วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
[/t]วิเคราะห์ | [/size]1. สภาพภูมิอากาศ | [/size]- ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้บริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองและมีลมกรรโชกแรงเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ | [/size]2. การใช้ยาง | [/size]- สมาคมรถยนต์โดยสารจีน เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์โดยสารรถเอนกประสงค์ และรถเอสยูวีในประเทศจีน ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 ในเดือนเมษายน แตะ 1.5 ล้านคัน เนื่องจากผู้บริโภคแห่ซื้อรถยนต์หลังเกิดกระแสคาดการณ์ว่า ทางการจีนอาจออกมาตรการควบคุมการเป็นเจ้าของรถยนต์ในเมืองต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อรับมือกับปัญหามลพิษและการจราจร | [/size]3. สต๊อคยาง | [/size]- สต๊อคยางญี่ปุ่น วันที่ 30 เมษายน 2557 มีจำนวน 19,750 ตัน เพิ่มขึ้น 241 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.24 จากระดับ 19,509 ตัน (วันที่ 20 เมษายน 2557)- สต๊อคยางจีน วันที่ 9 พฤษภาคม 2557 มีจำนวน 166,852 ตัน ลดลง 790 ตัน หรือลดลงร้อยละ 0.47 จากระดับ 167,642 ตัน (วันที่ 2 พฤษภาคม 2557) | [/size]4. เศรษฐกิจโลก | [/size]- สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน เปิดเผยว่า- [/size]ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีนในเดือนเมษายน ปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบรายปี ซึ่งชะลอลงจากร้อยละ 2.4 ในเดือนมีนาคม และลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
- [/size]ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของจีน ซึ่งเป็นมาตราวัดเงินเฟ้อระดับค้าส่งปรับตัวลงร้อยละ 2.0 ในเดือนเมษายน เมื่อเทียบรายปี หลังหดตัวลงร้อยละ 2.3 ในเดือนมีนาคม หากเทียบรายเดือน ลดลงร้อยละ 0.2
[/size]- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 2556 อยู่ที่ 7.899 แสนล้านเยน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากการนำเข้าเชื้อเพลิงพุ่งขึ้นและเงินเยนอ่อนค่าลง- สถาบันวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของเยอรมนีได้ออกรายงานเตือนว่า การที่ยูโรโซนมีความเสี่ยงจะเผชิญกับภาวะเงินฟืดมากขึ้นนั้น จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตตามเศรษฐกิจในเยอรมนีแม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจเยอรมนีจะมีเสถียรภาพในปีนี้และปีหน้า แต่ก็ยังมีความเสี่ยงในหลายด้าน- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 0.25 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในการประชุมเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งเปิดโอกาสให้ ECB สามารถประเมินต่อได้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนจะช่วยกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อได้อีกครั้งหรือไม่ หากไม่มีการปรับนโยบายทางการเงินหลังจากที่สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป เปิดเผยว่าเงินเฟ้อเบื้องต้นของยูโรโซน แตะที่ร้อยละ 0.7 ในเดือนเมษายน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับร้อยละ 0.5 ในเดือนมีนาคม- สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยรายงานเบื้องต้นว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เดือนมีนาคม ปรับตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้านี้- สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี รายงานว่า ยอดเกินดุลการค้าของเยอรมนีอ่อนแรงลงในเดือนมีนาคม ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งข้อมูลเศรษฐกิจที่สะท้อนว่า เศรษฐกิจเยอรมนีอ่อนแรงลงในเดือนดังกล่าว โดยการส่งออกของเยอรมนีในเดือนมีนาคม ปรับตัวลงร้อยละ 1.8 จากเดือนก่อนหน้านี้ ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 0.9 ส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้าของเยอรมนีในเดือนมีนาคม อยู่ที่ 1.48 หมื่นล้านยูโร ต่ำกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1.69 หมื่นล้านยูโร- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขาดัสลัส กล่าวว่า ตนเองขอสนับสนุนให้มีการยุติโครงการซื้อพันธบัตรของเฟดในปีนี้ พร้อมกับชี้ว่า มีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ระดับที่ต่ำมากต่อไปอีก | [/size] | [/size]- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สต๊อคสินค้าภาคการค้าส่งประจำเดือนมีนาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินคาด ร้อยละ 1.1 ต่อเนื่องจากที่ขยายตัว ร้อยละ 0.7 ในเดือน กุมภาพันธ์ โดยการที่ภาคธุรกิจเพิ่มสต๊อคสินค้าคงคลังถือเป็นสัญญานบวกต่อเศรษฐกิจ | [/size]5. อัตราแลกเปลี่ยน | [/size]- เงินบาทอยู่ที่ 32.65 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.21 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ และเงินเยนอยู่ที่ 101.95 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.15 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | [/size]6. ราคาน้ำมัน | [/size]- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน มิถุนายน ปิดตลาดที่ 99.99 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.27 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูงมาก | [/size]7. การเก็งกำไร | [/size]- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือน มิถุนายน 2557 เปิดตลาดที่ 199.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือน ตุลาคม 2557 เปิดตลาดที่ 201.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.9 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 202.60 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | [/size]8. ข่าว | [/size]- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการณ์ว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด วันที่ 3 พฤษภาคม 2557 ลดลง 26,000 ราย สู่ระดับ 319,000 ราย ซึ่งลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ ที่ 325,000 ราย สะท้อนให้เห็นว่าการลดพนักงานในสหรัฐฯ เริ่มคงที่ภายหลังผันผวนมาหลายสัปดาห์ในช่วงเทศกาลฮิสเตอร์- บรรดาบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ 11 รายของจีน มีการระดมทุนในต่างประเทศ จำนวน 1.1801 หมื่นล้านหยวนในเดือนเมษายน ซึ่งลดลงร้อยละ 24.7 จากเดือนมีนาคม และลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน | [/size]9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ | [/size]- ราคายางปรับตัวสูงขึ้น เพราะโดยภาพรวมผลผลิตยังออกสู่ตลาดน้อยจากภาวะแห้งแล้ง และราคายางที่ตกต่ำทำให้ชาวสวนไม่เร่งกรีด | [/size]แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว เพราะได้รับแรงหนุนจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับนักลงทุนขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐฯ รวมทั้งสต๊อคยางจีน ณ ตลาดเซียงไฮ้ปรับตัวลดลง 12 สัปดาห์ ติดต่อกันแตะระดับ 166,852 ตัน (9 พฤษภาคม 2557) จากระดับ 169,109 ตัน อย่างไรก็ตามราคายางยังมีแรงกดดันจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน
คณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดและราคายาง สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา [/size]
[/size] |
[/td][/tr][/table]