ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มิถุนายน 16, 2014, 01:07:03 PM »

เตือนชาวสวนอย่ารีบกรีดยาง




นายดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ติดตามผลการดำเนินลัพธ์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการขยายพื้นที่ปลูก ยางพารา 1 ล้านไร่ โดยปัจจุบันเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือได้มีการปลูกยาง 492,671 ไร่ หรือ 60% ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด และจากการประเมินสถานภาพสวนยางในพื้นที่ดังกล่าวพบว่า ส่วนใหญ่ต้องการรายได้จุนเจือครอบครัว และมีเงินทุนในการบำรุงรักษาสวนยาง จึงเปิดกรีดยางต้นเล็ก อายุตั้งแต่ 5 ปีครึ่งถึง 7 ปีครึ่ง มีขนาดเส้นรอบลำต้นเฉลี่ยน้อยที่สุด 33.2 เซนติเมตร ซึ่งไม่เป็นไปตามคำแนะนำของกรมฯ


?การเปิดกรีดยางต้นเล็กทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตน้ำยางลดลง 30-60% หรือเหลือเพียง 1-2 กิโลกรัม (กก.) ต่อไร่ต่อวัน ซึ่งผลการประเมินความสูญเสีย จากการที่เกษตรกรในภาคตะวันออก เฉียงเหนือและภาคเหนือ เปิดกรีดยางต้นเล็กพบว่า ทำให้สูญเสียรายได้จากน้ำยางปีละกว่า 5,912 ล้านบาท หรือ 12,000 บาทต่อไร่ต่อปี และตลอดวงรอบอายุยาง จะสูญเสียรายได้ทั้งจากน้ำยางและเนื้อไม้สูงถึง 176,460 ล้านบาท หรือ 358,170 บาทต่อไร่?


นายดำรงค์กล่าวว่า การเปิดกรีดยางต้นเล็กถือเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน โดยเฉพาะสวนที่กรีดยางเล็กและกรีดถี่ คือกรีด 2 วันหยุด 1 วัน จะทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต ต้นยางจะทรุดโทรมเร็ว การคืนทุนจะช้าลงและได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่าการลงทุน ซึ่งสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างสูง ดังนั้นก่อนเปิดกรีดยางต้นเล็กสำหรับสวนที่เปิดกรีดยางเล็กไปแล้ว ยังสามารถแก้ไขได้โดยหยุดกรีดและต้องบำรุงรักษาเพื่อฟื้นฟูต้นยางให้สมบูรณ์ เมื่อได้ขนาดแล้วค่อยกลับมาเปิดกรีดใหม่


สำหรับภาพรวมของโครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา1ล้านไร่ ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า ช่วง 3 ปีแรก เกษตรกรดูแลเอาใจใส่สวนยางอย่างดี ทำให้ต้นยางเจริญเติบโต ตามมาตรฐานโดยมีสวนยางเจริญเติบโตระดับดีมาก 46.8% ขณะที่สวนยางเจริญเติบโตระดับดีมี 24.7% ส่วนที่เหลือเป็นสวนยางที่เจริญเติบโตระดับปานกลางและค่อนข้างต่ำ.


ที่มา  [size=78%]ไทยรัฐออนไลน์[/size]