ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2014, 12:36:22 PM »

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  22  กรกฎาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- จากอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้ประเทศไทยมีฝนกระจายและตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- แหล่งข่าววงการยางพาราเปิดเผยถึงสถานการณ์ยางพาราว่า จากการประชุมองค์กรความร่วมมือไตรภาคีด้านยาง (ITRC) ของ 3 ประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก คือ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่ประชุมต่างหวั่นวิตกถึงผลผลิตส่วนเกินความต้องการของตลาดโลก หรือ Over Supply ปี 2558 อาจสูงถึง 1 ล้านตัน โดย Over Supply เริ่มเกิดขึ้นในปี 2555 ที่มีประมาณ 3 แสนตัน ขณะที่ปี 2554 มี Demand มากกว่า Supply ประมาณ 2 แสนตัน   ทำให้ราคาปรับสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 180 บาท
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- HSBC โฮลดิ้งส์   ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จีนเมื่อเทียบเป็นรายปี จากเดิมร้อยละ 7.4 เป็นร้อยละ 7.5 หลังจากเศรษฐกิจฟื้นตัวแข็งแกร่งเกินคาด โดยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้เศรษฐกิจจีนได้ขยายตัวร้อยละ   7.4 จากปีก่อน
- มูดี้ส์   อินเวสเตอร์ คาดการณ์ว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่แท้จริงของจีนจะขยับลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 - 7.5 ในปี 2557 - 2558 ขณะที่แนวโน้มของการขยายตัวในระยะยาวขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการใช้นโยบาย คุมเข้มสินเชื่อ   และจังหวะของการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง และมูดี้ส์ยังชี้ว่าอันดับความน่าเชื่อถือของจีนอยู่ที่ระดับ   Aa3 และแนวโน้มที่มีเสถียรภาพนี้ได้รับปัจจัยหนุนจากความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ มหภาคของจีน รวมทั้งความสามารถในการรองรับกับปัจจัยด้านการคลังและปัจจัยจากต่างประเทศ
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ   (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยว่า ดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วประเทศเดือนมิถุนายนปรับตัวลงมาอยู่ที่ +0.12 จุด จาก +0.16 ในเดือนพฤษภาคม แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ลดลงเล็กน้อย โดยมีปัจจัยถ่วงจากการผลิตที่ขยายตัวชะลอลง
- ธนาคารกลางเยอรมันระบุว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะงักงันในช่วงไตรมาส 2 โดยระบุถึงความตึงเครียดทางการเมืองทั่วโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยช่วงไตรมาสแรกผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เยอรมันขยายตัวร้อยละ 0.8
- สำนักงานสถิติแห่งชาติอิตาลีเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมหดตัวลงร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน หลังจากที่ปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.6   ในเดือนเมษายน
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 31.88 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.22 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 101.49 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.20 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่ 104.59 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น   1.46 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจาก
 ความวิตกกังวลว่าอุปทานน้ำมันอาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รุนแรงในยูเครนและฉนวนกาซา

 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 190.1 เยนต่อกิโลกรัม   ลดลง 2.8 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 202.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.1 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 201.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ลดลง 1.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
-ศูนย์ วิจัยดัชนีภาวะอุตสาหกรรมเหล็กกล้าของจีนระบุว่า การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรภาคอุตสาหกรรมเหล็กกล้าไตรมาส 2 ปี 2557 ลดลงร้อยละ 15.7   โดยดัชนีลดลงมาอยู่ที่ 95.0 จุด ลดลง 2.3 จุดจากไตรมาสแรก เนื่องจากภาวะตึงตัวด้านการเงินและอุปสงค์ที่ซบเซา ทั้งนี้อุตสาหกรรมเหล็กกล้ามีแนวโน้มขาดทุนนับตั้งแต่ปี 2555 โดยได้รับผลกระทบจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อ่อนตัว
- รัฐมนตรีนโยบายเศรษฐกิจและการคลังญี่ปุ่นกล่าวว่า   นายกรัฐมนตรีชิโสะ อาเบะ มีแนวโน้มจะพิจารณาขั้นสุดท้ายภายในต้นเดือนธันวาคมนี้ ว่าจะดำเนินการปรับขึ้นอัตราภาษีการบริโภคระลอก 2 ในปีหน้าได้หรือไม่
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางยังคงปรับตัวลดลง   เพราะตลาดต่างประเทศซบเซา ผู้ซื้อชะลอซื้อและซื้อในราคาต่ำ ขณะที่ผู้ขายก็ไม่อยากขายในราคาต่ำ จึงต้องรอดูสถานการณ์ต่อไป
 
   แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อและเทขายทำกำไร หลังจากมีกระแสข่าวผลผลิตยางส่วนเกินตลาดโลกปี 2558 จะสูงถึง 1 ล้านตัน และความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดทางการเมืองทั่วโลกที่ทวีความรุนแรง ขึ้น ประกอบกับเงินบาทแข็งค่าต่ำกว่าระดับ 32 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และผลผลิตที่ออกสู่ตลาดไม่เต็มที่ยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับ หนึ่ง
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]