ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มิถุนายน 24, 2014, 01:39:58 PM »เตือนรับมือน้ำท่วม สวนยาง สกย.ชี้ฤดูฝนอันตราย-แนะวิธีคุมเข้มดูแล
จันทร์ที่ 23 มิถุนายน 2557 06:00:00 น.
นายประสิทธิ์ หมีดเส็น รักษาการ ผ.อ.สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เข้าสู่ช่วงฤดูฝน เกษตรกรสวนยางต้องดูแลรักษาสวนยางพารามากเป็นพิเศษ เนื่องจากอาจได้รับความเสียหายทั้งจากพายุ น้ำท่วม และโรคระบาด สำหรับยางที่มีอายุน้อยและยังไม่เปิดกรีด ควรจะตัดแต่งกิ่งไม่ให้ต้านลมเพื่อป้องกันไม่ให้กิ่งหรือต้นได้รับความเสีย หาย ถ้ามีกิ่งกระโดงหรือยอดได้รับความเสียหายให้ตัดส่วนที่ได้รับความเสียหาย ทิ้ง จากนั้นให้ทาด้วยสารป้องกันเชื้อราไม่ให้บาดแผลเน่า โดยใช้สารเคมีเบนเลทผสมน้ำให้มีความเข้มข้น 5% ทาทั่วบาดแผลที่ตัดแต่งไว้
ส่วนกรณีที่เปลือกลำต้นได้รับความเสียหาย อาจจะต้องขูดส่วนที่เสียหายทิ้งไปบ้าง แล้วทาปูนขาวผสมน้ำเข้มข้น 10-20% เพื่อป้องกันการคายน้ำและแดดเผาซึ่งทำให้ต้นยางแห้งตายได้ แต่ถ้าต้นยางล้มเอนเอียงให้ดันตั้งตรงในขณะดินเปียกชื้น แล้วใช้ไม้ค้ำยันพร้อมอัดดินที่โคนต้นให้แน่น ระวังอย่าให้เป็นอันตรายกับรากยาง
นอกจากนี้ ควรจะวางแผนการระบายน้ำออกจากสวนยางให้เร็วที่สุดในกรณีเกิดน้ำท่วมขัง ถ้ารอบสวนยางเป็นพื้นที่สูงกว่า ไม่สามารถระบายน้ำได้ ให้ขุดร่องน้ำกึ่งกลางระหว่างแถวยางให้น้ำไปอยู่ในร่องน้ำ แต่ห้ามใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ขุดร่องน้ำเพราะจะทำให้โครงสร้างดินเสียหาย และอาจสะเทือนต่อราก ควรใช้แรงงานหรือเครื่องจักรขนาดเล็กตามความเหมาะสมของสวนยางแต่ละแห่งแทน
สำหรับต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว ต้องไม่ให้น้ำท่วมขังและงดการกรีดยางในขณะฝนตก หรือในขณะมีน้ำท่วมขัง เพราะรากยางบางส่วนอาจได้รับความเสียหายไม่สามารถใช้ธาตุอาหารได้ โดยควรกรีดในช่วงที่ฝนหยุดตก น้ำไม่ท่วมขัง เมื่อกรีดแล้วต้องทาหน้ากรีด ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และโรคเส้นดำ เช่น สารเคมีเมทาแลคซิล
ขณะเดียวกัน ควรเอาใจใส่เรื่องการใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นยางมีธาตุอาหารสะสมเพียงพอสำหรับ สร้างน้ำยาง ซึ่งสูตรปุ๋ยที่สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร แนะนำคือ ปุ๋ยสูตร 20-8-20 สำหรับยางก่อนเปิดกรีดในเขตปลูกยางเดิม คือ ภาคใต้และภาคตะวันออก สูตร 20-10-12 สำหรับยางก่อนเปิดกรีดในเขตปลูกยางใหม่ คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ และสูตร 30-5-18 สำหรับยางเปิดกรีดแล้วในทุกภูมิภาค
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ
จันทร์ที่ 23 มิถุนายน 2557 06:00:00 น.
นายประสิทธิ์ หมีดเส็น รักษาการ ผ.อ.สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เข้าสู่ช่วงฤดูฝน เกษตรกรสวนยางต้องดูแลรักษาสวนยางพารามากเป็นพิเศษ เนื่องจากอาจได้รับความเสียหายทั้งจากพายุ น้ำท่วม และโรคระบาด สำหรับยางที่มีอายุน้อยและยังไม่เปิดกรีด ควรจะตัดแต่งกิ่งไม่ให้ต้านลมเพื่อป้องกันไม่ให้กิ่งหรือต้นได้รับความเสีย หาย ถ้ามีกิ่งกระโดงหรือยอดได้รับความเสียหายให้ตัดส่วนที่ได้รับความเสียหาย ทิ้ง จากนั้นให้ทาด้วยสารป้องกันเชื้อราไม่ให้บาดแผลเน่า โดยใช้สารเคมีเบนเลทผสมน้ำให้มีความเข้มข้น 5% ทาทั่วบาดแผลที่ตัดแต่งไว้
ส่วนกรณีที่เปลือกลำต้นได้รับความเสียหาย อาจจะต้องขูดส่วนที่เสียหายทิ้งไปบ้าง แล้วทาปูนขาวผสมน้ำเข้มข้น 10-20% เพื่อป้องกันการคายน้ำและแดดเผาซึ่งทำให้ต้นยางแห้งตายได้ แต่ถ้าต้นยางล้มเอนเอียงให้ดันตั้งตรงในขณะดินเปียกชื้น แล้วใช้ไม้ค้ำยันพร้อมอัดดินที่โคนต้นให้แน่น ระวังอย่าให้เป็นอันตรายกับรากยาง
นอกจากนี้ ควรจะวางแผนการระบายน้ำออกจากสวนยางให้เร็วที่สุดในกรณีเกิดน้ำท่วมขัง ถ้ารอบสวนยางเป็นพื้นที่สูงกว่า ไม่สามารถระบายน้ำได้ ให้ขุดร่องน้ำกึ่งกลางระหว่างแถวยางให้น้ำไปอยู่ในร่องน้ำ แต่ห้ามใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ขุดร่องน้ำเพราะจะทำให้โครงสร้างดินเสียหาย และอาจสะเทือนต่อราก ควรใช้แรงงานหรือเครื่องจักรขนาดเล็กตามความเหมาะสมของสวนยางแต่ละแห่งแทน
สำหรับต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว ต้องไม่ให้น้ำท่วมขังและงดการกรีดยางในขณะฝนตก หรือในขณะมีน้ำท่วมขัง เพราะรากยางบางส่วนอาจได้รับความเสียหายไม่สามารถใช้ธาตุอาหารได้ โดยควรกรีดในช่วงที่ฝนหยุดตก น้ำไม่ท่วมขัง เมื่อกรีดแล้วต้องทาหน้ากรีด ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และโรคเส้นดำ เช่น สารเคมีเมทาแลคซิล
ขณะเดียวกัน ควรเอาใจใส่เรื่องการใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นยางมีธาตุอาหารสะสมเพียงพอสำหรับ สร้างน้ำยาง ซึ่งสูตรปุ๋ยที่สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร แนะนำคือ ปุ๋ยสูตร 20-8-20 สำหรับยางก่อนเปิดกรีดในเขตปลูกยางเดิม คือ ภาคใต้และภาคตะวันออก สูตร 20-10-12 สำหรับยางก่อนเปิดกรีดในเขตปลูกยางใหม่ คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ และสูตร 30-5-18 สำหรับยางเปิดกรีดแล้วในทุกภูมิภาค
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ