ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มิถุนายน 04, 2014, 08:01:55 AM »


แกนนำเครือข่ายสวนยางฯ ตรัง ขอผ่อนผันส่งฟ้องอัยการ
โดย ทีมข่าวภูมิภาค 3 มิ.ย. 2557 20:30


 


ผู้ประสานงานภาคีเครือข่ายชาวสวนยางพารา จ.ตรัง ยื่นคำร้องขอผ่อนผันการส่งฟ้อง 4 แกนนำฯ นำมวลชนปิดสี่แยกอันดามัน เรียกร้องรัฐบาลแก้ปัญหาราคายางต่ออัยการ โอดทำเพื่อส่วนรวม แต่กลับถูกดำเนินคดี ...


เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 3 มิ.ย. 57 ที่สำนักงานอัยการจังหวัดตรัง นายศักร์สฤษฎิ์ ศรีประศาสตร์ ผู้ประสานงานภาคีเครือข่ายชาวสวนยางพารา จ.ตรัง พร้อมด้วย นายปรีชา ส่งเสริม นายชิต ชูช่วย และนายสุชาติ ชาตรีกูล อดีตแกนนำจากภาคีเครือข่ายชาวสวนฯ ถูกส่งฟ้องอัยการ กรณีออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาล สมัย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ออกมาแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ตั้งแต่ปี 2555-2557 โดยได้มีการนำมวลชนไปปิดบริเวณสี่แยกอันดามัน ต.เขากอบ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง โดยนายสุชาติ เชาวน์เสฏฐกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานแขวงการทาง จ.ตรัง ได้แจ้งความเพื่อให้ดำเนินคดีกับแกนนำทั้ง 4 คน ไว้ที่ สภ.ห้วยยอด จ.ตรัง


นายศักร์สฤษฎิ์ กล่าวว่า จากเหตุการณ์เมื่อปี 2556 ที่ตนและพวกได้นำมวลชนไปปิดบริเวณสี่แยกอันดามันนั้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ส่งสำนวนคำฟ้องมายังอัยการ โดยตั้งข้อหาตามความผิดประมวลกฎหมายอาญา ม.83, 215, 229 พ.ร.บ.ทางหลวง 2 ข้อหา ม.39 และ 71 คือ มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และกระทำด้วยประการใดๆ ให้ทางสาธารณะอาจเกิดอันตรายแก่การจราจร ต้องใช้หลักประกันตัว ตามความผิด รวมทั้งสิ้นวงเงินประมาณ 120,000 บาท และถ้าจะใช้บุคคลประกันตัวจะต้องเป็นเครือญาติใกล้ชิดเท่านั้น ซึ่งทางผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ไม่มีหลักประกัน การเดินทางมาวันนี้ก็เพื่อยื่นคำร้องขอผ่อนผันการส่งฟ้องต่ออัยการประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ผู้ต้องหาได้มีเวลาเตรียมหลักประกันสู้คดีต่อไป


นายศักร์สฤษฎิ์ กล่าวต่อว่า ผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ได้ร่วมกันต่อสู้เพื่อผลประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน โดยผลของการกระทำในครั้งนั้น ส่งผลให้รัฐบาลหันมาให้ความสนใจแก้ไขปัญหาของเกษตรกรชาวสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันภาคใต้ โดยขณะนี้ได้ให้เงินช่วยเหลือมาแล้วจำนวน 20,720,929,950 บาท จำนวน 1,006,051 ราย เฉพาะ จ.ตรัง ได้รับเงินเยียวยาแล้วจำนวนเงิน 1,233,231,930 บาท จำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ 68,717 ราย


นอกจากนั้น นายศักร์สฤษฎิ์ ยังเป็นตัวแทนจากภาคีเครือข่ายฯ เรียกร้องไปยัง คสช. ให้ช่วยติดตามการดำเนินการจ่ายเงินปัจจัยการผลิตทางการเกษตรให้ครบถ้วน อย่าให้มีตกหล่นตกค้าง ให้ คสช.ตั้งงบประมาณ ปี 2558 เพื่อรองรับโครงการนี้ต่อไปด้วย และขอให้มีการช่วยเหลือเรื่องปัจจัยการผลิต ในปี 2558 เพื่อให้ชาวสวนยางพาราได้รับค่าประกันราคายาง กิโลกรัมละ 100 บาท เป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว และควรจะศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนและดูแลปัญหาสินค้าเกษตรอย่างครอบคลุม ทั่วถึง ทั้งชาวสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ชาวนา ชาวไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง ซึ่งอาชีพเหล่านี้ถือเป็นอาชีพหลักคนพี่น้องคนไทย ต้องให้ความสำคัญและช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมกัน


นายศักร์สฤษฎิ์ ยังกล่าวด้วยว่า ตนได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า การเคลื่อนไหวภาคประชาชนเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาดูแลปัญหาราคาสินค้าเกษตรในครั้งนั้น หลายพื้นที่เจ้าหน้าที่รัฐให้จบปัญหาแค่ชั้นพนักงานสอบสวน แต่จังหวัดตรังกลับส่งเรื่องไปยังศาล ทั้งที่พวกตนได้ออกมาต่อสู้เพื่อพี่น้องประชาชนทุกคน เรื่องนี้ตนจึงกล้ายืนยันได้เลยว่า พวกตนออกมาเคลื่อนไหวโดยไม่มีกลุ่มการเมืองหนุนหลังอย่างแน่นอน เพราะไม่เช่นนั้นก็คงไม่ถูกดำเนินคดี และต้องขึ้นศาลฟ้องร้องวุ่นวายกันอย่างนี้


ทางด้าน นายสุชาติ กล่าวว่า ตนเสียความรู้สึกอย่างมาก เพราะการออกมาต่อสู้ของตนและพี่น้องประชาชนในครั้งนั้น คนที่มีสวนยางย่อมได้ประโยชน์อย่างทั่วถึงกันทั้งหมด เจ้าหน้าที่รัฐบางคนที่มีสวนยางพารา ก็มีส่วนได้จากผลการกระทำของพวกตนด้วย แต่พวกตนกลับต้องถูกดำเนินคดี ตอนนี้ตนบอกได้เต็มปากเต็มคำเลยว่า ไม่มีทุนประกันตัว คงต้องยอมรับไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย.