วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
[/t]วิเคราะห์ | [/size]1. สภาพภูมิอากาศ | [/size]- ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ทั่วประเทศมีฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง ภูเก็ต พังงา และกระบี่ เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง | [/size]2. การใช้ยาง | [/size]- กระทรวงพาณิชย์กัมพูชารายงานการส่งออกยางธรรมชาติไตรมาสแรก ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ปี 2556 กัมพูชาผลิตยางธรรมชาติได้ทั้งหมด 85,000 ตัน- สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์อุตสาหกรรมยางแห่งประเทศไทย และเครือข่ายชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เตรียมยื่นฟ้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อตรวจสอบความโปร่งใสในการเร่งรัดเทขายยางในสต๊อคของรัฐบาล | [/size]3. เศรษฐกิจโลก | [/size]- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป เปิดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนปรับตัวลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือนมีนาคม เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์- ผลสำรวจจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเยอรมันปรับตัวลงมาอยู่ที่ 33.1 จุด จาก 43.2 จุดในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรกในปีนี้ แต่ลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเมษายนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.6 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 ในเดือนมีนาคม และทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2555- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรก ปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี ทำสถิติขยายตัวเป็นไตรมาสที่ 6 ติดต่อกัน | [/size]4. อัตราแลกเปลี่ยน | [/size]- เงินบาทอยู่ที่ 32.43 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.10 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 101.86 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.35 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | [/size]5. ราคาน้ำมัน | [/size]- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดตลาดที่ 102.37 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.67 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากการคาดการณ์ว่าสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครนอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำมันของรัสเซีย อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันขยับขึ้นเล็กน้อย เพราะได้รับแรงกดดันจากรายงานสต๊อคน้ำมันของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเกินคาดในรอบสัปดาห์ที่แล้ว- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 พฤษภาคม 2557 เพิ่มขึ้น 947,000 บาร์เรล ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันปี 2557 เป็น 29.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้อยู่ 110,000 บาร์เรลต่อวัน | [/size]6. การเก็งกำไร | [/size]- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 198.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 204.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 209.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | [/size]7. ข่าว | [/size]- รองประธานคณะกรรมาธิการกำกับธุรกิจประกันของจีน เปิดเผยว่า ธุรกิจประกันภัยของจีนกำลังเผชิญกับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น หากการเข้าไปลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และหนี้รัฐบาลท้องถิ่น ในขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนอยู่ในช่วงขาลง | [/size]8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ | [/size]- ราคายางค่อนข้างทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะมีแรงหนุนจากผู้ประกอบการหลายรายพยายามผลักดันราคาให้สูงขึ้น เพื่อจะขายยางที่ซื้อเก็บในราคาสูงก่อนหน้านี้ ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายกล่าวว่า ราคายางน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับนี้ไปอีกระยะหนึ่ง เพราะถ้าต่ำกว่านี้ก็ไม่มีใครขาย และถ้าสูงกว่านี้ก็ไม่มีผู้ซื้อ | [/size]แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยตามตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ เพราะได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยูโรโซนที่ออกมาดี ประกอบกับภาคใต้มีฝนตกเพิ่มขึ้น ไม่เอื้อต่อการกรีดยาง อย่างไรก็ตาม ราคายางยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบจำกัด เพราะยังมีแรงกดดันจากราคาตลาดล่วงหน้าโตเกียวที่ปรับตัวลดลงจากการแข็งค่าของเงินเยน อีกทั้งนักลงทุนมีความกังวลต่อเศรษฐกิจจีน และกำลังจับตาดูความชัดเจนในการจัดการสต๊อคยาง 200,000 ตัน ของรัฐบาล คณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดและราคายาง สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา [/size]
[/size] |
[/td][/tr][/table]