ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2014, 08:47:10 AM »


นวัตกรรมขับเคลื่อนยาง




ยางธรรมชาติไร้สีไร้กลิ่น อุปกรณ์วัดเนื้อยางแห้งในน้ำยางและเครื่องเลื่อยไม้ที่ลดการสูญเสีย ตัวอย่างผลงานวิจัยในมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่พร้อมส่งต่อให้ภาคธุรกิจเอกชนเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทั้งกลุ่มเกษตรกรและภาคอุตสาหกรรม


สุดยอดนวัตกรรมยาง


ยางธรรมชาติไร้สี ไร้กลิ่น นับเป็นนวัตกรรมการผลิตยางธรรมชาติรูปแบบใหม่ ทำให้ได้ยางแห้งชนิดพิเศษที่มีคุณภาพแตกต่างจากเดิม สามารถแก้ปัญหาและข้อจำกัดในการนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงเรื่องสี เช่น อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ เส้นด้ายยางยืด


นอกจากยางชนิดพิเศษจะมีคุณสมบัติไร้สีไร้กลิ่นแล้ว ยังพบว่ามี ปริมาณเจลและความหนืดต่ำ ทำให้การผสมสารตัวเติมเสริมแรงได้ในปริมาณมาก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบดผสมยาง ส่งผลให้ประหยัดพลังงงานและต้นทุนในกระบวนการผลิตยางรถยนต์ ที่สำคัญน้ำยางธรรมชาติปราศจากโปรตีนภูมิแพ้


"จากคุณสมบัติดังกล่าว มั่นใจว่าจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการผลิตภัณฑ์ยาง เช่น อุปกรณ์เครื่องมือ แพทย์ กาวชนิดพิเศษ อุปกรณ์กีฬา รองเท้า ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ยางธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ"ดร.อรสา ภัทรไพบูรณ์ชัย กล่าว


ขณะที่อุปกรณ์วัดเนื้อยางแห้งในน้ำยาง เป็นนวัตกรรมในการวัดปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางสด โดยอาศัยหลักการสะท้อนของคลื่นความถี่ไมโคเวฟและประมวลผลในระบบดิจิทัล ซึ่งสามารถแสดงผลเปอร์เซ็นต์ยางแห้ง (% DRC : Dry Rubber Content ) ออกมาเป็นตัวเลขภายใน 2-3 นาที วิธีการใช้ง่าย ไม่ซับซ้อน สามารถใช้ทดแทนเมโทรแลคที่ใช้อยู่ รวมทั้งอุปกรณ์วัดเนื้อยางแห้งในน้ำยางพาราบางชนิดที่ต้องนำเข้า


นวัตกรรมนี้เป็นงานวิจัยร่วมกันของดร.มิตรชัย จงเชี่ยวชำนาญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และดร.โมไนย ไกรฤกษ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


ส่วนนวัตกรรมสุดท้ายคือ เครื่องเลื่อยไม้ยางเพื่อลดการสูญเสีย ของ ดร.วิริยะ ทองเรือง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากการวิจัยพบว่า เครื่องเลื่อยใหม่นี้ช่วยลดการสูญเสียเนื้อไม้เมื่อเทียบกับเลื่อยเดิมได้ถึง 45% สามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ได้มากขึ้น ลดการสูญเสียเนื้อไม้ ใช้งาน ง่ายทำให้ลดแรงงานและผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีทักษะสูง ทั้งยังใช้พลังงานต่ำและมีความปลอดภัยสูงกว่าการใช้เทคโนโลยีแบบเดิม เพราะเป็นการเลื่อยในแนวนอนเมื่อเทียบกับการวางในแนวตั้ง


ตอบโจทย์ผู้ประกอบการ


วรเทพ วงศาสุทธิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอร์เรชั่น (ประเทศไทย) แสดงความคิดเห็นว่า ผลงานวิจัยที่ทำให้ยางไร้กลิ่นสามารถตอบโจทย์ผู้ผลิต เพราะเป็นการตัดปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศ แต่สิ่งที่สำคัญคือน้ำยางธรรมชาติปราศจากโปรตีนภูมิแพ้ จะทำให้อุตสาหกรรมยางต่อยอด และขยายฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก โดย 90% ของน้ำยางข้นทั่วโลกมาจากไทย


?ที่ผ่านมาถุงมือยางธรรมชาติถูกโจมตีว่า มีโปรตีนภูมิแพ้ที่สร้างการระคายเคือง แต่ถ้าเรามีผลงานวิจัยแก้ปัญหาเรื่องโปรตีนออกมาจะทำให้ถุงมือยางธรรมชาติมีคุณภาพดีกว่ายางเทียม กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ยิ่งราคายางถูกลงทำให้เราได้เปรียบคู่แข่งมากขึ้น?


ส่วนเรื่องเครื่องมือวัดเนื้อยางแห้งในน้ำยางนั้น ถือเป็น เครื่องมือมาตรฐานที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมระหว่าง ผู้ซื้อ ผู้ขาย เพื่อตรวจเช็คเปอร์เซ็นต์ยางแห้งที่มีอยู่ในน้ำยางเพื่อตีราคา จากเดิมใช้เครื่องเมโทรแลคที่นำเข้า ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนสูง ผิดกับเครื่องมือวัดเนื้อยางแห้งที่ใช้หลักการของไมโครเวฟ จึงเที่ยงตรงสูง ที่สำคัญผลิตจากฝีมือคนไทย


ส่วนเครื่องเลื่อยไม้ยางเพื่อลดการสูญเสีย น่าสนใจตรงที่ประหยัดค่าไฟ ค่าแรงงาน ที่สำคัญสุดคือเรื่องของความปลอดภัยในการทำงาน ถือเป็นนวัตกรรมที่น่าจะให้การสนับสนุน


ทั้งหมดนี้ถือเป็นความพยายามของนักวิจัยไทย ที่พัฒนานวัตกรรมในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศ ที่ได้ชื่อว่าเป็นสินค้าเกษตรที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่ง รวมมูลค่าการส่งออกในรูปวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์แปรรูปปีละไม่ต่ำกว่า 2แสนล้านบาท


ที่มา: สำนักข่าวเนชั่น(03/07/2557)