วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
[/t]วิเคราะห์ | [/size]1. สภาพภูมิอากาศ | [/size]- อิทธิพลลมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงทำให้ทุกภาคของประเทศมีฝนตกเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้มีฝนร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง | [/size]2. การใช้ยาง | [/size]- เดือนเมษายน ผู้ส่งออกรถยนต์ในเกาหลีใต้มียอดส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากได้รับอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากจีนและสหรัฐฯ ซึ่งทั้ง 2 ประเทศนับเป็นคู่ค้ารายสำคัญของเกาหลีใต้- คณะกรรมการยางอินเดียเปิดเผยว่า ประมาณการนำเข้ายางธรรมชาติเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 อยู่ที่ 26,445 ตัน จาก 14,396 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ผลผลิตลดลงร้อยละ 3.8 หรือประมาณ 51,000 ตัน สำหรับการใช้ยางในประเทศลดลง 81,500 ตัน จากเดิมที่เคยใช้ 82,980 ตัน | [/size]3. เศรษฐกิจโลก | [/size]- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปรายงานว่า เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสแรกปีนี้ น้อยกว่าที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.4 โดยเศรษฐกิจอิตาลีและโปรตุเกสหดตัวลงร้อยละ 0.1 และ 0.7 ตามลำดับ ขณะที่เศรษฐกิจฝรั่งเศสทรงตัว- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า เศรษฐกิจเยอรมันไตรมาสแรก ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 0.8 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.6 - 0.7 โดยไตรมาสสุดท้าย ปี 2556 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศสเปิดเผยว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจฝรั่งเศสประสบกับภาวะชะงักงันในไตรมาสแรกปีนี้ เนื่องจากนโยบายการปรับขึ้นภาษีที่มีจุดประสงค์เพื่อลดยอดขาดดุลงบประมาณ ได้เพิ่มแรงกดดันในไตรมาสแรก หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในไตรมาสสุดท้าย ปี 2556- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเมษายนลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2554 ชี้ให้เห็นถึงความวิตกกังวลเกี่ยวกับการขึ้นภาษีบริโภคอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไปเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบ 10 เดือน- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดการผลิตภาคโรงงาน เหมืองแร่ และสาธารณูปโภค ในเดือนเมษายนลดลงร้อยละ 0.6 มากกว่าที่คาดว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.1 เนื่องจากสภาพอากาศที่ย่ำแย่ของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิต | [/size]4. อัตราแลกเปลี่ยน | [/size]- เงินบาทอยู่ที่ 32.47 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 101.57 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.29 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | [/size]5. ราคาน้ำมัน | [/size]- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดตลาดที่ 101.50 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.87 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปสงค์พลังงานชะลอตัว หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง | [/size]6. การเก็งกำไร | [/size]- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 193.9 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 201.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.6 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 208.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | [/size]7. ข่าว | [/size]- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 10 พฤษภาคม 2557 ลดลง 24,000 ราย อยู่ที่ 297,000 ราย นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี ตรงข้ามกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 320,000 ราย สะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง- สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านสหรัฐฯ เดือนพฤษภาคมลดลงสู่ระดับ 45.0 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 12 เดือน | [/size]8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ | [/size]- ราคายางปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ ขณะที่ผู้ประกอบการกล่าวว่า ราคายางในระดับนี้ผู้ซื้อยังมีความต้องการซื้อ แต่ผู้ขายไม่ขาย เพราะต้องการรอให้ราคาปรับสูงขึ้นอีก ทำให้ราคาค่อนข้างทรงตัว ขณะเดียวกันนักลงทุนบางส่วนเทขายทำกำไรเพื่อต้องการให้ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางที่สูงขึ้นหรือลดลงอย่างชัดเจน | [/size]แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เนื่องจากนักลงทุนเทขายเพื่อทำกำไรและลดความเสี่ยง หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่อ่อนแอ รวมถึงเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ นอกจากนี้ราคายางยังได้รับแรงกดดันจากรายงานสต๊อคยางจีน ณ ท่าเรือชิงเต่า เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2557 เพิ่มขึ้นแตะระดับ 361,000 ตัน อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดเบาบาง เนื่องจากภาคใต้มีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้สภาพอากาศไม่เอื้อต่อการกรีดยาง จากปัจจัยดังกล่าวยังเป็นแรงผลักดันให้ราคายางปรับตัวลดลงไม่มากนัก คณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดและราคายาง สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา [/size]
[/size] |
[/td][/tr][/table]