ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2014, 12:18:41 PM »

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  23  กรกฎาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ประเทศไทยยังมีฝนตกในเกณฑ์กระจาย ร้อยละ 40 -   60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- สมาคมยางของเวียดนาม   (VRA) ระบุว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปี เวียดนามส่งออกยางพาราจำนวน 2.39 แสนตัน คิดเป็นมูลค่า 472 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ   ลดลงร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่รายได้ลดลงร้อยละ   39.3 คาดว่าปี 2557 รายได้รวมจากการส่งออกยางพาราจะอยู่ที่ร้อยละ 25 - 30   ซึ่งต่ำกว่าปี 2556
- จากรายงานฉบับย่อของเวียดนามระบุว่า ได้มีความพยายามช่วยเหลือบริษัทในประเทศให้ประสบความสำเร็จในตลาดโลก โดยกระทรวงการคลังกำลังพิจารณาที่จะปรับลดอัตราส่งออกยางให้เป็นร้อยละ 0 จากอัตราปัจจุบันที่ร้อยละ 1 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556
 
3. สต๊อคยาง
 
- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 10   กรกฎาคม 2557 ลดลง 1,245 ตัน หรือลดลงร้อยละ 6.54 อยู่ที่ 17,782 ตัน จากระดับ 19,027 ตัน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2557
 
4. เศรษฐกิจโลก
 
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปรายงานว่า สิ้นไตรมาสปี   2557 อัตราส่วนหนี้รัฐบาลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อยู่ที่ร้อยละ 88.0 เทียบกับร้อยละ 87.2 ณ สิ้นไตรมาสปี 2556 ขณะเดียวกันอัตราส่วนหนี้รัฐบาลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในยูโรโซนเพิ่มขึ้นสู่ร้อยละ 73.9จากร้อยละ 92.7
- รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจที่แท้จริงในประเทศ สำหรับปีงบประมาณ   2557 เหลือร้อยละ 1.2 จากร้อยละ 1.4 เนื่องจากความวิตกกังวลว่าการปรับขึ้นภาษีการบริโภคเมื่อเดือนเมษายนจะฉุด รั้งอุปสงค์ภายในประเทศให้อ่อนแรงลงอย่างต่อเนื่อง
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ   เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิถุนายนปรับขึ้นร้อยละ   0.3 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือนพฤษภาคม และหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนี CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1   เท่ากับเดือนพฤษภาคม
- รายงานจากรัฐบาลเกาหลีใต้เปิดเผยว่า   การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ช่วงครึ่งแรกของปีทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เป็นผลมาจากอุปสงค์จากจีนที่เพิ่มสูงขึ้น
 
5. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 31.78 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.10 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 101.39 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น   0.10 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
6. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่ 104.42 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง   0.17 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าสถานการณ์ในยูเครนเริ่มคลี่คลาย นอกจากนี้นักลงทุนเทขายทำกำไรหลังราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเมื่อวานนี้
 
7. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 193.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น   1.1 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 202.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น   0.4 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 199.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ลดลง 1.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
8. ข่าว
 
- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ   (NAR) เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายบ้านมือสองเดือนมิถุนายนปรับตัวขึ้นร้อยละ 2.6   อยู่ที่ 5.04 ล้านยูนิต โดยยอดจำหน่ายบ้านมือสองปรับขึ้นเป็นเดือนที่ 3   ติดต่อกัน และแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว หรือในรอบ 8 เดือน นับเป็นสัญญาณว่าตลาดที่อยู่อาศัยกำลังฟื้นตัวขึ้น หลังจากซบเซามานานหลายเดือน
- ข้อมูลอย่างเป็นทางการล่าสุดบ่งชี้ว่าสถานการณ์การจ้างงานของจีนกำลังปรับ ตัวดีขึ้น   หลังมีตำแหน่งงานใหม่ในเขตเมืองเพิ่มขึ้นกว่า 7 ล้านตำแหน่งในครึ่งแรกของปี ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำกว่าเป้าหมายตลอดทั้งปี 2557 ที่ 10 ล้านตำแหน่งเพียงเล็กน้อย นักวิเคราะห์ระบุว่าการจ้างงานได้ปรับตัวดีขึ้น ถึงแม้ว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวกว่าปกติ ชี้ให้เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจของจีนกำลังได้ผลดี
- ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจเปิดเผยว่า ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ได้ฟื้นตัวร้อยละ 83.0 จากช่วงที่เกิดวิกฤตการเงิน พร้อมกล่าวว่าอัตราว่างงานโดยรวมในสหรัฐฯ   ได้ขยายตัวแตะร้อยละ 10.0 ในช่วงวิกฤตการเงิน หลังจากนั้นได้ปรับลดลงแตะร้อยละ 6.1
 
9.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางปรับตัวลดลง เพราะเงินบาทแข็งค่ายับทำให้ผู้ประกอบการขาดทุนเพิ่มขึ้น หลังจากที่ขาดทุนมาระยะหนึ่งแล้ว เพราะซื้อเกินราคามาตลอด ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องชะลอการซื้อเพราะขาดเงินทุนหมุนเวียน
 
   แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลง เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินเยนและความกังวลเกี่ยวกับกระแสข่าว ผลผลิตยางส่วนเกินในปีหน้าจะสูงถึง 1 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวรายงานว่าพายุรามสูรได้ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมหลายพื้นที่ปลูกยางใน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และทางตอนใต้ของจีน ยังเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]