งที่ 7 กล่าวในพิธีลงนามความร่วมมือว่า เมื่อผู้ที่ควรใช้ถุงมือร้อยละ 89 คุ้นเคยกับการใช้ถุงมือยางในการทำงานควบคู่กันกับการตระหนักในเรื่องสุขภาพ และการเพิ่มขึ้นของงบประมาณที่ใช้ในการดูแลสุขภาพ เราจะเห็นศักยภาพของการเติบโตมากขึ้น
การจัดประชุม IRCGE ครั้งที่ 7 เป็นการจัดร่วมกันของสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางของมาเลเซีย (MARGMA) และ MREPC ในหัวข้อ ?A State of the Glove Affair? โดยจะมีผู้แสดงนิทรรศการสินค้าเข้าร่วมมากกว่า 100 ราย จาก 12 ประเทศ และผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ที่เข้าร่วมงานคือ Hartalega, Kossan, Latexx Partners, Supermax และ Top Glove
อุตสาหกรรมสนับสนุนตลาดถุงมือยาง เช่น บริษัทผลิตครื่องจักรและสารเคมี และบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์การแพทย์ระดับนานาชาติ จะเข้าร่วมในงานที่จะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 2 และ 4 กันยายน ณ ศูนย์การประชุมกรุงกัวลาลัมเปอร์
นาย Lim Kwee Shyan นายกสมาคม MARGMA กล่าวว่าการประชุมฯนี้ ยังเป็นเวทีสำหรับผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมทั้งหมดรวมทั้งผู้ออกกฎ ระเบียบที่จะมาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี?เขียว? บรรจุภัณฑ์ ระบบอัตโนมัติ และความก้าวหน้าใหม่ทางด้านเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์
ที่มา>>Rubberthai.com
มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2557 ความต้องการถุงมือยางของโลกจะเติบโตร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับปี 2556 และมีปริมาณการส่งออกประมาณ 178.6 พันล้านชิ้น
มาเลเซีย คือผู้นำในการผลิตและส่งออกถุงมือยางของโลก มีส่วนแบ่งตลาดสูงถึงร้อยละ 63 และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันมาเลเซียเป็นผู้ผลิตและขายถุงมือยางเพียงรายเดียวใน 120 ประเทศ จากที่ส่งออกทั้งหมด 196 ประเทศ และยังนำหน้าคู่แข่งอย่างประเทศไทยและอินโดนีเซียเนื่องจากมีเทคโนโลยีการ ผลิตก้าวหน้าและต้นทุนการผลิตที่ต่ำ
ในปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกถุงมือยางของมาเลเซียมีมูลค่าสูงถึง 10.5 พันล้านริงกิต และคณะกรรมการส่งเสริมการส่งออกยางของมาเลเซีย (MREPC) คาดว่า ยอดจำหน่ายในปีนี้จะสูงถึง 12 พันล้านริงกิต
ความต้องการถุงมือยางเกิดจากความตระหนักทางด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นและ การปฏิรูประบบสาธารณสุข ที่ทำให้มีกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นหลังจากมีการระบาดของโรค เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ H1N1 และโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจที่พบในเขตตะวันออกกลางเมื่อไม่กี่ปีมา นี้
ประชากรโลกร้อยละ 11 มีการใช้ถุงมือยางถึงร้อยละ 70 ของปริมาณถุงมือยางทั้งหมด และจะยังคงมีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก
นาย Lee Kim Meow ประธานจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการด้านถุงมือยางนานาชาติ (IRGCE) ครั้งที่ 7 กล่าวในพิธีลงนามความร่วมมือว่า เมื่อผู้ที่ควรใช้ถุงมือร้อยละ 89 คุ้นเคยกับการใช้ถุงมือยางในการทำงานควบคู่กันกับการตระหนักในเรื่องสุขภาพ และการเพิ่มขึ้นของงบประมาณที่ใช้ในการดูแลสุขภาพ เราจะเห็นศักยภาพของการเติบโตมากขึ้น
การจัดประชุม IRCGE ครั้งที่ 7 เป็นการจัดร่วมกันของสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางของมาเลเซีย (MARGMA) และ MREPC ในหัวข้อ ?A State of the Glove Affair? โดยจะมีผู้แสดงนิทรรศการสินค้าเข้าร่วมมากกว่า 100 ราย จาก 12 ประเทศ และผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ที่เข้าร่วมงานคือ Hartalega, Kossan, Latexx Partners, Supermax และ Top Glove
อุตสาหกรรมสนับสนุนตลาดถุงมือยาง เช่น บริษัทผลิตครื่องจักรและสารเคมี และบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์การแพทย์ระดับนานาชาติ จะเข้าร่วมในงานที่จะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 2 และ 4 กันยายน ณ ศูนย์การประชุมกรุงกัวลาลัมเปอร์
นาย Lim Kwee Shyan นายกสมาคม MARGMA กล่าวว่าการประชุมฯนี้ ยังเป็นเวทีสำหรับผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมทั้งหมดรวมทั้งผู้ออกกฎ ระเบียบที่จะมาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี?เขียว? บรรจุภัณฑ์ ระบบอัตโนมัติ และความก้าวหน้าใหม่ทางด้านเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์
ที่มา>>Rubberthai.com