วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
[/t]วิเคราะห์ | [/size]1. สภาพภูมิอากาศ | [/size]- ประเทศไทยตอนบนยังมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกรรโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ขณะที่ภาคใต้มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนตกกระจายร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค | [/size]2. การใช้ยาง | [/size]- การประชุมสามัญประจำปีของสมาคมอุตสาหกรรมยางจีนจัดขึ้นที่เซี่ยงไฮ้ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2557 คาดว่าปี 2557 อุตสาหกรรมยางจะดีขึ้น การพัฒนาเศรษฐกิจส่วนกลางภาคตะวันตกของประเทศจะมีมากขึ้น อุตสาหกรรมยางล้อจะเติบโตขึ้น เนื่องจากมีความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมโดยรวมจะยังคงมีการเติบโตในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากอุตสาหกรรมยังมีปัญหาด้านความสม่ำเสมอของคุณภาพยางล้อ ปริมาณการผลิตยังล้นตลาด และปัจจัยที่ไม่เอื้อจากภายนอก ทำให้การเติบโตของอุตสาหกรรมยางปี 2557 ของจีนจะเป็นไปอย่างจำกัด | [/size]3.เศรษฐกิจโลก | [/size]- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือนมีนาคมลดลงร้อยละ 3.6 อยู่ที่ 4.04 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ จาก 4.23 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากการฟื้นตัวของการส่งออก แต่อย่างไรก็ตามการปรับตัวที่ดีขึ้นยังไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่เร็วขึ้นในไตรมาสแรก โดยรายงานระบุว่ายอดส่งออกขยายตัวร้อยละ 2.1 การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1- องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) เปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจ ดังนี้- [/size]ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลงเหลือร้อยละ 3.4 ในปี 2557 จากเดิมที่ร้อยละ 3.6 เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่ เช่น จีน และตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ ชะลอตัวลง โดยคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 7.4 ในปี 2557 ลดลงจากคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 8.2
- [/size]ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปี 2557 เหลือร้อยละ 2.6 จากเดิมที่ร้อยละ 2.9
- [/size]ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนปี 2557 เป็นขยายตัวร้อยละ 1.2 และขยายตัวร้อยละ 1.7 ในปี 2558 จากเดิมที่ร้อยละ 1.0 และ 1.6
- [/size]เศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจชะลอตัวลง หากอัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ค่าจ้างเท่าเดิม โดยได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นลงสู่ร้อยละ 1.2 ในปี 2557 ลดลงจากคาดการณ์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.5
[/size]- ผลสำรวจของมาร์กิตรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ดังนี้- [/size]ภาคบริการยูโรโซนเดือนเมษายนปรับตัวขึ้นแตะ 53.1 จุด จาก 52.2 จุดในเดือนมีนาคม ทรงตัวเมื่อเทียบกับข้อมูลเบื้องต้น และเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี
- [/size]ภาคบริการฝรั่งเศสเดือนเมษายนปรับตัวลดลงแตะ 50.4 จุด จาก 51.5 จุดในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน
- [/size]ภาคบริการเยอรมันเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นแตะ 54.7 จุด จาก 53.0 จุดในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสดในรอบ 2 เดือน
| [/size]4. อัตราแลกเปลี่ยน | [/size]- เงินบาทอยู่ที่ 32.40 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 101.57 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.57 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | [/size]5. ราคาน้ำมัน | [/size]- - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดตลาดที่ 99.50 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.02 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ จะปรับตัวลงอีก นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากรายงานว่าสหรัฐฯ มียอดขาดดุลการค้าลดลง | [/size]6. การเก็งกำไร | [/size]- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 199.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 6.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 199.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 8.6 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 200.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 3.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | [/size]7. ข่าว | [/size]- ราคาทองคำฟิวเจอร์ซื้อขายที่ระดับเกือบสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ จากสถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครนที่ยังไม่มีแนวโน้มผ่อนคลายลงในระยะเวลาอันสั้น และหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ราคาทองคำก็มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนอย่างแข็งแกร่ง อย่างไรก็ดีปัจจัยหนุนต่อราคาทองคำอาจถูกฉุดรั้งจากสัญญาณความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ- องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) ได้แนะนำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งเมื่อพิจารณาจากเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่เสนอให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เตรียมพร้อมที่จะระงับโครงการซื้อพันธบัตร (QE) ในปีนี้ เพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความมั่นคงมากขึ้น และควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า | [/size]8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ | [/size]- ราคายางปรับตัวลดลงประมาณ 1 - 2 บาท เพราะผู้ซื้อชะลอซื้อ หลังจากกระแสข่าวการระบายยางในสต๊อคของรัฐบาล ทำให้ผู้ซื้อได้เปรียบในการต่อรอง | [/size]แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว จากการแข็งค่าของเงินเยนและได้รับแรงกดดันจากกระแสข่าวการระบายยางในสต๊อค 2 แสนตันของรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลต่ออุปทานโดยรวมในตลาดโลกและราคายางได้ในระดับหนึ่ง ประกอบกับองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลงเหลือร้อยละ 3.4 ในปีนี้ จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.6 โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 7.4 ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 8.2 คณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดและราคายาง สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา [/size]
[/size] |
[/td][/tr][/table]